การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาพื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ
พัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนเทศบาล ๔
(บ้านกำปงตาโก๊ะ) อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ผู้วิจัย : ปาจารีย์ สระชิต
ปีการศึกษา : 2565
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาพื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านกำปงตาโก๊ะ) อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาพื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาพื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาพื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21 และ 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงรับรองรูปแบบการบริหารสถานศึกษาพื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21 การวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การวิจัย (Research : R1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาพื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21 เครื่องมือได้แก่ แบบสอบถามการวิจัย (ฉบับที่ 1) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (ฉบับที่ 2) และแบบวิเคราะห์ข้อมูลจากการสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group Discussion : FGD) (ฉบับที่ 3) ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 10 คน และครูผู้สอน จำนวน 15 คน รวม 25 คน ระยะที่ 2 การพัฒนา (Development : D1) การออกแบบและพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาพื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21 เครื่องมือได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสม ความเป็นไปได้และการใช้ประโยชน์ (ฉบับที่ 4) แบบประเมินความสอดคล้อง (ฉบับที่ 5) และแบบประเมินคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษา (ฉบับที่ 6) ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน ระยะที่ 3 การวิจัย (Research : R2) การทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาพื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21 เครื่องมือ ได้แก่ แบบประเมินคุณภาพงานของครูผู้สอน (ฉบับที่ 7) และแบบประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน (ฉบับที่ 8) กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอน จำนวน 15 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ถึงนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 115 คน และระยะที่ 4 การพัฒนา (Development : D2) การประเมินและปรับปรุงรับรองรูปแบบการบริหารสถานศึกษาพื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21 เครื่องมือได้แก่ แบบประเมินความพึงพอใจและการปรับปรุงแก้ไข (ฉบับที่ 9) ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน และครูผู้สอน จำนวน 15 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาพื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านกำปงตาโก๊ะ) อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส พบว่า สภาพปัญหาในการพัฒนาสถานศึกษาอยู่ในระดับมาก (x-bar= 4.47, S.D. = 0.64) และความต้องการพัฒนาสถานศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar = 4.56, S.D. = 0.50)
2. ผลการออกแบบและพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาพื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านกำปงตาโก๊ะ) อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส มีชื่อว่า “Five Finding Model” (ไฟว์ ฟายดิ้ง โมเดล : 5FM) ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการบริหารคุณภาพ มี 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 : การค้นหาความจริงจากเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้น (Fact Finding : F1) ขั้นที่ 2 : การค้นหาเป้าหมายที่แท้จริง (Goals Finding : F2) ขั้นที่ 3 : การค้นหาแนวทางการปฏิบัติ (Work Finding : F3) ขั้นที่ 4 : การค้นหาการบริหารจัดการคุณภาพ (Quality Finding : F4) ขั้นที่ 5 : การค้นหาความก้าวหน้าความสำเร็จ (Successful Finding : F5) 4) การวัดและประเมินผล และ 5) ปัจจัยที่เอื้อต่อการบริหารคุณภาพ โดยผลการสอบถามความคิดเห็น พบว่า 1) ความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar = 4.55, S.D. = 0.51) 2) ความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar= 4.52, S.D. = 0.51) และ 3) การใช้ประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar= 4.54, S.D. = 0.51) และผลการออกแบบและพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาพื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21 มีความสมเหตุสมผลและความเป็นไปได้ต่อการนำปฏิบัติได้จริง และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาพื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านกำปงตาโก๊ะ) อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส พบว่า หลังจากการนำรูปแบบการบริหารสถานศึกษา ที่มีชื่อว่า “Five Finding Model” (ไฟว์ ฟายดิ้ง โมเดล : 5FM) ไปทดลองใช้แล้ว การเตรียมความพร้อมและการจัดการเรียนการสอนมีความถูกต้อง/ความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar = 4.54, S.D. = 0.51) และครูผู้สอนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (x-bar= 4.50, S.D. = 0.68) และผลการประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน พบว่า นักเรียนปฏิบัติ/แสดงพฤติกรรมนั้นทุกครั้ง (x-bar= 2.52, S.D. = 0.50)
4. ผลการประเมินความพึงพอใจและการปรับปรุงแก้ไของค์ประกอบของรูปแบบการบริหารสถานศึกษาพื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านกำปงตาโก๊ะ) อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar= 4.54, S.D. = 0.51) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar= 4.52, S.D. = 0.51) และการนำไปใช้ได้จริงอยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar= 4.54, S.D. = 0.51) และมีข้อปรับปรุงเพียงเล็กน้อย