รายงานการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best practice) นางสาวกมลพร มิ่งสกุล
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต ๒
............................................................................................................................................................
๑. ชื่อผลงาน
การจัดการเรียนการสอน Active Learning โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 5E (The 5E’s of Inquiry-Based Learning) ในการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้สูงสุด
๒. ผู้นำเสอผลงาน นางสาวกมลพร มิ่งสกุล ตำแหน่ง ครู
สถานศึกษา โรงเรียนบ้านคลองสารเพชร อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา
ผลงานที่เสนอ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
๓. ความเป็นมาและความสำคัญ
วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งในสังคมโลกปัจจุบันและอนาคต เพราะวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับชีวิตของทุกคนทั้งในการดำรงชีวิตประจำวันและในงานอาชีพต่างๆ เครื่องมือเครื่องใช้ตลอดจนผลผลิตต่างๆ เพื่อใช้อำนวยความสะดวกในชีวิตและการทำงานล้วนเป็นผลของความรู้วิทยาศาสตร์ผสมผสานกับความคิดสร้างสรรค์และศาสตร์อื่นๆ ความรู้วิทยาศาสตร์ช่วยให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างมาก พร้อมกันนั้นเทคโนโลยีก็มีส่วนสำคัญมากที่จะให้การศึกษาค้นคว้าความรู้ทางวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง
การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ที่ดีในศตวรรษที่ ๒๑ ควรมีลักษณะอย่างไร เมื่อวิถีชีวิตและสภาพของการเรียนรู้ในยุคปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย ผู้สอนจึงมิได้เพียงแค่ทำหน้าที่ส่งผ่านความรู้เท่านั้นแต่ต้องเติมทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้อย่างสมดุลจากสภาพปัญหาการเรียนในปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้ผู้พัฒนาผลงานจึงเกิดแนวคิดที่จะพัฒนากระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยใช้กระบวนการแบบสืบเสาะหาความรู้ 5E ในการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้สูงสุด ซึ่งกระบวนการเรียนรู้ต้องเกิดจากการเรียนรู้ทฤษฎีและการสืบค้นข้อมูลเป็นหลักโดยไม่มีกระบวนการทดลอง จึงต้องให้การจัดการเรียนรู้ ตามลำดับขั้นตอนมุ่งให้ผู้เรียนเกิดองค์ความรู้ได้ด้วยตนเองผ่านกิจกรรมการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โรงเรียนบ้านคลองสารเพชร จึงมุ่งส่งเสริมให้นักเรียนพัฒนาความรู้แบบบูรณาการ เน้นการเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ เพื่อให้นักเรียนเกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สามารถนำองค์ความรู้มาเชื่อมโยงกันในแต่ละสาระการเรียนรู้นำไปสู่การประยุกต์ใช้ได้จริงนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและสามารถสังเคราะห์องค์ความรู้ออกมาในรูปแบบต่างๆ ได้ ดังนั้นข้าพเจ้าจึงมีแนวคิดในการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านการลงมือทำและการเรียนรู้เชิงรุก(Active Learning) โดยการออกแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาระหาความรู้ 5E ในการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้สูงสุด การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E ซึ่งประกอบด้วย ๕ ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement) ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation) ขั้นขยายความ (Elaboration) และขั้นประเมินผล (Evaluation) กระบวนการเหล่านี้มีแนวทางเพื่อให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะและศักยภาพความเป็นสากลซึ่งจะช่วยเพิ่มพูนทักษะการศึกษา ค้นคว้าเลือกใช้ข้อมูลได้อย่างถูกต้องเหมาะสม สามารถพัฒนาความริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Creativity and Innovation) การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving) การสื่อสารและการร่วมมือ(Collaboration, Teamwork and Leadership) ทักษะด้านสารสนเทศ รู้เท่าทันสื่อและเทคโนโลยี(Communications, Information, and Media Literacy) ซึ่งทักษะเหล่านี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งในศตวรรษที่ ๒๑ ที่ใช้ในการดำเนินชีวิตต่อไปในอนาคต และเป็นการท้าทายความสามารถของตนเอง ได้ทำในสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อน นอกจากนี้นักเรียนได้นำองค์ความรู้ที่เกิดจากการศึกษา ค้นคว้าและลงพื้นที่ด้วยตนเองนั้นนำไปเผยแพร่ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา
๔. วัตถุประสงค์
๔.๑ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้สูงสุด โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 5E (The 5E’s of Inquiry-Based Learning)
๔.๒ เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะในศตวรรษที่ ๒๑
ในการค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้สามารถแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ
สามารถตัดสินใจ โดยใช้ข้อมูลหลากหลายและประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้
๔.๓ เพื่อให้ผู้เรียนให้เกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่เรียนอย่างแท้จริงโดยการให้ผู้เรียน
สร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยอาศัยความร่วมมือจากกลุ่ม
๕.เป้าหมายของการดำเนินงาน
๕.๑ เป้าหมายเชิงปริมาณ
๑) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ จำนวน ๑๒ คน ได้ผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้
ผ่านการลงมือทำและการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 5E (The 5E’s of Inquiry-Based Learning) ในการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้สูงสุด
๒) นักเรียนได้นวัตกรรมที่ผ่านกระบวนการศึกษา ค้นคว้าของนักเรียนจำนวน ๑ เรื่อง
๕.๒ เป้าหมายเชิงคุณภาพ
นักเรียนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ ในการค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้สามารถแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจ โดยใช้ข้อมูลหลากหลายและประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้
๖. ระยะเวลา
การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E หน่วยการเรียนรู้ ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต(สัตว์) เรื่อง การจำแนกสัตว์มีกระดูกสันหลัง ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ในภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๖
๗. ขั้นตอนการดำเนินงาน
๗.๑ ขั้นออกแบบผลงาน/นวัตกรรม
จากเจตนารมณ์ของโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากลที่มีความมุ่งหวังและความคาดหมาย หลัก ๆ คือ ผู้เรียนได้รับการพัฒนาให้เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ อันหมายถึง เป็นคนดี เป็นคนเก่ง เป็นคนที่สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณค่าและมีความสุข บนพื้นฐานของความเป็นไทย ภายใต้บริบท สังคมโลกใหม่ รวมทั้งเพิ่มศักยภาพและความสามารถในระดับสูงด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและ การสื่อสาร เพื่อการพึ่งตนเองและเพื่อสมรรถนะในการแข่งขัน และโรงเรียนยกระดับคุณภาพสูงขึ้น สู่มาตรฐานสากล ผ่านการรับรองมาตรฐานคุณภาพตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBECQA) เป็น โรงเรียนยุคใหม่ที่จัดการศึกษาแบบองค์รวม และบูรณาการเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ศาสนา และการเมือง เพื่อพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน โดยมีภาคีเครือข่ายการจัดการเรียนรู้และร่วมพัฒนากับสถานศึกษาระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค ระดับ ชาติและนานาชาติรวมทั้งเครือข่ายสนับสนุน จากสถาบันอุดมศึกษาและองค์กรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเป็นศูนย์และร่วมเป็นเครือข่ายพัฒนา ความรู้ให้กับประชาชนในชุมชนและบุคคลทั่วไป
ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงดำเนินการพัฒนาและแก้ไขปัญหาผู้เรียนโดยใช้นวัตกรรมทางการเรียนการสอน (Instructional innovation) โดยมีเป้าหมายตามหลักการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งต้องดำเนินการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้มีความรอบรู้ ก้าวทันโลกและการเปลี่ยนแปลง มีคุณธรรมและจริยธรรมสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้และพัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับปรัชญาการศึกษา ด้านประสบการณ์นิยม(Progressivism) และทฤษฎีการเรียนรู้ ด้านการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) โดยสังเคราะห์เป็นนวัตกรรม การจัดการเรียนการสอน Active learning โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 5E ในการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้สูงสุด โดยกระบวนการพัฒนานวัตกรรม/วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ ใช้วิธี System Approachประกอบด้วย Input Process Output Feedback และทุกขั้นตอนจะควบคุม โดยวงจรคุณภาพ PDCA ดังแสดงในแผนภาพ ดังนี้
จากกระบวนการพัฒนานวัตกรรม/วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ ใช้วิธี System Approach ประกอบด้วย Input Process Output Feedback และทุกขั้นตอนจะควบคุม โดยวงจรคุณภาพ PDCA ดังแสดงในภาพนั้นมีดำเนินการ ดังนี้
๑. ศึกษาหลักสูตรของโรงเรียน ศึกษาเอกสารประกอบหลักสูตรและวิเคราะห์หลักสูตร
๒. ออกแบบหน่วยการเรียนรู้และจัดทำแผนการเรียนรู้อย่างชัดเจน ซึ่งในแผนการ
จัดการเรียนรู้นอกจากจะกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดแล้ว จะกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ครอบคลุมทั้ง ๓ ด้าน คือ ด้านพุทธิพิสัย ด้านจิตพิสัยและด้านทักษะพิสัย
๓. ระบุเทคนิควิธีการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ระบุใช้สื่อ/นวัตกรรมที่ใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมสอดคล้องกับเนื้อหาสาระและผู้เรียน
๔. กำหนดวิธีการวัดและประเมินผลพร้อมเครื่องมือการวัดและประเมินผลไว้อย่างชัดเจน
๕. จากนั้นนำแผนการจัดการเรียนรู้ไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ใช้สื่อ/นวัตกรรมอย่างหลากหลายประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ รวมทั้งออกแบบและสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ให้ครอบคลุมตามตัวชี้วัดและมาตรฐานการเรียนรู้
ทั้งนี้ ข้าพเจ้ามีการวัดและประเมินผลในรายวิชาวิทยาศาสตร์ คือ การประเมินการปฏิบัติ (Authentic Assessment) และการประเมินสภาพจริง (Performance Assessment) โดยผ่านการปฏิบัติของผู้เรียน โดยการวัดและประเมินผลด้วยวิธีการดังกล่าวต้องวัดและประเมินได้ครอบคลุม ครบถ้วนพฤติกรรมของผู้เรียนทั้ง ๓ ด้าน ดังนี้
ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) การประเมินความรู้ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ เป็นการให้ผู้เรียนได้รับความรู้ ความเข้าใจและสามารถประยุกต์ใช้ ทั้งเนื้อหาด้านทฤษฎีและปฏิบัติ ซึ่งความรู้ในเนื้อหาสาระนี้สามารถประเมินโดยการใช้แบบทดสอบ
ด้านจิตพิสัย (Affective Domain) เป็นการประเมินการแสดงออกของผู้เรียนทั้งหมด ตลอดจน การทำงานร่วมกันและคุณลักษณะต่างๆ ซึ่งสามารถประเมินด้วยวิธีการสังเกตได้อย่างชัดเจน
ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) การประเมินทักษะในรายวิชาวิทยาศาสตร์ ตามทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะที่สำคัญของนักเรียนในศตวรรษที่ ๒๑
๗.๒ การดำเนินงานตามกิจกรรม
ขั้นเตรียมการ (Plan)
๑. ผู้สอนศึกษาเป้าหมายของการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ศึกษาหลักสูตรของโรงเรียน ศึกษาเอกสารประกอบหลักสูตรและวิเคราะห์หลักสูตร ศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ ในการค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจ โดยใช้ข้อมูลหลากหลายและประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ เพื่อสร้างหน่วยการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภายใต้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช ๒๕๖๐)
๒. ผู้สอนจัดทำหน่วยการเรียนรู้ และแผนการจัดการเรียนรู้
๓. ผู้เรียนและผู้สอนร่วมกันสำรวจแนวคิดหลักในการจัดทำผลงงานและนวัตกรรม เพื่อนำไปสู่การกำหนดหัวข้อองค์ความรู้ใหม่ที่ผู้เรียนมีความสนใจร่วมกัน
ขั้นดำเนินการ (Do)
การพัฒนาผลงานและนวัตกรรมของนักเรียนจากการจัดการเรียนการสอน Active learning โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 5E (The 5E’s of Inquiry-Based Learning) ในการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้สูงสุด ดังนี้
ภาพที่ ๑ แสดงรูปแบบการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 5E (The 5E’s of Inquiry-Based Learning)
ครูผู้สอนได้ดำเนินการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 5E ในการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้สูงสุด ดังนี้
๑. ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement) มีลักษณะเป็นการแนะนำบทเรียนกิจกรรมจะประกอบด้วยการซักถามปัญหา การทบทวนความรู้เดิม การกำหนดกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในการเรียนการสอนและเป้าหมายที่ต้องการ
๒. ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration) ความเข้าใจในประเด็นหรือคำถามที่สนใจจะศึกษาอย่างถ่องแท้แล้ว ก็มีการวางแผนกำหนดแนวทางการสำรวจตรวจสอบ ตั้งสมมติฐาน กำหนดทางเลือกที่เป็นไปได้ ลงมือปฏิบัติเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อสนเทศ หรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ วิธีการตรวจสอบอาจทำได้หลายวิธี เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลอย่างเพียงพอที่จะใช้ในขั้นต่อไป
๓. ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation) เมื่อได้ข้อมูลอย่างเพียงพอจากการสำรวจตรวจสอบแล้วจึงนำข้อมูล ข้อมูลสนเทศที่ได้มาวิเคราะห์ แปลผล สรุปผล และนำเสนอผลที่ได้ในรูปต่าง ๆ การค้นพบในขั้นนี้อาจ เป็นไปได้หลายทาง เช่น สนับสนุนสมมติฐานที่ตั้งไว้ โต้แย้งกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ หรือ ไม่เกี่ยวข้อง กับประเด็นที่ได้กำหนดไว้แต่ผลที่ได้จะอยู่ในรูปใดก็สามารถสร้างความรู้และช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้
๔. ขั้นขยายความ (Elaboration) การนำความรู้ที่สร้างขึ้นไปเชื่อมโยงกับความรู้เดิม หรือแนวคิดที่ได้ค้นคว้าเพิ่มเติม หรือนำแบบจำลองหรือข้อสรุปที่ได้ไปใช้อธิบายสถานการณ์หรือ เหตุการณ์อื่น ถ้าใช้อธิบายเรื่องต่าง ๆ ได้มาก็แสดงว่าข้อจำกัดน้อย ซึ่งก็จะช่วยให้เชื่อมโยงกับเรื่อง ต่าง ๆ และทำให้เกิดความรู้กว้างขวางขึ้น
๕. ขั้นประเมินผล (Evaluation) เป็นการประเมินการเรียนรู้ด้วยกระบวนการต่าง ๆ ว่านักเรียน มีความรู้อะไรบ้าง อย่างไร และมากน้อยเพียงใด จากขั้นนี้จะนำไปสู่การนำความรู้ไปประยุกต์ ใช้ใน เรื่องอื่น ๆ
ขั้นตรวจสอบและประเมินผลการพัฒนางาน (Check)
๑. ผู้เรียนมีความตื่นตัวในการเข้าร่วมกิจกรรม มีการค้นคว้าข้อมูลจากหลายแหล่งเรียนรู้ และมีการปรับปรุงเป็นระยะ โดยมีผู้สอนทำหน้าที่ให้ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงและพัฒนางาน
๒. เมื่อผู้เรียนจัดทำนวัตกรรม แล้ว ผู้สอนทำหน้าที่ตรวจสอบ และเสนอแนะ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับผู้เรียน
ขั้นสรุปและรายงาน (Action)
๑. Reflection หรือถอดบทเรียน เป็นขั้นตอนการนำเสนอผลงานของนักเขียนในแต่ละกลุ่มเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันระหว่างกลุ่ม นอกจากนี้มีกระบวนการการถอดบทเรียนจากการทำผลงานหรือนวัตกรรมของตนเองว่านักเรียนเรียนรู้อะไร ได้อะไรจากการทำผลงานหรือนวัตกรรมในครั้งนี้ เพื่อเป็นการทบทวนกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นมาตลอดทั้งหน่วยการเรียนรู้ที่ผ่านมา หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นกระบวนการตกผลึกทางความคิด เพื่อเชื่อมโยงองค์ความรู้ที่ได้รับกับการนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน โดยมีผู้สอนทำหน้าที่ให้คำชี้แนะอย่างใกล้ชิด
๒. ผู้สอนนำเสนอนวัตกรรมที่ผู้เรียนร่วมกันสร้างองค์ความรู้ครั้งนี้เผยแพร่ทั้งภายใสถานศึกษาและภายนอกสถานศึกษา ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ
๗.๓ ประสิทธิภาพของการดำเนินงาน
ขั้นตอนในการพัฒนาผลงานหรือนวัตกรรมของนักเรียนโดยใช้ดำเนินการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 5E ในการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้สูงสุด พบว่านักเรียนเกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ ในการค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจ โดยใช้ข้อมูลหลากหลายและประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ สามารถนำดำเนินการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 5E ในการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้สูงสุด ในการดำเนินงานไปใช้เป็นแหล่งข้อมูลในการศึกษา และใช้เป็นแนวทางการพัฒนา หรือ เป็นฐานข้อมูลสำหรับการศึกษาเพิ่มเติมที่จะนำไปสู่การพัฒนา การต่อยอด การแสวงหาองค์ความรู้ใหม่เพิ่มขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง
๗.๔ การใช้ทรัพยากร
การพัฒนาผลงานและนวัตกรรมของนักเรียนผ่านการดำเนินการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 5E ในการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้สูงสุด ได้เน้นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ ในการค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจ โดยใช้ข้อมูลหลากหลายและประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ ซึ่งต้องอาศัยจากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลายและเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่อยู่ในท้องถิ่น เพื่อให้การสืบค้นข้อมูลและนำข้อมูลมาใช้สร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ นั้นมีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ จึงมีการใช้ทรัพยากรในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้
๑) ผู้เรียนและผู้สอนระดมความคิด เพื่อระบุแหล่งเรียนรู้ที่สามารถสืบค้นหาข้อมูลมาจัดทำผลงานและนวัตกรรมของตนเองได้อย่างถูกต้อง มีความน่าเชื่อถือ เช่น ห้องสมุดกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ห้องสมุดโรงเรียนบ้านคลองสารเพชร ใบความรู้ และข้อมูลในระบบอินเตอร์เน็ต
๒) กระบวนการสืบค้นข้อมูลและเขียนบทความ มีการใช้ทรัพยากร เช่น กระดาษ A4 กระดาษ ฟลิบชาร์จ ปากกาเคมี เพื่อใช้ในการจดบันทึกข้อมูล เพื่อเก็บข้อมูลเป็นสารสนเทศ
๓) การลงพื้นที่สืบค้นข้อมูล ได้รับการอำนวยความสะดวกจากผู้ปกครองของนักเรียนซึ่งเป็นคนในท้องถิ่น ทำให้นักเรียนสามารถเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกได้
๔) การจัดตีพิมพ์ผลงานและนวัตกรรมที่ได้ดำเนินการศึกษา ผ่านโรงพิมพ์โดยใช้ป้ายไวนิล หรือกระดาษอาร์ตมัน ในรูปแบบโปสเตอร์เพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้กับงานนำเสนอ
๕) การเผยแพร่ผลงานและนวัตกรรมที่ได้ดำเนินการศึกษา ผ่านระบบเทคโนโลยี
สารสนเทศตามศักยภาพและความสนใจของนักเรียนเอง
๘.ผลการดำเนินงาน/ประโยชน์ที่ได้รับ
๘.๑ ผลที่เกิดตามจุดประสงค์
๑) นักเรียนเกิดการเรียนรู้สูงสุดจากการจัดการเรียนรู้เชิงรุก(Active learning) โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 5E (The 5E’s of Inquiry-Based Learning)
๒) นักเรียนเกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ ในการ
ค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้เกิดทักษะการคิดสร้างสรรค์การคิดอย่าง
