การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน_นายราเมฆ รัตนิล
ชื่อโครงการ: การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ภายหลังสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19
โรงเรียนเทศบาล ๑ (เยี่ยมเกษสุวรรณ)
ผู้รายงาน: นายราเมฆ รัตนิล ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะรองผู้อำนวยการ
ชำนาญการ
สถานที่ทำงาน: โรงเรียนเทศบาล ๑ (เยี่ยมเกษสุวรรณ) อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
สังกัดกองการศึกษา เทศบาลนครสมุทรปราการ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
กระทรวงมหาดไทย
ปีการศึกษา: 2565
การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนภายหลังสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 โรงเรียนเทศบาล ๑ (เยี่ยมเกษสุวรรณ) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินสภาพแวดล้อมโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนภายหลังสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 โรงเรียนเทศบาล ๑ (เยี่ยมเกษสุวรรณ) 2) ประเมินปัจจัยนำเข้าโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนภายหลังสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 โรงเรียนเทศบาล ๑ (เยี่ยมเกษสุวรรณ) 3) ประเมินกระบวนการโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนภายหลังสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 โรงเรียนเทศบาล ๑ (เยี่ยมเกษสุวรรณ) 4) ประเมินผลผลิตโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนภายหลังสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 โรงเรียนเทศบาล ๑ (เยี่ยมเกษสุวรรณ) 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองและนักเรียน ที่มีต่อโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนภายหลังสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 โรงเรียนเทศบาล ๑ (เยี่ยมเกษสุวรรณ) โดยศึกษากับประชากร ได้แก่ ครูโรงเรียนเทศบาล ๑ (เยี่ยมเกษสุวรรณ) จำนวน 80 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (ที่ไม่ใช่ผู้แทนผู้ปกครอง ผู้แทนครู หรือผู้บริหารสถานศึกษา) จำนวน 10 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 1,518 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาทีปี่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 1,518 คน รวมทั้งสิ้น 3,126 คน ปีการศึกษา 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วย แบบสอบถาม จำนวน 4 ฉบับ การวิเคราะห์ ข้อมูลใช้ค่าความถี่ (f) สถิติร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (x-bar) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D)
ผลการประเมินโครงการ พบว่า
1. การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนภายหลังสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 โรงเรียนเทศบาล ๑ (เยี่ยมเกษสุวรรณ) อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ สังกัดกองการศึกษา เทศบาลนครสมุทรปราการ จำแนกตามความคิดเห็นของครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทั้งหมด
1.1 การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนภายหลังสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 โรงเรียนเทศบาล ๑ (เยี่ยมเกษสุวรรณ) อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ สังกัดกองการศึกษา เทศบาลนครสมุทรปราการ โดยรวมและรายด้าน โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย สามลำดับแรก พบว่า ด้านปัจจัยนำเข้า อยู่ในลำดับแรก รองลงมา คือด้านสิ่งแวดล้อม และด้านกระบวนการ ตามลำดับ
1.1.1 ด้านสิ่งแวดล้อม โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียง ลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย สามลำดับแรก พบว่า เป้าหมายของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนภายหลังสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 ให้บุคลากรในโรงเรียนทุกคน มีส่วนร่วม ประสานงาน ติดตาม และสรุปรายงานดูแลช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มมีปัญหาด้านต่างๆ อย่างใกล้ชิด อยู่ในลำดับแรก รองลงมาคือ วัตถุประสงค์ของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนภายหลังสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 ส่งเสริมให้บุคลากรและนักเรียนรู้จักตัวเองและความต้องการของตนเองมากขึ้น และวัตถุประสงค์ของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนภายหลังสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 ส่งเสริมให้นักเรียนมีชีวิตที่สัมพันธ์ด้วยดีกับบุคคล ครอบครัว โรงเรียน ชุมชนสังคมและสิ่งแวดล้อม ตามลำดับ
