รูปแบบการสร้างทีมงานการบริหารจัดการศึกษา_จริญญา เรืองแก้ว
สมรรถนะของครูด้านนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนสหกรณ์ประชานุxxxล
ตามมาตรฐานสากล
ผู้วิจัย: นางจริญญา เรืองแก้ว
ปีที่วิจัยและพัฒนา: 2564-2565
คำสำคัญ: รูปแบบสร้างทีมงานการบริหารจัดการศึกษา, สมรรถนะของครูด้านนวัตกรรม
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบ สร้าง ทดลองใช้ และพัฒนารูปแบบการสร้างทีมงานการบริหารจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะของครูด้านนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนสหกรณ์ประชานุxxxลตามมาตรฐานสากล ขั้นตอนการวิจัยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การสังเคราะห์ องค์ประกอบการสร้างทีมงานการบริหารจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะของครูด้านนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 ขั้นตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบการสร้างทีมงานการบริหารจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะของครูด้านนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนสหกรณ์ประชานุxxxลตามมาตรฐานสากล ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการสร้างทีมงานการบริหารจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะของครูด้านนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนสหกรณ์ประชานุxxxลตามมาตรฐานสากล ขั้นตอนที่ 4 การประเมินรูปแบบการสร้างทีมงานการบริหารจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะของครูด้านนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนสหกรณ์ประชานุxxxลตามมาตรฐานสากล
ผลการวิจัยพบว่า
1. องค์ประกอบของรูปแบบการสร้างทีมงานการบริหารจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมการพัฒนา สมรรถนะของครูด้านนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) การมีส่วนร่วม (Participation) 4) เครือข่ายการจัดการศึกษาในท้องถิ่น และ 5) การพัฒนาคุณภาพนักเรียน ตามหลัก T-Child SCENARIO+C Model ประกอบด้วย 1) T : T : Teacher 2) Child : Child 3)S : Strategic 4.) C : Curriculum 5) E : Environment 6) N : Network 7) A : Active leaning 8) R : Reflect 9) I : Innovation and Technology 10) O : Opportunity 11) +C : Control
2. การพัฒนารูปแบบการสร้างทีมงานการบริหารจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะของครูด้านนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนสหกรณ์ประชานุxxxลตามมาตรฐานสากล มี 5 องค์ประกอบหลัก 15 องค์ประกอบย่อย 45 รายการปฏิบัติ องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) การมีส่วนร่วม (Participation) 4) เครือข่ายการจัดการศึกษาในท้องถิ่น และ5) การพัฒนาคุณภาพนักเรียน ผลการประเมินคู่มือประกอบการใช้รูปแบบ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการทดลองใช้และพัฒนารูปแบบการสร้างทีมงานการบริหารจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริม การพัฒนาสมรรถนะของครูด้านนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนสหกรณ์ประชานุxxxลตามมาตรฐานสากล พบว่า
1) บุคลากรทั้ง 3 เครือข่าย ได้แก่ เครือข่ายบุคลากรในโรงเรียน (P1 : People Network) เครือข่ายบุคลากรภาคเอกชน (P2 : Private Network) และเครือข่ายบุคลากรภาครัฐ (P3 : Public Network) มีความเห็นว่า ในภาพรวมการดำเนินงานตามการพัฒนารูปแบบการสร้างทีมงานการบริหารจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะของครูด้านนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนสหกรณ์ประชานุxxxลตามมาตรฐานสากล มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก
2) ผลการพัฒนานักเรียน โรงเรียนสหกรณ์ประชานุxxxล พบว่า
(1) ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสหกรณ์ประชานุxxxล มีค่าเฉลี่ยผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ในระดับดีเยี่ยม ปีการศึกษา 2565 เพิ่มขึ้นเท่ากับ 15.77 เมื่อเทียบกับปีการศึกษา 2564
(2) ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายปีระดับสถานศึกษา ทั้ง 8 กลุ่ม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2565 มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 3.71 เมื่อเทียบกับปีการศึกษา 2564
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (NT) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2565 มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 11.97 เมื่อเทียบกับปีการศึกษา 2564
- ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2565 มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 5.74 เมื่อเทียบกับปีการศึกษา 2564
- ผลการประเมินความสามารถในด้านการอ่านออกและด้านการเขียนได้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2565 มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 13.98 และ 14.75 เมื่อเทียบกับปีการศึกษา 2564
- ผลการประเมินความสามารถในการคิดเป็นและทำเป็น ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2565 มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 7.44 และ 7.47เมื่อเทียบกับปีการศึกษา 2564
(3) ด้านสุขภาพกายสุขภาพจิต พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลการประเมินด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิต ปีการศึกษา 2565 ค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 6.19 เมื่อเทียบกับปีการศึกษา 2564
3) การประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการพัฒนารูปแบบการสร้างทีมงานการบริหารจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะของครูด้านนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนสหกรณ์ประชานุxxxล ตามมาตรฐานสากล โดยภาพรวม ผู้ปกครองและนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการพัฒนารูปแบบการสร้างทีมงานการบริหารจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะของครูด้านนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนสหกรณ์ประชานุxxxลตามมาตรฐานสากล สอดคล้องกัน คือ อยู่ในระดับมาก
4) ผลการพัฒนารูปแบบการสร้างทีมงานการบริหารจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะของครูด้านนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนสหกรณ์ประชานุxxxลตามมาตรฐานสากล พบว่า ผู้เชี่ยวชาญให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการด้านการเรียนรู้แบบบูรณาการที่เน้น ผู้เรียนเป็นสำคัญโดยใช้การมีส่วนร่วมในชุมชน ของโรงเรียนสหกรณ์ประชานุxxxล จำนวน 2 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 หลักการของรูปแบบ จำนวน 4 รายการ และองค์ประกอบที่ 5 การพัฒนาคุณภาพนักเรียน จำนวน 7 รายการ