แนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในโรงเรียนโตนดพิทยาคม
ชื่อผู้เขียน นายธัญกิตติ์ ธนานวสวัสดิ์
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในโรงเรียนโตนดพิทยาคม (2) พัฒนารูปแบบการนิเทศภายในโรงเรียนโตนดพิทยาคม ประชากรประกอบด้วย ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษาจำนวน 1 คน ครู และบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนโตนดพิทยาคม จำนวน 21 คน คณะกรรมการสถานศึกษา 9 คน คณะกรรมการที่ปรึกษา 19 คน รวม 50 คน คน ผู้เชี่ยวชาญทางการศึกษา จำนวน 5 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ การดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 หากรอบนิเทศภายในและศึกษาสภาพปัจจุบัน ศึกษาปัญหาของการนิเทศภายในโรงเรียนโตนดพิทยาคม ระยะที่ 2 สร้างรูปแบบนิเทศภายในโรงเรียนโตนดพิทยาคม ระยะที่ 3 นำเสนอรูปแบบดำเนินการประเมินรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 คน วิเคราะห์และสรุปผลการประเมินรูปแบบการนิเทศภายในโรงเรียนโตนดพิทยาคม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ
ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพปัจจุบันการนิเทศภายในโรงเรียนโตนดพิทยาคม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (µ = 4.09, = 0.27) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก และมีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือด้านการสร้างเสริมขวัญกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงานนิเทศ (µ = 4.29, = 0.38) รองลงมาคือ ด้านการประเมินผลการนิเทศ (µ = 4.23, = 0.36) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก แต่มีค่าน้อยที่สุด คือด้านให้ความรู้ก่อนดำเนินการนิเทศ (µ = 3.57, = 0.30) 2.รูปแบบการนิเทศภายในโรงเรียนโตนดพิทยาคม สรุปได้ว่า รูปแบบการนิเทศภายในของโรงเรียนโตนดพิทยาคม มี 2 องค์ประกอบหลัก และมี 9 องค์ประกอบย่อย รูปแบบมีความเป็นประโยชน์ มีความเป็นไปได้ มีความเหมาะสม และมีความถูกต้อง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.84, = 0.07) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีความถูกต้องอยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 5.00, = 0.00) รองลงมาคือ มีความเหมาะสม (µ = 4.90, = 0.22) และมีความเป็นไปได้ (µ = 4.80, = 0.29)
Title : The Guidelines to Developing the Internal Supervision of Tanod Pittayakom School
Author : Thanyakitt Thananavasawas
Abstract
The purposes of this research were (1) to study the present status and the guidelines to developing the internal supervision of Tanod Pittayakom School and (2) to develop the internal supervision of Tanod Pittayakom School. The population were 50 people such as a director, 21 teachers, 9 basic education commission, 19 advisory committee. There were 5 educational experts. They were selected by purposive sampling method. The instruments using in this research were the questionnaires and the interview form. The research had 3 phases as follows. The first phase was finding the framework of the internal supervision and studying the present status and the problems of the internal supervision of Tanod Pittayakom School. The second phase was creating the internal supervision model of Tanod Pittayakom School. The third phase was submitting the operating model and evaluating the model by the experts. The data were analyzed and summarized the evaluation of the internal supervision model of Tanod Pittayakom School by using the mean, standard deviation, and percentage.
The research found that:
1) The present status of the internal supervision of Tanod Pittayakom School in overall was at high level (µ = 4.09, = 0.27). After considering each aspects found that: the highest aspect, the building morale for practitioners was at the highest level (µ = 4.29, = 0.38). The next aspect, the supervision evaluation was at the next highest level (µ = 4.23, = 0.36). The lowest aspect, the providing knowledge before supervision was at the last high level (µ = 3.57, = 0.30).
2) The internal supervision model of Tanod Pittayakom School was summarized as: there were 2 main components and 9 sub-components. The model was useful, a possibility, appropriate and accuracy. The model in overall was at the highest level (µ = 4.84, = 0.07). After considering each aspects found that the model accuracy was at the first highest level (µ = 5.00, = 0.00). The next aspect, the appropriate model was at the highest level (µ = 4.90, = 0.22). The lowest aspect, the possibility model was at the highest level (µ = 4.80, = 0.29)