การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนด้วยกระ
เสริมพลังอำนาจครู โรงเรียนโตนดพิทยาคม
ผู้วิจัย นายธัญกิตติ์ ธนานวสวัสดิ์
ปีที่ทำการศึกษา ปีการศึกษา 2566
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์หากระบวนการที่ใช้ในการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนด้วยกระบวนการเสริมพลังอำนาจครู โรงเรียนโตนดพิทยาคม 2) สร้างเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนด้วยกระบวนการเสริมพลังอำนาจครู โรงเรียนโตนดพิทยาคม 3) ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนด้วยกระบวนการเสริมพลังอำนาจครู โรงเรียนโตนดพิทยาคมและ 4) ประเมินผลความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนด้วยกระบวนการเสริมพลังอำนาจครูโรงเรียนโตนดพิทยาคม โดยใช้วิธีการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีขั้นตอนและวิธีการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์การศึกษาแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับขอบข่ายการบริหารวิชาการและการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา ความต้องการและแนวทางในการพัฒนาคุณภาพของนักเรียน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนด้วยกระบวนการเสริมพลังอำนาจครู ขั้นตอนที่ 3 การนำรูปแบบไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง และขั้นตอนที่ 4 การประเมินการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนด้วยกระบวนการเสริมพลังอำนาจครู เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยรูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนด้วยกระบวนการเสริมพลังอำนาจครู โรงเรียนโตนดพิทยาคม แบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ แบบวัดความพึงพอใจ และแบบประเมินความสำเร็จ เรื่อง การบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนด้วยกระบวนการเสริมพลังอำนาจครู โรงเรียนโตนดพิทยาคม สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนด้วยกระบวนการเสริมพลังอำนาจครู โรงเรียนโตนดพิทยาคม ประกอบด้วยองค์ประกอบ 2 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบด้านการบริหารงานวิชาการ มีปัจจัย 5 ด้าน คือ (1) การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา (2) การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (3) การประเมินตามสภาพจริง (4) การวิจัยในชั้นเรียน (5) การนิเทศ ติดตามประเมินผล และองค์ประกอบด้านการเสริมพลังอำนาจครู มีปัจจัยสำคัญ 5 ด้าน คือ (1) ด้านการสร้างแรงจูงใจแก่ผู้ปฏิบัติงาน (2) ด้านการส่งเสริมและพัฒนาความร่วมมือในองค์กร (3) ด้านการสร้างบรรยากาศในการทำงาน (4) ด้านการสร้างภาวะผู้นำให้กับผู้ปฏิบัติ และ (5) ด้านการสร้างทีมงาน เมื่อมีการพัฒนาโดยกระบวนการตามรูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนด้วยกระบวนการเสริมพลังอำนาจครู โรงเรียนโตนดพิทยาคม พบว่า ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบไปใช้ในการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนด้วยกระบวนการเสริมพลังอำนาจครู โรงเรียนโตนดพิทยาคม อยู่ในระดับมาก
Title Developing an academic administration model to develop student quality through the process of empowering teachers. Tanod Pittayakhom School
Assessor Mr.Thanyakit Thanawasawat
Academic year 2023
Abstract
The purpose of this research is to 1) Analyze the process used in academic administration to develop student quality through the process of empowering teachers. Tanod Pittayakhom School 2) Created to develop an academic administration model to develop student quality through the process of empowering teachers. Tanod Pittayakhom School 3) Study the results of the trial of using the academic administration model to develop student quality through the process of empowering teachers. Tanod Pittayakhom School 4) Evaluate satisfaction with the use of the academic administration model to develop student quality through the process of empowering teachers at Tanod pitthayakhom School. Using the research and development method, there are 4 research steps and methods : Step 1 Analysis of the study of concepts. Theories related to the scope of academic administration and education, current conditions, problems, needs, and guidelines for developing student quality. Step 2 Developing an academic administration model to develop student quality through the process of empowering teachers. Step 3 Testing the model with a sample group. and step 4 evaluating the use of academic administration models to develop student quality through the process of empowering teachers. Research tools It consists of an academic administration model to develop student quality through the process of empowering teachers. Tanod Pittayakhom School. Expert interview form Satisfaction measure and success assessment form Subject Academic administration to develop student quality through the process of empowering teachers. Tondopitthayakhom School, the statistics used are frequency, percentage, mean ( ), standard deviation (S.D.), and t-value (t-test).
The research results found that Developing an academic administration model to develop student quality through the process of empowering teachers. Tono Pittayakhom School Consists of 2 components Got it Components of academic administration include 5 factors: (1) development of school curriculum (2) student-centered learning management (3) assessment based on actual conditions (4) classroom research (5 ) Supervision, monitoring, evaluation and elements of teacher empowerment There are 5 important factors: (1) motivating workers (2) promoting and developing cooperation in the organization (3) creating a working atmosphere (4) creating leadership for practitioners and (5) team building When developed by a process according to the academic administration model to develop student quality through the process of empowering teachers. Tanod pittayakhom School found that it was appropriate and possible to use the model in academic administration to develop student quality through the process of empowering teachers. Tanod Pittayakhom School at a high level.