การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก โดยใช้กระบวนการชุมชนการ
ทางวิชาชีพ (PLC) และการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา
ของโรงเรียนเทศบาล ๖ มิ่งเมือง
ชื่อผู้วิจัย นางวราภรณ์ มโนรัตน์ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา
วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
ปีที่วิจัย 2564 - 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ ใช้วิธีวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวทางในการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็กโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) และการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาของโรงเรียนเทศบาล ๖ มิ่งเมือง 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบรูปแบบการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็กโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) และการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาของโรงเรียนเทศบาล ๖ มิ่งเมือง 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็กโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) และการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาของโรงเรียนเทศบาล ๖ มิ่งเมือง และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็กโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) และการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาของโรงเรียนเทศบาล ๖ มิ่งเมือง วิธีดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาแนวทางในการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและตรวจสอบรูปแบบการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอน จำนวน 10 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 จำนวน 43 คน รวมจำนวน 53 คน ของโรงเรียนเทศบาล ๖ มิ่งเมือง ในปีการศึกษา 2565 ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และขั้นตอนที่ 4 การประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอน จำนวน 10 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 จำนวน 43 คน รวมจำนวน 60 คน ของโรงเรียนเทศบาล ๖ มิ่งเมือง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบประเมินรูปแบบการบริหาร และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาแนวทางในการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็กโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) และการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาของโรงเรียนเทศบาล ๖ มิ่งเมือง พบว่า การบริหารที่ผู้บริหารและครูเห็นความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา โดยมุ่งเน้นผลผลิตที่เกิดขึ้นกับนักเรียนเป็นสำคัญ บนพื้นฐานการส่วนร่วมของบุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ผู้บริหารมีความเป็นผู้นำ มีบทบาทในการนำกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพให้เกิดขึ้นในสถานศึกษา การพัฒนาวิชาชีพครู ส่งเสริมให้ครูในโรงเรียนมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง พัฒนาวิธีการสอนและนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่หลากหลาย มีกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สนองตอบตามศักยภาพผู้เรียน โดยมีการรวมกลุ่มกันทำงาน ร่วมกันคิดค้นการแก้ปัญหาการเรียนการสอนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสะท้อนผลการปฏิบัติงานทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา อันจะส่งผลต่อคุณภาพนักเรียน
2. ผลการสร้างและตรวจสอบรูปแบบการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) และการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา ของโรงเรียนเทศบาล ๖ มิ่งเมือง พบว่า ได้รูปแบบที่ชื่อว่า 3E & Q Model มี 5 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) วิธีดำเนินงานของรูปแบบ (3E & Q Model) ประกอบด้วย Envision (การมีวิสัยทัศน์ชัดเจน) Efficiency & Effectiveness (การทำงานที่มุ่งเน้นประสิทธิภาพและประสิทธิผล) Enjoy (การมีความสุขในงานที่ทำร่วมกัน) และ QUALITY (เป้าหมายคุณภาพโรงเรียน) 4) เงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ และ 5) แนวทางการประเมินรูปแบบ ผลการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า รูปแบบการบริหารมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในระดับมากที่สุด ( = 4.53, S.D. = 0.55)
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็กโดยใช้กระบวนการชุมชน การเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) และการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา ของโรงเรียนเทศบาล ๖ มิ่งเมือง พบว่า
3.1 คุณภาพนักเรียนโดยการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ระหว่างปีการศึกษา 2564-2565 พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ปีการศึกษา 2565 สูงกว่าปีการศึกษา 2564 จำนวน 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยมีคะแนนเพิ่มขึ้น 1.17 คิดเป็นร้อยละ 1.87 และนักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรสถานศึกษา ในระดับดี–ดีเยี่ยม ปีการศึกษา 2565 สูงกว่าปีการศึกษา 2564 เพิ่มขึ้นทั้ง 8 ประการ คิดเป็นร้อยละ 3.91
3.2 คุณภาพครู พบว่า ครูโรงเรียนเทศบาล ๖ มิ่งเมือง ได้รับรางวัล เกียรติบัตรหรือประกาศเกียรติคุณ ระดับจังหวัดขึ้นไป ในปีการศึกษา 2564-2565 จำนวน 9 รายการ เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด คือไม่น้อยกว่า 5 รายการ
4. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็กโดยใช้กระบวนการชุมชน การเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) และการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา ของโรงเรียนเทศบาล ๖ มิ่งเมือง พบว่า
4.1 บุคลากรครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครองนักเรียน มีความเห็นว่ารูปแบบการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็กโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) และการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาของโรงเรียนเทศบาล ๖ มิ่งเมือง มีความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความถูกต้องในระดับมากที่สุด ( = 4.52, S.D. = 0.52)
4.2 บุคลากรครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครองนักเรียน มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็กโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ ทางวิชาชีพ (PLC) และการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาของโรงเรียนเทศบาล ๖ มิ่งเมือง ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52, S.D. = 0.52)