มีวิจารณญาณ และการคิดแก้ปัญหา สามารถแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจ
๓) ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในกิจกรรมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์มากขึ้น โดยการให้
สร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยอาศัยความร่วมมือจากกลุ่ม
๘.๒ ผลสัมฤทธิ์ของงาน
ผลการดำเนินงานการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 5E (The 5E’s of Inquiry-Based Learning) ในการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้สูงสุด พบว่าผู้เรียนเกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การคิดสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดแก้ปัญหา ค้นคว้าและคัดเลือกข้อมูลหรือองค์ความรู้เป็นทักษะการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ ๒๑ สามารถค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจ โดยใช้ข้อมูลหลากหลายและประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ ซึ่งทักษะเหล่านี้จะติดตัวผู้เรียนไปตลอด และผู้เรียนสามารถจัดทำผลงานซึ่งเป็นนวัตกรรมสำคัญซึ่งเป็นผลสรุปของการออกแบบการจัดการเรียนรู้ และสามารถนำนวัตกรรมมาศึกษาหาความรู้ และนำสู่การเผยแพร่ให้กว้างขวางมากขึ้น
๘.๓ ประโยชน์ที่ได้รับ
๑) นักเรียนเกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ ในการค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ เกิดทักษะการคิดสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดแก้ปัญหา สามารถแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจ
๒) ผู้เรียนมีความตระหนักในการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้การพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง เกิดความรักชุมชนบ้านเกิดและรู้สึกเป็นเจ้าของชุมชนของตนเอง (Sense of Belonging) ได้เรียนรู้ร่วมกันในเรื่องที่เกี่ยวกับท้องถิ่น และรู้จักจังหวัดชัยภูมิซึ่งเป็นชุมชนของนักเรียนในหลากหลายแง่มุมมากยิ่งขึ้นในการคิดแก้ปัญหาหรือสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อตอบแทนสังคมที่ตนเองดำรงชีวิตอยู่
๓) ผู้เรียนสามารถเปลี่ยนจากผู้รับองค์ความรู้มาเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ และเผยแพร่องค์ความรู้ ที่เกิดจากการศึกษา ค้นคว้าให้เกิดประโยชน์กับชุมชนท้องถิ่นของตนเอง
๙. ปัจจัยความสำเร็จ
๙.๑ กระบวนการจัดการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 5E (The 5E’s of Inquiry-Based Learning) ในการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้สูงสุด มีการวางแผนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ รัดกุม ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการสร้างนวัตกรรมของนักเรียน
๙.๒ ครูและนักเรียนกล้าที่จะก้าวข้ามขีดจำกัดของตนเอง กล้าคิด กล้าลงมือทำ หวังผลเพื่อพัฒนาตนเองให้เต็มศักยภาพ เรียนรู้ร่วมกัน
๙.๓ นักเรียนได้นำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการอธิบาย เชื่อมโยง และบูรณาการองค์ความรู้ทั้งทางด้านสังคมศาสตร์ เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมอย่างรอบด้าน
๙.๔ ผู้บริหารและคณะครูให้ความเห็นชอบและให้การสนับสนุนการดำเนินกิจกรรม มีวัสดุอุปกรณ์ ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมอย่างเพียงพอ
๙.๕ บุคลากรท้องถิ่นถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ให้ข้อมูลกับนักเรียนในเรื่องราวที่สอดคล้องกับ เนื้อหาในการเรียน รวมถึงให้ความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนรู้ ส่งผลให้ผู้ปกครองและชุมชนมีความพึงพอใจต่อการทำงานของโรงเรียน
๙.๖ การประชาสัมพันธ์องค์ความรู้ที่ได้จากการทำกิจกรรมร่วมกันผ่านการเผยแพร่ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ทำให้องค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษา ค้นคว้าได้เผยแพร่ไปในวงกว้าง และช่วยให้ผู้คนตระหนักถึงการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาร่วมพัฒนาท้องถิ่นของตนเองมากขึ้น สร้างความเข้มแข็งของชุมชน และพัฒนาต่อยอดต่อไปได้อย่างยั่งยืน
๑๐. บทเรียนที่ได้รับ (Lesson Learned)
๑๐.๑ การระบุข้อมูลที่ได้รับจากการผลิตและการนำผลงานไปใช้
๑) นักเรียนเกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ ในการค้นคว้าและ
สร้างองค์ความรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ เกิดทักษะการคิดสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดแก้ปัญหา สามารถแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจ
๒) ผู้เรียนทราบวิธีการค้นคว้าและคัดเลือกข้อมูลหรือองค์ความรู้ได้อย่างถูกต้องและเป็นระบบ
๓) ผู้เรียนมีความภาคภูมิใจในผลงานหรือนวัตกรรมของตนเอง
๔) ผู้เรียนได้เรียนรู้ร่วมกันในเรื่องที่เกี่ยวกับการนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ไปพัฒนาท้องถิ่น และรู้จักจังหวัดชัยภูมิซึ่งเป็นชุมชนของนักเรียนในหลากหลายแง่มุมมากยิ่งขึ้น สนองตอบหลักสูตรสถานศึกษา และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑
๑๐.๒ ข้อเสนอแนะ ข้อควรระวัง
๑) ผู้เรียนขาดประสบการณ์และทักษะในการค้นคว้า เลือกใช้และรวบรวมข้อมูล การจัดทำผลงานหรือนวัตกรรมครั้งนี้ ผู้สอนจำเป็นต้องดูแล ให้คำแนะนำในลักษณะของผู้อำนวยความสะดวก (Facilitator) และผู้ให้คำแนะนำ (Coach) อย่างใกล้ชิด พร้อมช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหา ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้น
๒) ผู้สอนต้องวางแผนการจัดทำผลงานหรือนวัตกรรมของนักเรียนให้มีความชัดเจน รัดกุม เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้
๑๐.๓ แนวทางในการพัฒนานวัตกรรมเพิ่มเติม
๑) การพัฒนาผลงานหรือนวัตกรรมของนักเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 5E (The 5E’s of Inquiry-Based Learning) ในการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้สูงสุด ควรจัดทำในรูปแบบของสื่อออนไลน์ เช่น E-book เพื่อให้สามารถมีผู้เข้าถึงองค์ความรู้ที่นักเรียนได้ศึกษา ค้นคว้าและเรียบเรียงอย่างเป็นระบบได้จำนวนมากและวงกว้างยิ่งขึ้น หรือเข้าถึงโดยการสแกน QR code
๒) การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาประยุกต์ใช้กับผลงานหรือนวัตกรรมของนักเรียนมากขึ้น เช่น การใช้ AR Augmented Reality เป็นเทคโนโลยีที่นำภาพเสมือน ที่เป็นรูปแบบ 3 มิติ จำลองเข้าสู่ โลกจริงผ่านกล้อง จะทำให้ผลงานหรือนวัตกรรมของนักเรียนมีความน่าสนใจและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อ่านได้มากยิ่งขึ้น สอดคล้องกับการพัฒนาการศึกษาในยุคไทยแลนด์ 4.0
๓) การกำหนดประเด็นที่จะศึกษา ค้นคว้า ให้มีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น เพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาองค์ความรู้อย่างละเอียดและลึกซึ้ง เช่น การศึกษาประวัติของผ้าไหมนครราชสีมา การศึกษาการทำหมี่โคราช การศึกษาการทำเครื่องปั้นดินเผา เป็นต้น
๑๑. การเผยแพร่ การได้รับการยอมรับ
๑๑.๑ การเผยแพร่
๑) เผยแพร่เป็นเอกสารประชาสัมพันธ์ให้กับนักเรียน และคณะครูในโรงเรียน
๒) การเผยแพร่การดำเนินงานผ่านช่องทาง Youtube เข้าถึงได้
https://www.youtube.com/watch?v=bxjU7kKraCs
๓) เผยแพร่ผ่านทางกิจกรรมหน้าเสาธง
๑๑.๒ การได้รับการยอมรับ
๑) เขียนบทความวิจัยการศึกษาเกี่ยวกับการการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E การนำเสนอผลงานภาคบรรยายในการประชุมวิชาการระดับชาติ หาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓
๑๒. บรรณานุกรรม
กมลพร มิ่งสกุล. (๒๕๖๓). บทความการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ และทักษะ
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ
สืบเสาะหาความรู้ 5E. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน).
นครราชสีมา: บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
https://www.youtube.com/watch?v=bxjU7kKraCs