LASTEST NEWS

03 ก.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศตำแหน่งว่างรับย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 02 ก.ค. 2567ด่วน! สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 182 อัตรา - รายงานตัว 5 ก.ค.2567 02 ก.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศตำแหน่งว่างรับย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 02 ก.ค. 2567สพป.หนองคาย เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 23 อัตรา - รายงานตัว 15 กรกฎาคม 2567 02 ก.ค. 2567โรงเรียนวัดสมุทรธาราม รับสมัครครูอัตราจ้าง ทุกสาขาวิชาเอก เงินเดือน 6,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 2 - 8 กรกฎาคม 2567 02 ก.ค. 2567สพป.อุดรธานี เขต 2 เรียกบรรจุพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน 9 อัตรา - รายงานตัว 8 ก.ค.2567 02 ก.ค. 2567สพม.ตาก เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 8 อัตรา - รายงานตัว 10 ก.ค.2567 02 ก.ค. 2567โรงเรียนวาปีปทุม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกศิลปะ เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 3-7 กรกฎาคม 2567 02 ก.ค. 2567สพฐ.เปิดแนวทางการหักเงิน 7 ขั้น แก้ปัญหาหนี้ครูและบุคลากร 02 ก.ค. 2567ข่าวดี!!! สำหรับน้อง ๆ ม.ปลาย ทั่วประเทศ กรมประชาสัมพันธ์ ขยายเวลา รับสมัครเข้าร่วมประกวดสื่อสร้างสรรค์ ชิงเงินรางวัลรวมกว่า 200,000 บาท 

การพัฒนารูปแบบการบริหารวิชาการโดยใช้หลักภาวะผู้นำ

usericon

ชื่องานวิจัย     การพัฒนารูปแบบการบริหารวิชาการ โดยใช้หลักภาวะผู้นำร่วมกับแนวคิดการทำงานเป็นทีม เพื่อพัฒนาความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนโรงเรียนสังกัดเมืองพัทยา
ผู้วิจัย    กานต์มณี หนองแสง
สถานศึกษา    โรงเรียนเมืองพัทยา 3 (วัดสว่างฟ้าพฤฒาราม) สังกัดเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี
ปีการศึกษา     2565

บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการบริหารวิชาการ เพื่อพัฒนาความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนโรงเรียนสังกัดเมืองพัทยา 2) สร้างรูปแบบการบริหารวิชาการโดยใช้หลักภาวะผู้นำร่วมกับแนวคิดการทำงานเป็นทีม เพื่อพัฒนาความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนโรงเรียนสังกัดเมืองพัทยา 3) ทดลองใช้รูปแบบการบริหารวิชาการโดยใช้หลักภาวะผู้นำร่วมกับแนวคิดการทำงานเป็นทีม เพื่อพัฒนาความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนโรงเรียนสังกัดเมืองพัทยา และ 4) ประเมินรูปแบบการบริหารวิชาการโดยใช้หลักภาวะผู้นำร่วมกับแนวคิดการทำงานเป็นทีม เพื่อพัฒนาความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนโรงเรียนสังกัดเมืองพัทยา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรครู จำนวน 60 คน ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 3 คน หัวหน้างานวิชาการ จำนวน 1 คน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 8 คน ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดเมืองพัทยา จำนวน 10 คน และศึกษานิเทศก์ จำนวน 2 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารวิชาการเพื่อพัฒนาความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนโรงเรียนสังกัดเมืองพัทยา แบบสอบถามเพื่อประเมินรูปแบบการบริหารวิชาการโดยใช้หลักภาวะผู้นำร่วมกับแนวคิดการทำงานเป็นทีม เพื่อพัฒนาความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนโรงเรียนสังกัดเมืองพัทยา แบบประเมินความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารวิชาการโดยใช้หลักภาวะผู้นำร่วมกับแนวคิดการทำงานเป็นทีม เพื่อพัฒนาความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนโรงเรียนสังกัดเมืองพัทยา และแบบสอบถามความพึงพอใจของครูที่มีต่อรูปแบบการบริหารวิชาการโดยใช้หลักภาวะผู้นำร่วมกับแนวคิดการทำงานเป็นทีม เพื่อพัฒนาความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนโรงเรียนสังกัดเมืองพัทยา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า
    1. วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานการบริหารวิชาการ เพื่อพัฒนาความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนโรงเรียนสังกัดเมืองพัทยา พบว่า การพัฒนาความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนจะต้องพัฒนาการอ่านออกเสียงด้วยการอ่านแบบ Phonics เพื่อให้นักเรียนฟังออก พูดชัด อ่านได้ และเขียนถูกต้อง
    2. รูปแบบการบริหารวิชาการโดยใช้หลักภาวะผู้นำร่วมกับแนวคิดการทำงานเป็นทีม เพื่อพัฒนาความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนโรงเรียนสังกัดเมืองพัทยา มีชื่อว่า CDFE Model มีองค์ประกอบ 4 ด้าน ได้แก่ 1) การรวมพลัง (Combine : C) 2) สร้างสรรค์พัฒนา (Development : D) 3) ค้นหาติดตาม (Follow : F) และ 4) สอบถามการประเมิน (Evaluate : E)
    3. การทดลองใช้รูปแบบการบริหารวิชาการโดยใช้หลักภาวะผู้นำร่วมกับแนวคิดการทำงานเป็นทีม เพื่อพัฒนาความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนโรงเรียนสังกัดเมืองพัทยา พบว่า รูปแบบฯ มีประสิทธิผลภาพรวมอยู่ในระดับมาก และบุคลากรครูมีความพึงพอใจต่อรูปภาพ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก
    4. การประเมินรูปแบบการบริหารวิชาการโดยใช้หลักภาวะผู้นำร่วมกับแนวคิดการทำงานเป็นทีม เพื่อพัฒนาความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนโรงเรียนสังกัดเมืองพัทยา CDFE Model พบว่า รูปแบบมีความเป็นไปได้ภาพรวมอยู่ในระดับมาก
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^