ารแก้ปัญหานักเรียนมีพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าที่ไม่มีความจำเป็น
ผู้วิจัย นางเกศสุดา จางกาศ ตำแหน่งครู วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ โรงเรียนอนุบาลแม่สาย(สายศิลปศาสตร์)
ปีที่วิจัย 2566
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา(Research and Development) มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ในการเลือกซื้อสินค้าที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เพื่อให้นักเรียนสามาถเลือกซื้อสินค้ามีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตเพื่อยกสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/3 เพื่อให้นักเรียนมีความตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกซื้อสินค้าที่สอดคล้องกับรายได้และความต้องการของตนเอง กลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/3 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนอนุบาลแม่สาย(สายศิลปศาสตร์) จำนวน 31 คน แผนการจัดการเรียนรู้ “หลักการเลือกสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต” สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/3 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง “หลักการเลือกซื้อสินค้าที่จำเป็น” ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/3 จำนวน 10 ข้อ ขั้นตอนในการดำเนินงานวิจัยศึกษาเอกสารหลักสูตรสถานศึกษาแนวคิดทฤษฎีการเรียนการสอน ศึกษาปัญหาของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลที่พบในการจัดการเรียนการสอน ศึกษาเทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ศึกษาเทคนิคการสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ สร้างแบบประเมินผลก่อนเรียน - หลังเรียน ประเมินผลก่อนใช้แผนการจัดการเรียนรู้ ดำเนินการจัดกิจกรรมตามแผนการจัดการเรียนรู้ประเมินผลหลังใช้แผนจัดการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/3
ผลการวิจัยพบว่า
นักเรียนชั้นประถมศึกษา 3/3 สามารถบอกเกี่ยวกับชนิดของสินค้าและสามารถเลือกซื้อสินค้าที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นในรายวิชาสังคมศึกษาสาระเศรษฐศาสตร์ นักเรียนมีความตระหนักและนำความรู้ที่ได้จากกระบวนการเรียนรู้มาใช้ในการตัดสินใจใช้จ่ายเงินทุกครั้ง นักเรียนมีการเปลี่ยนพฤติกรรมในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าที่มีคุณค่าและมีประโยชน์ต่อตนเองอย่างแท้จริง