การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาสังคมศึกษา เรื่องสู้ภัยพิบั
ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการทางภูมิศาสตร์ (Geographic inquiry process)
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย นายธนัชช์เดชน์ พันธ์ทรัพย์
กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
ปีการศึกษา 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้เป็นการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาสังคมศึกษา เรื่องรู้สู้ภัยพิบัติ
ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการทางภูมิศาสตร์ (Geographic inquiry process)
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาสังคมศึกษา เรื่อง สู้ภัยพิบัติ
ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้กระบวนการทางภูมิศาสตร์
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือนักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5/3, 5/5, 5/7,5/9 และ 5/11
โรงเรียนธัญบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 189 คนที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple
Random Sampling) ด้วยวิธีการจับสลากโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลองจำนวน
7 คาบเรียน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การใช้กระบวนการทางภูมิศาสตร์
(Geographic inquiry process) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาสังคมศึกษา เรื่อง รู้สู้ภัยพิบัติ
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ดำเนินการทดลองโดยใช้แบบแผนการทดลอง One group pretest – posttest design
สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานคือ t-test dependent ผลการวิจัยพบว่า 1)
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาสังคมศึกษา เรื่อง รู้สู้ภัยพิบัติ
หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2)
ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อ
รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการทางภูมิศาสตร์ (Geographic inquiry process)
ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด