การพัฒนาเทคนิคการสอนในรูปแบบ BUDDHISM
ชุด หลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ
ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชื่อผู้รายงาน นางสาวบุญญาดา บุญญรัตน์
ปีที่ศึกษาค้นคว้า 2566
บทคัดย่อ
การพัฒนาเทคนิคการสอนในรูปแบบ BUDDHISM ควบคู่กับหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด หลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 5 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด หลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพ
ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 5/1 ที่เรียนด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด หลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา 3) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผล (E.I.) ของแผนการจัดการเรียนรู้รูปแบบ BUDDHISM 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 /1 ที่มีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด หลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี สังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 28 คน
ได้ทำการเลือกกลุ่มตัวอย่างได้มาในรูปแบบเจาะจง (Purposive sampling ) วิเคราะห์ข้อมูล
โดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่านัยสำคัญทางสถิติ t-test
ผลการศึกษา พบว่า
1. การหาค่าประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด หลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ผลปรากฏว่าคะแนนเฉลี่ยของ E1 / E2 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานอยู่ที่คะแนนเฉลี่ย 87.86/85.71 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าชุดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการคิดที่จัดทำขึ้นนั้นมีประสิทธิภาพสามารถนำมาพัฒนานักเรียนได้ ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่กำหนดไว้
2. เมื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนปรากฏว่า คะแนนหลังเรียนมากกว่าคะแนน
ก่อนเรียน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการเรียนรู้และการพัฒนานักเรียนโดยใช้เทคนิคการสอนในรูปแบบ BUDDHISM คู่กับหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด หลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 นั้นสามารถพัฒนานักเรียนได้ ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่กำหนดไว้
3. ผลการวิเคราะห์คะแนนเฉลี่ยจากการนำคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนมาคิดวิเคราะห์
คำนวณหาค่าดัชนีประสิทธิผล ปรากฏว่าคะแนนหลังเรียนมีค่าคะแนนเพิ่มขึ้น 0.7452 หรือ ร้อยละ 74.52 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่กำหนดไว้
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการนำคำสอนของพระพุทธศาสนาไปใช้ในชีวิตประจำวันทำให้
พฤติกรรมของตนเองเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น หลังการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการสอนในรูปแบบ BUDDHISM ควบคู่กับหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด หลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้
สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมากที่สุด
( x-bar = 4.93) ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่กำหนดไว้