1.1.2 ด้านปัจจัยนำเข้า โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย สามลำดับแรก พบว่า โรงเรียนได้รับการสนับสนุนให้ครู ผู้ปกครอง องค์กรที่เกี่ยวข้อง และชุมชนได้มีส่วนร่วมในระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน อยู่ในลำดับแรก รองลงมา คือ โรงเรียนมีการรายงานข้อมูลต่าง ๆ ของครูที่ปรึกษาที่จัดทำสาระสนเทศนักเรียนอย่างต่อเนื่องเป็นไปอย่างมีระบบ และ โรงเรียนได้ให้ความรู้เกี่ยวกับระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนภายหลังสถานการณ์โควิด 19 กับคณะกรรมการและทีมงานต่างๆ ตามลำดับ
1.1.3 ด้านกระบวนการ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียง ลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย สามลำดับแรก พบว่า ครูที่ปรึกษาในแต่ละระดับชั้นได้วางแผนร่วมกันในการดำเนินงานเพื่อดูแลช่วยเหลือนักเรียนภายหลังสถานการณ์โควิด 19 อยู่ในลำดับแรก รองลงมา คือ ครูที่ปรึกษาได้ทำความรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลผ่านการเยี่ยมบ้านหรือในช่องทางอื่น ๆ และครูที่ปรึกษาในแต่ระดับชั้นได้วางแผนร่วมกันในการดำเนินการดูแลช่วยเหลือนักเรียนภายหลังสถานการณ์โควิด 19 ตามลำดับ
1.1.4 ด้านผลผลิต โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย สามลำดับแรก พบว่า ผู้บริหารมีประสิทธิภาพในการจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนภายหลังสถานการณ์โควิด 19 อยู่ในลำดับแรก รองลงมา คือ ผู้ปกครองและองค์กรที่เกี่ยวข้องมีประสิทธิภาพในการจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนภายหลังสถานการณ์โควิด 19 และครูมีประสิทธิภาพในการจัดการระบบดูช่วยเหลือนักเรียนภายหลังสถานการณ์โควิด 19 ตามลำดับ
1.2 ข้อคิดเห็นของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนภายหลังสถานการณ์โรคระบาด โควิด 19 โรงเรียนเทศบาล ๑ (เยี่ยมเกษสุวรรณ) อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ สังกัดกองการศึกษา เทศบาลนครสมุทรปราการ มีดังนี้
1.2.1 ขั้นตอนที่ 1 การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล พบว่า มีข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะตามลำดับ ดังนี้ ครูที่ปรึกษาควรเก็บข้อมูลนักเรียนรายบุคคล ภาคเรียนละ 1 ครั้ง เพื่อข้อมูลจะได้เป็นปัจจุบัน ครูที่ปรึกษาควรมีเบอร์โทรศัพท์ของผู้ปกครองนักเรียนทุกคน ครูที่ปรึกษาควรเก็บรวบรวมข้อมูลนักเรียนลงในระบบคอมพิวเตอร์ และครูที่ปรึกษาควรเยี่ยมบ้านนักเรียนอย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง
1.2.2 ขั้นตอนที่ 2 การคัดกรองนักเรียน พบว่า มีข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะตามลำดับ ดังนี้ โรงเรียนควรจัดการอบรมขั้นตอนของการคัดกรองนักเรียนให้กับครูที่ปรึกษา ครูที่ปรึกษาควรประสานงานโดยตรงกับผู้ปกครองของนักเรียนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มมีปัญหา
1.2.3 ขั้นตอนที่ 3 การส่งเสริมนักเรียน พบว่า มีข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะตามลำดับ ดังนี้ โรงเรียนควรทำแบบสอบถามความสนใจในกิจกรรมที่จัดให้นักเรียน โรงเรียนควรจัดทำแบบสอบถามความพึงพอใจในกิจกรรมที่จัดให้นักเรียน และโรงเรียนควรจัดกิจกรรมการส่งเสริมนักเรียนให้ครบทุกด้านตามความสนใจและความถนัดของนักเรียน
1.2.4 ขั้นตอนที่ 4 การป้องกันและแก้ปัญหานักเรียน พบว่า มีข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะตามลำดับ ดังนี้ ครูที่ปรึกษาควรให้ความใกล้ชิดกับนักเรียนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ครูที่ปรึกษาควรให้ความสำคัญกับนักเรียนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน และโรงเรียนควรจัดอบรมและให้ความรู้กับครูที่ปรึกษาเรื่องแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน
1.2.5 ขั้นตอนที่ 5 การส่งต่อนักเรียน พบว่า มีข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะตามลำดับ ดังนี้ ครูที่ปรึกษาควรเก็บข้อมูลของนักเรียนไว้เป็นความลับไม่เปิดเผยกับผู้ที่ไม่เกี่ยวข้อง โรงเรียนควรจัดอบรมและให้ความรู้กับครูที่ปรึกษาเรื่องวิธีการช่วยเหลือนักเรียน และครูที่ปรึกษาควรมีเครือข่ายกับบุคคลภายนอกที่มีความชำนาญในด้านการช่วยเหลือนักเรียนโดยตรง
1.3 ความพึงพอใจของ ครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ที่มีต่อโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนภายหลังสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 โรงเรียนเทศบาล ๑ (เยี่ยมเกษสุวรรณ) โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( x-bar=4.179) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงค่าเฉลี่ยจากด้านที่มีความพึงพอใจมากไปหาน้อย ดังนี้ 1) ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล 2) ด้านการคัดกรองนักเรียน 3) ด้านการส่งเสริมนักเรียน 4) ด้านการป้องกันและแก้ปัญหานักเรียน และ 5) ด้านการส่งต่อนักเรียน ตามลำดับ
คำสำคัญ: การประเมินโครงการ, ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน