การประเมินโครงการส่งเสริมกิจกรรมรักการอ่าน โรงเรียนเทศบาล ๔
อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ผู้รายงาน : ปาจารีย์ สระชิต
ปีการศึกษา : 2565
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการส่งเสริมกิจกรรมรักการอ่าน โรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านกำปงตาโก๊ะ) อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส มีวัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการ ดังนี้ 1. เพื่อประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) ของโครงการส่งเสริมกิจกรรมรักการอ่านโรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านกำปงตาโก๊ะ) อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส 2. เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการส่งเสริมกิจกรรมรักการอ่านโรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านกำปงตาโก๊ะ) อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส 3. เพื่อประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการส่งเสริมกิจกรรมรักการอ่านโรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านกำปงตาโก๊ะ) อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส และ 4. เพื่อประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการส่งเสริมกิจกรรมรักการอ่านโรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านกำปงตาโก๊ะ) อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน ครูผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 1 คน ครูผู้สอน จำนวน 15 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 173 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) และผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 120 คน ได้มาจากการกำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเคร็จซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan, 1970 : 608 ; อ้างถึงใน มาเรียม นิลพันธุ์, 2555 : 120) รวมจำนวนทั้งสิ้น 320 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม จำนวน 5 ชุด ได้แก่ แบบประเมินโครงการเพื่อการวิจัยชุดที่ 1 การประเมินด้านบริบท (Context Evaluation : C) แบบประเมินโครงการเพื่อการวิจัยชุดที่ 2 การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation : I) แบบประเมินโครงการเพื่อการวิจัยชุดที่ 3 การประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation : P) แบบประเมินโครงการเพื่อการวิจัยชุดที่ 4 (สำหรับครูผู้สอนและผู้ปกครอง นักเรียน) การประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation : P) และแบบประเมินโครงการเพื่อการวิจัย ชุดที่ 5 (สำหรับนักเรียน) การประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation : P) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ
ผลการประเมินโครงการพบว่า
การประเมินโครงการส่งเสริมกิจกรรมรักการอ่าน โรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านกำปงตาโก๊ะ) อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส ในภาพรวมมีความเห็นด้วยอยู่ในระดับมาก (x-bar= 4.38, S.D.= 0.55) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านบริบท (Context Evaluation : C) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (x-bar= 4.47, S.D.= 0.58) รองลงมา คือ ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation : I) (x-bar= 4.46, S.D.= 0.57) ด้านผลผลิต (Product Evaluation : P) (x-bar= 4.37, S.D.= 0.54) และด้านกระบวนการ (Process Evaluation : P) มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด (x-bar= 4.21, S.D.= 0.50) ตามลำดับ ซึ่งผลการประเมินแต่ละด้านมีรายละเอียด ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบท (Context Evaluation : C) พบว่า ผลการประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้ มีภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x-bar= 4.47, S.D.= 0.58)
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation : I) พบว่า ผลการประเมินความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความเพียงพอ มีภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x-bar= 4.46, S.D.= 0.57)
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation : P) พบว่า ผลการประเมินมีภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x-bar= 4.21, S.D.= 0.50)
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation : P) พบว่า ผลการประเมินสำหรับครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน มีภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x-bar= 4.37, S.D.= 0.54) และเมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็น พบว่า
4.1 การประเมินผลลัพธ์ (Output Evaluation) พบว่า ครูผู้สอนและผู้ปกครองนักเรียน มีผลการประเมินภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x-bar= 4.46, S.D.= 0.56) และนักเรียน มีผลการประเมินภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x-bar= 4.41, S.D.= 0.53) ตามลำดับ
4.2 การประเมินผลกระทบ (Impact Evaluation) พบว่า ครูผู้สอนและผู้ปกครองนักเรียน มีผลการประเมินภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x-bar= 4.07, S.D.= 0.56) และนักเรียน มีผลการประเมินภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x-bar= 4.08, S.D.= 0.49) ตามลำดับ