การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพตามแนวคิดจิตตปัญญา
ชื่อเรื่อง : การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูโรงเรียนหนองแสงวิทยา
ผู้วิจัย : นางสาวธัญพร เทพสิงห์ ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนหนองแสงวิทยา
ปีการศึกษา : 2565
การวิจัยการพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูโรงเรียนหนองแสงวิทยา การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) แบบผสมผสาน (Mixed-Methods) ของการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Approach) และเชิงคุณภาพ (Qualitative Approach) โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณเป็นการวิจัยหลัก มีวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อ (1) ศึกษาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 (2) สร้างรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูโรงเรียนหนองแสงวิทยา (3) ทดลองใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูโรงเรียนหนองแสงวิทยา (4) ประเมินรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูโรงเรียนหนองแสงวิทยา และ(5) ขยายผลการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูโรงเรียนหนองแสงวิทยา ซึ่งการวิจัยครั้งนี้มีการดำเนินการ 5 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครูวิชาการในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 จำนวน 165 โรงเรียน ขั้นตอนที่ 2 สร้างรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูโรงเรียนหนองแสงวิทยา กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีความรู้ ความสามารถด้านจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา และชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ จำนวน 10 คน โดยการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูโรงเรียนหนองแสงวิทยา กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครูของโรงเรียนหนองแสงวิทยา และโรงเรียนนาสีนวลอุดมเวศม์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 ขั้นตอนที่ 4 ประเมินรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูโรงเรียนหนองแสงวิทยา กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครูของโรงเรียนหนองแสงวิทยา และโรงเรียนนาสีนวลอุดมเวศม์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 และขั้นตอนที่ 5 ขยายผลการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูโรงเรียนหนองแสงวิทยา กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครูของโรงเรียนบ้านกุดท่าลือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) แบบบันทึกการประชุมสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา และสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
สรุปผลการวิจัย
การวิจัยการพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูโรงเรียนหนองแสงวิทยา ผู้วิจัยได้นำประเด็นที่ค้นพบจากการสรุปผล 5 ประเด็น ดังนี้
1. ผลการศึกษาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2
1.1 ผลการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและความต้องการการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 พบว่า สภาพปัจจุบันการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 ภาพรวม อยู่ในระดับมาก และความต้องการการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 ภาพรวม อยู่ในระดับมาก
1.2 ผลการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและความต้องการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 พบว่า สภาพปัจจุบันชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 ภาพรวม อยู่ในระดับมาก และความต้องการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 ภาพรวม อยู่ในระดับมาก
2. ผลการสร้างการพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูโรงเรียนหนองแสงวิทยา
2.1 ผลการสร้างรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูโรงเรียนหนองแสงวิทยา ได้แก่ หลักการของรูปแบบ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ เนื้อหาของรูปแบบ วิธีดำเนินงานของรูปแบบ และการวัดและประเมินผล ผลการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการตรวจสอบความเหมาะของรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูโรงเรียนหนองแสงวิทยา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ความเหมาะสม (Suitability) ภาพรวมอยู่ในระดับมาก
2.2 ผลการสร้างคู่มือการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูโรงเรียนหนองแสงวิทยา ผลการสร้างคู่มือการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูโรงเรียนหนองแสงวิทยา ได้แก่ บทนำ หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ กรอบเนื้อหา การประเมินผล และการนำไปใช้ ผลการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการตรวจสอบความเหมาะของคู่มือการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูโรงเรียนหนองแสงวิทยาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ความเหมาะสม (Suitability) ภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อจำแนกรายข้อลำดับสูงสุด ได้แก่ บทนำ หลักการและเหตุผล และวัตถุประสงค์ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ กรอบเนื้อหา อยู่ในระดับมาก และต่ำสุดได้แก่ การประเมินผล และการนำไปใช้ อยู่ในระดับมาก
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูโรงเรียนหนองแสงวิทยา
3.1 ผลการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูโรงเรียนหนองแสงวิทยา พบว่า ก่อนใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูโรงเรียนหนองแสงวิทยา ภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง และหลังใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูโรงเรียนหนองแสงวิทยา ภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด
3.2 ผลการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูโรงเรียนหนองแสงวิทยาพบว่า ก่อนใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูโรงเรียนหนองแสงวิทยา ภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง และหลังใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูโรงเรียนหนองแสงวิทยา ภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูโรงเรียนหนองแสงวิทยา
4.1 ผู้วิจัยสังเกตพฤติกรรมครูของโรงเรียนหนองแสงวิทยา และโรงเรียนนาสีนวลอุดมเวศม์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 ที่ใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูโรงเรียนหนองแสงวิทยาและจดบันทึกไว้ พบว่า ครูมีความสนใจ และกระตือรือร้นที่จะศึกษาและจัดกิจกรรมคู่มือการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูโรงเรียนหนองแสงวิทยา ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนนักเรียนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในกลุ่ม และระหว่างกลุ่ม และครูยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล ความเชื่อที่ว่าการเรียนรู้ที่แท้จริงเกิดขึ้นภายในผู้เรียน
4.2 ผู้วิจัยสัมภาษณ์ครูของโรงเรียนหนองแสงวิทยา และโรงเรียนนาสีนวลอุดมเวศม์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 ที่ใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูโรงเรียนหนองแสงวิทยา สรุปผลการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูโรงเรียนหนองแสงวิทยา พบว่า ครูมีความรู้ ความเข้าใจก่อนประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับจิตตปัญญาศึกษานั้นมีค่อนข้างเล็กน้อย โดยหลังจากเข้ารับการประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับจิตตปัญญาศึกษาแล้วนั้น ได้รับความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับจิตตปัญญาศึกษาเพิ่มมากขึ้น และการเปลี่ยนแปลงภายในที่ได้จากกิจกรรมตามแนวทางจิตตปัญญาศึกษา พบว่า กิจกรรมตามแนวทางขึ้นกับแต่ละบุคคล ส่วนใหญ่พบว่า มีการคิดใคร่ครวญมากขึ้น
4.3 ครูของโรงเรียนหนองแสงวิทยา และโรงเรียนนาสีนวลอุดมเวศม์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 ผลการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการประเมินเชิงยืนยันรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูโรงเรียนหนองแสงวิทยา พบว่า ความเป็นประโยชน์ (Profitability) ภาพรวมอยู่ในระดับมาก และผลการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการประเมินเชิงยืนยันคู่มือการใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูโรงเรียนหนองแสงวิทยา พบว่า ความเป็นประโยชน์ (Profitability) ภาพรวม อยู่ในระดับมาก
5. ผลการขยายผลการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูโรงเรียนหนองแสงวิทยา
ผลการสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูโรงเรียนหนองแสงวิทยาพบว่า ภาพรวม อยู่ในระดับมาก