การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ของโรงเรียนมัธยมบ้านแก้งวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ
ผู้วิจัย นายสยาม เครือผักปัง
ปีการศึกษา 2564-2565
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและแนวทางในการบริหาร
สถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนมัธยมบ้านแก้งวิทยา สังกัดองค์การ
บริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ2) พัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงของโรงเรียนมัธยมบ้านแก้งวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ3) ทดลองใช้
รูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนมัธยมบ้านแก้ง
วิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิและ 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหาร
สถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนมัธยมบ้านแก้งวิทยา สังกัดองค์การ
บริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้บริหาร จำนวน 1 คน และครูผู้สอน
จำนวน 16 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive
Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยรูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนมัธยมบ้านแก้งวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ
แบบสอบถามความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนมัธยมบ้านแก้งวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ
สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. การศึกษาสภาพปัจจุบันการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ของโรงเรียนมัธยมบ้านแก้งวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิทุกด้านโดยรวม พบว่า
มีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง
2. ผลการสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงของโรงเรียนมัธยมบ้านแก้งวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิมีชื่อว่า “PSIAM
Model” โดยมีองค์ประกอบ ดังนี้1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ ประกอบด้วย 2.1) คุณภาพผู้เรียน
2.2) กระบวนการและจัดการ 2.3) กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
3) วิธีดำเนินการ 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย 3.1) การมีส่วนร่วม (Participate :P) 3.2) ก าหนดการ
(Schedule : S) 3.3) การด าเนินการ (Implement :I) 3.4) การประเมินผล (Assessment :A) และ
3.5) การปรับปรุงพัฒนา (Make better: M) และ 4) การประเมินผล นอกจากนั้น การประเมิน
ความสอดคล้องของรูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของ
โรงเรียนมัธยมบ้านแก้งวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิโดยภาพรวมอยู่ในระดับ
มาก
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ของโรงเรียนมัธยมบ้านแก้งวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิโดยรวมพบว่ามีการปฏิบัติ
อยู่ในระดับมาก
4. ผลการประเมินการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงของโรงเรียนมัธยมบ้านแก้งวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิพบว่า
4.1 ผลการประเมินประสิทธิภาพการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนมัธยมบ้านแก้งวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิโดยรวม
มีคุณภาพอยู่ในระดับ มาก
4.2 ผลการประเมินประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนมัธยมบ้านแก้งวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิพบว่า
ผลการประเมินตนเองการประกันคุณภาพภายในปีการศึกษา 2565 ของโรงเรียนมัธยมบ้านแก้งวิทยา
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ สรุปได้ดังนี้มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียนมีระดับคุณภาพ
ดีเลิศ มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการระดับคุณภาพยอดเยี่ยมและมาตรฐานที่ 3
กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นส าคัญระดับคุณภาพดีเลิศ
4.3 ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องต่อรูปแบบการบริหารสถานศึกษา
ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนมัธยมบ้านแก้งวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วน
จังหวัดชัยภูมิพบว่าระดับความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องต่อผลผลิต/ผลลัพธ์ของการบริหารสถานศึกษา
ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนมัธยมบ้านแก้งวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วน
จังหวัดชัยภูมิในภาพรวมมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด
คำสำคัญ: การพัฒนารูปแบบ, หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, การบริหารสถานศึกษ