การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้หลักภาษาไทยเชิงรุกที่ส่งเสริม
ประโยค โดยใช้สมองเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ชื่อผู้วิจัย : ธันวดี ผลอนุรักษ์วงศ์
ประเภทผลงาน : ผลงานวิจัย
ปีการศึกษา : 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้หลักภาษาไทยเชิงรุกที่ส่งเสริมการสร้างประโยค โดยใช้สมองเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้หลักภาษาไทยเชิงรุกที่ส่งเสริมการสร้างประโยคโดยใช้สมองเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อประเมินผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้หลักภาษาไทยเชิงรุกที่ส่งเสริมการสร้างประโยค โดยใช้สมองเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/8 ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียน 37 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้หลักภาษาไทยเชิงรุก ที่ส่งเสริมการสร้างประโยค โดยใช้สมองเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) แบบประเมินความเหมาะสมยืนยันรูปแบบการจัดการเรียนรู้หลักภาษาไทยเชิงรุก ที่ส่งเสริมการสร้างประโยค โดยใช้สมองเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ3) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้หลักภาษาไทยเชิงรุก ที่ส่งเสริมการสร้างประโยค โดยใช้สมองเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test
ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้หลักภาษาไทยเชิงรุกที่ส่งเสริมการสร้างประโยค โดยใช้สมองเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แบ่งกิจกรรมออกเป็น 6 ขั้นตอน คือ ขั้นทำความเข้าใจกับสถานการณ์จำลอง ขั้นการระดมสมอง ขั้นการสร้างองค์ความรู้ ขั้นการปฏิบัติกิจกรรม ขั้นการอภิปรายสรุปผลและประเมินผล และขั้นการประยุกต์ใช้ความรู้ ภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้หลักภาษาไทยเชิงรุกที่ส่งเสริมการสร้างประโยคโดยใช้สมองเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่าในภาพรวมมีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.39/80.81 และผลการเปรียบทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้หลักภาษาไทยเชิงรุก ที่ส่งเสริมการสร้างประโยค โดยใช้สมองเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด