การพัฒนาการนิเทศภายในโดยใช้กระบวนการนิเทศแบบร่วมพัฒนา
ของโรงเรียนเทศบาลบ้านโนนทัน เทศบาลนครขอนแก่น
ผู้ทำการวิจัย นายวีระพงษ์ กองพรม วิทยฐานะรองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาลบ้านโนนทัน สำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
ปีที่ศึกษา 2565
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการนิเทศภายในโดยใช้กระบวนการนิเทศแบบร่วมพัฒนา ของโรงเรียนเทศบาลบ้านโนนทัน เทศบาล นครขอนแก่น 2) พัฒนาการนิเทศภายในโดยใช้กระบวนการนิเทศแบบร่วมพัฒนา ของโรงเรียนเทศบาลบ้านโนนทัน เทศบาลนครขอนแก่น การวิจัยแบ่ง ออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ได้แก่ การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การนิเทศภายใน โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบร่วมพัฒนา ของโรงเรียนเทศบาลบ้านโนนทัน เทศบาลนครขอนแก่น กลุ่มเป้าหมายได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ และครูโรงเรียนเทศบาลบ้านโนนทัน จำนวน 43 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง ระยะที่ 2 พัฒนาการนิเทศภายในโดยใช้กระบวนการนิเทศแบบร่วมพัฒนา ของโรงเรียนเทศบาลบ้านโนนทัน เทศบาลนครขอนแก่น ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้ทำหน้าที่นิเทศสถานศึกษาจำนวน 3 แห่งๆ ละ 2 คน รวม 6 คน และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์และแบบประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ของการนิเทศภายในโดยใช้กระบวนการนิเทศแบบร่วมพัฒนา สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา ปรากฏดังนี้
1. สภาพปัจจุบันการนิเทศภายในโดยใช้กระบวนการนิเทศแบบร่วมพัฒนา ของโรงเรียนเทศบาลบ้านโนนทัน เทศบาลนครขอนแก่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์การนิเทศภายในโดยใช้กระบวนการนิเทศแบบร่วมพัฒนา ของโรงเรียนเทศบาลบ้านโนนทัน เทศบาลนครขอนแก่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. การพัฒนาการนิเทศภายในโดยใช้กระบวนการนิเทศแบบร่วมพัฒนา ของโรงเรียนเทศบาลบ้านโนนทัน เทศบาลนครขอนแก่น ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) วิธีดำเนินการ ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ 3.1) ด้านการเตรียมการนิเทศ 3.2) ด้านวิธีและแนวปฏิบัติในการนิเทศ 3.3) ด้านเครื่องมือประกอบการนิเทศ 3.4) ด้านการดำเนินการนิเทศ 5) ด้านการสรุปและประเมินผลการนิเทศ 4) การประเมิน 5) เงื่อนไขความสำเร็จและผลการประเมิน ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษา โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด