การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการ
ผู้วิจัย นางสาวธีราพร จึงรัศมีพานิช
ปีที่วิจัย 2565
บทคัดย่อ
การรายงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการ เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนเทศบาล ๑ นาเริ่งราษฎร์บำรุง สังกัดเทศบาลตำบลหนองแค จังหวัดสระบุรี 2) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการ เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู โรงเรียนเทศบาล ๑ นาเริ่งราษฎร์บำรุง สังกัดเทศบาลตำบลหนองแค จังหวัดสระบุรี ด้วยวิธีการ 2.1) ประเมินสมรรถภาพในการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการของครูผู้นิเทศ 2.2) ประเมินความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียน ของครูผู้นิเทศ 2.3) ประเมินความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการ ของครูผู้รับการนิเทศ 2.4) ประเมินสมรรถภาพการทำวิจัยในชั้นเรียน ของครูผู้รับการนิเทศ 2.5) ประเมินความพึงพอใจของครูผู้รับการนิเทศที่มีต่อรูปแบบการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ครูและนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๑ นาเริ่งราษฎร์บำรุง สังกัดเทศบาลตำบลหนองแค จังหวัดสระบุรี ประกอบด้วย ครูผู้สอน จำนวน 42 คน นักเรียนจำนวน 861 คน กลุ่มตัวอย่าง เป็นครูผู้สอนจำแนกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ละ 2 คน เลือกโดยการสุ่มแบบอาสาสมัคร (Volunteers Sampling) จำแนกเป็น ครูผู้นิเทศ จำนวน 5 คน มี 2 คนที่ทำหน้าที่ครูผู้นิเทศ และครูผู้รับการนิเทศ ครูผู้รับการนิเทศ 16 คน (ซึ่งครูที่ทำหน้าที่เป็นผู้นิเทศประกอบด้วย รองผู้อำนวยการ หัวหน้าฝ่ายบริหารงานวิชาการ และครู) และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 18 ห้องเรียน เลือกโดยครูผู้สอนที่สมัครใจเข้าร่วมวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบสังเกต และประเด็นสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่า Wilcoxon Signed Rank Test ค่า t-test dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการ เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู โรงเรียนเทศบาล ๑ นาเริ่งราษฎร์บำรุง สังกัดเทศบาลตำบลหนองแค จังหวัดสระบุรี ปรากฏผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้
1. รูปแบบการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการ เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนครูโรงเรียนเทศบาล ๑ นาเริ่งราษฎร์บำรุง สังกัดเทศบาลตำบลหนองแค จังหวัดสระบุรี มีองค์ประกอบได้แก่ หลักการ คือ การนิเทศการสอนเน้นกระบวนการนิเทศที่เป็นระบบ สัมพันธ์กัน โดยคำนึงถึงความแตกต่างของครูด้านความรู้ ความสามารถและทักษะที่สำคัญที่ต้องการพัฒนา โดยใช้วิธีการนิเทศที่หลากหลาย เหมาะสมกับครูแต่ละคน เพื่อให้การนิเทศเกิดประสิทธิภาพสูงสุด และกระบวนการนิเทศ 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 Classifying : C การคัดกรองระดับความรู้ ความสามารถ ทักษะที่สำคัญเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้และการวิจัยในชั้นเรียน เพื่อจัดกลุ่มครูและเลือกวิธีการนิเทศที่เหมาะสมกับการจัดการเรียนรู้และการวิจัยในชั้นเรียน เพื่อจัดกลุ่มครูและเลือกวิธีการนิเทศที่เหมาะสมสำหรับครูแต่ละกลุ่ม ขั้นตอนที่ 2 Informing : I การให้ความรู้ก่อนการนิเทศ ขั้นตอนที่ 3 Proceeding : P การดำเนินงาน ได้แก่ 3.1) การประชุมก่อนการสังเกตการสอน (Pre conference) 3.2) การสังเกตการสอน (Observation) 3.3) การประชุมหลังการสังเกตการสอน (Post Conference) ขั้นตอนที่ 4 Evaluating : E การประเมินผลการนิเทศ โดยมีการกำกับ ติดตาม (Monitoring) อย่างต่อเนื่องทุกขั้นตอน เพื่อให้การดำเนินการนิเทศเกิดประสิทธิภาพและองค์ประกอบด้านเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ ผลการตรวจสอบความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี ความเป็นไปได้ และความสอดคล้องของรูปแบบการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการ ซีไอพีอี (CIPE Model) โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี มีค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อเท่ากับ 1.00 ความเป็นไปได้ของรูปแบบ มีค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อระหว่าง 0.80-1.00 และความสอดคล้องของรูปแบบมีค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อระหว่าง 0.80-1.00 ทั้งนี้เนื่องมาจากขั้นตอนการพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการ มีกระบวนการที่เป็นระบบ มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันทุกองค์ประกอบ ซึ่งก็คือ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลลัพธ์ที่คาดหวัง
2. ผลการใช้รูปแบบการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการ เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนเทศบาล ๑ นาเริ่งราษฎร์บำรุง สังกัดเทศบาลตำบลหนองแค จังหวัดสระบุรี พบว่า ครูผู้นิเทศมีสมรรถภาพในการนิเทศอยู่ในระดับสูงมาก ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการ ครูผู้นิเทศมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหลังการใช้รูปแบบการนิเทศ มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการนิเทศวิธีการของครูผู้รับการนิเทศ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศ แตกต่างกันอย่างมีสมรรถภาพ การทำวิจัยในชั้นเรียนอยู่ในระดับสูงมาก และมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการของครูผู้รับการนิเทศ อยู่ในระดับมากที่สุด