การประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพนักเรียนสู่ความเป็นเลิศด้านหุ่นยนต์
โรงเรียนมัธยมบ้านแก้งวิทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ
ผู้วิจัย นายสยาม เครือผักปัง
สถานที่ทำงาน โรงเรียนมัธยมบ้านแก้งวิทยา อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ
ปีที่วิจัย 2565
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพนักเรียนสู่ความเป็นเลิศด้านหุ่นยนต์ โรงเรียนมัธยม
บ้านแก้งวิทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ โดยใช้CIPPIEST Model ตามแนวคิดการประเมิน
ของ Stufflebeam and Shinkfield โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพ
นักเรียนสู่ความเป็นเลิศด้านหุ่นยนต์ โรงเรียนมัธยมบ้านแก้งวิทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ
ในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต ด้านผลกระทบ ด้านประสิทธิผล
ด้านความยั่งยืน และด้านการถ่ายทอดส่งต่อ 2) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ
โครงการพัฒนาศักยภาพนักเรียนสู่ความเป็นเลิศด้านหุ่นยนต์ โรงเรียนมัธยมบ้านแก้งวิทยา องค์การ
บริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพนักเรียนสู่ความเป็นเลิศด้านหุ่นยนต์
โรงเรียนมัธยมบ้านแก้งวิทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ผู้บริหาร
ครูผู้เข้าร่วมโครงการ ผู้ปกครองนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 75 คน และ
นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 50 คน รวมทั้งสิ้น จ านวน 125 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น
แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและแบบสอบถาม แบบมาตรประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ
วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลและเสนอผล
การประเมินทั้งเชิงสถิติและเชิงพรรณนา
ผลการประเมินพบว่า
1. การประเมินผลโครงการพัฒนาศักยภาพนักเรียนสู่ความเป็นเลิศด้านหุ่นยนต์โรงเรียน
มัธยมบ้านแก้งวิทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิระดับการปฏิบัติโดยภาพรวมอยู่ในระดับ
มากที่สุด ( =4.54) และเมื่อพิจารณาในรายด้าน พบว่า ระดับการปฏิบัติที่มีค่าเฉลี่ยมากสุด คือ
ด้านประสิทธิผล ( =4.59) รองลงมา คือ ด้านปัจจัยน าเข้า ( =4.57) ด้านผลกระทบ ( =4.55)
ด้านผลผลิต ( =4.54) ด้านกระบวนการ ( =4.53) ด้านความยั่งยืน ( =4.52) ด้านบริบท
( = 4.51) และค่าเฉลี่ยน้อยสุด คือ ด้านการถ่ายทอดส่งต่อ ( =4.50)
2. ความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการพัฒนาศักยภาพนักเรียนสู่ความเป็นเลิศ
ด้านหุ่นยนต์ โรงเรียนมัธยมบ้านแก้งวิทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิระดับความพึงพอใจ
โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.56) และเมื่อพิจารณาในรายด้าน พบว่า ระดับความพึงพอใจ
ที่มีค่าเฉลี่ยมากสุด คือ ด้านประสิทธิผล ( =4.61) รองลงมา คือ ด้านปัจจัยน าเข้า ( =4.59)
ด้านผลผลิต ( =4.58) ด้านผลกระทบ ( =4.56) ด้านกระบวนการ ( =4.55) ด้านความยั่งยืน
( =4.55) ด้านบริบท ( = 4.54) และค่าเฉลี่ยน้อยสุด คือ ด้านการถ่ายทอดส่งต่อ ( =4.53)
3. แนวทางการพัฒนาศักยภาพนักเรียนสู่ความเป็นเลิศด้านหุ่นยนต์โรงเรียนมัธยม
บ้านแก้งวิทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ 1) โรงเรียนควรมีหลักสูตรการเรียนการสอน
ด้านหุ่นยนต์เฉพาะ 2) หน่วยงาน บุคลากรทุกฝ่ายเป็นเครือข่ายให้ความช่วยเหลือ สนับสนุนทั้งภายใน
และภายนอก 3) นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการต้องมีความรู้พื้นฐานทางคอมพิวเตอร์และมีใจชอบ
ด้านหุ่นยนต์ 4) การจัดการด้าน 4M อย่างมีประสิทธิภาพ (คน งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และวิธีการ
จัดการ) และ 5) การมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย