การพัฒนารูปแบบการนิเทศครูผู้สอนคณิตศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความสุข
ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
นราธิวาส เขต 2
ผู้วิจัย อำไพพร นาคแก้ว
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความสุขในการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศครูผู้สอนคณิตศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความสุขในการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการนิเทศครูผู้สอนคณิตศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความสุขในการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 และ 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงรับรองรูปแบบการนิเทศครูผู้สอนคณิตศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความสุขในการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 มีขั้นตอนการดำเนินการ 4 ระยะ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย ศึกษานิเทศก์ จำนวน 7 คน ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 24 คน ครูผู้สอนคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 30 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 262 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีจำนวน 13 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแตกต่างของคะแนน โดยใช้ t-test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์
เพื่อเสริมสร้างความสุขในการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 พบว่า มีสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการอยู่ในระดับมาก และจากการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่มย่อย (FGD) นำไปใช้ประโยชน์ในการจัด การเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพ โดยผ่านกระบวนการนิเทศที่มีคุณภาพ
2. รูปแบบการนิเทศครูผู้สอนคณิตศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความสุขในการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 มีชื่อว่า รูปแบบการนิเทศโดยใช้ความสุขเป็นฐานในการพัฒนา (Happiness-Based Developing Supervision Model : HBDS Model)” (เฮชบีดีเอส โมเดล) ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการนิเทศ มี 4 กระบวนการหลัก 7 ขั้นตอนย่อย 4) การวัดและประเมินผล และ 5) ปัจจัยที่เอื้อต่อการเรียนรู้
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการนิเทศครูผู้สอนคณิตศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความสุขในการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 พบว่า ครูผู้สอนคณิตศาสตร์มีความรู้ความเข้าใจ มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังการนิเทศสูงกว่าก่อนการนิเทศ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และครูผู้สอนคณิตศาสตร์มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการนิเทศอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด
4. ผลการประเมินและปรับปรุงรับรองรูปแบบการนิเทศครูผู้สอนคณิตศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความสุขในการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 พบว่า มีการปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติมรูปแบบการนิเทศเพียงเล็กน้อย เพื่อให้มีความเหมาะสมและเกิดโประโยชน์ต่อการนิเทศ