การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ของครูผู้สอน
ร่วมพัฒนาเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2
ผู้วิจัย อำไพพร นาคแก้ว
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาคู่มือการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ของครูผู้สอนคณิตศาสตร์โดยใช้การนิเทศแบบร่วมพัฒนาเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ของครูผู้สอนคณิตศาสตร์โดยใช้การนิเทศแบบร่วมพัฒนาเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูผู้สอนคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการนิเทศแบบร่วมพัฒนาเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 20 คน ศึกษานิเทศก์ จำนวน 8 คน ครูผู้สอนคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 30 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 286 คน เครื่องมือที่ใช้การวิจัยครั้งนี้ มีจำนวน 6 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์ความแตกต่างของคะแนนโดยใช้ t-test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. คู่มือการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ของครูผู้สอนคณิตศาสตร์โดยใช้การนิเทศแบบร่วมพัฒนาเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้และการใช้ประโยชน์ อยู่ในระดับมาก
2. ผลการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ของครูผู้สอนคณิตศาสตร์โดยใช้การนิเทศแบบร่วมพัฒนาเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2.1) ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ของครูผู้สอนคณิตศาสตร์หลังการนิเทศสูงกว่าก่อนการนิเทศ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2) ความสามารถในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้และความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูคณิตศาสตร์หลังการนิเทศสูงกว่าก่อนนิเทศ และ 2.3) ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 6 หลังจากที่ครูผู้สอนคณิตศาสตร์ได้รับการนิเทศแบบร่วมพัฒนา สูงกว่าก่อนที่ครูผู้สอนคณิตศาสตร์ได้รับการนิเทศแบบร่วมพัฒนา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของครูผู้สอนคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการนิเทศแบบร่วมพัฒนาเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับพึงพอใจมาก