การประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน
ในโรงเรียนเทศบาล ๑ วัดแจ้ง
ผู้ประเมิน นางอรทิพา เกตุมะยูร
หน่วยงาน โรงเรียนเทศบาล ๑ วัดแจ้ง
เทศบาลตำบลบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา
ปีที่ประเมิน ปีการศึกษา 2566
บทคัดย่อ
การประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนในโรงเรียนเทศบาล ๑ วัดแจ้ง โดยใช้รูปแบบการประเมินซิปป์ (CIPP Model) ประกอบด้วย ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการ จำนวนทั้งหมด 921 คน ประกอบด้วย ครู จำนวน 35 คน นักเรียน จำนวน 618 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 14 คน ผู้นำชุมชน จำนวน 14 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง และผู้ปกครอง จำนวน 240 คน ได้มาโดยการเลือกแบบโควตา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม จำนวน 6 ฉบับ และแบบสังเกตพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน จำนวน 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการประเมินบริบทของโครงการ มีดังนี้
1.1 ผลการประเมินบริบทของโครงการตามความคิดเห็นของครู โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.63, S = 0.47) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความเป็นไปได้ของโครงการ
1.2 ผลการประเมินบริบทของโครงการตามความคิดเห็นของผู้ปกครอง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.66, S = 0.46) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความสอดคล้องของโครงการกับความต้องการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน
2. ผลการประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.48, S = 0.49) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านบุคลากร
3. ผลการประเมินกระบวนการของโครงการตามความคิดเห็นของครู โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.76, S = 0.44) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการดำเนินงาน
4. ผลการประเมินผลผลิตของโครงการ มีดังนี้
4.1 ผลการประเมินพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน พบว่า กลุ่มคุณธรรมเพื่อการพัฒนาตน โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก ( = 4.72, S = 0.35) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ พฤติกรรมที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การหลีกเลี่ยงอบายมุข กลุ่มคุณธรรมเพื่อการพัฒนาการทำงาน โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก ( = 4.63, S = 0.48) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ พฤติกรรมที่มี ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ความมีวินัย และกลุ่มคุณธรรมเพื่อการพัฒนาการอยู่ร่วมกันในสังคม โดยรวมอยู่ ในระดับดีมาก ( = 4.64, S = 0.47) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ พฤติกรรมที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ความกตัญญูกตเวที
4.2 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.65, S = 0.46) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ และประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียน มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมของโครงการ
4.3. ความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน ประกอบด้วย ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้นำชุมชน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.58, S = 0.49) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ และประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน การเรียน การทำงานบ้าน และการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในครอบครัวและโรงเรียนได้อย่างเหมาะสม
ผลการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนในโรงเรียนเทศบาล ๑ วัดแจ้ง โดยรวมทั้ง 4 ด้าน พบว่า ผลการประเมินโครงการผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ แสดงให้เห็นว่าโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนในโรงเรียนเทศบาล ๑ วัดแจ้ง เป็นโครงการที่มีคุณค่าและประโยชน์ สามารถพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนได้เป็นอย่างดี ดังนั้นจึงควรดำเนินโครงการนี้ต่อไปอย่างต่อเนื่องทุกปีการศึกษา ทั้งนี้ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง ควรนำผลการประเมินโครงการครั้งนี้ไปปรับปรุงและพัฒนาการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการให้มีความหลากหลายและน่าสนใจมากยิ่งขึ้น