LASTEST NEWS

03 ก.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศตำแหน่งว่างรับย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 03 ก.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศตำแหน่งว่างรับย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 02 ก.ค. 2567ด่วน! สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 182 อัตรา - รายงานตัว 5 ก.ค.2567 02 ก.ค. 2567สพป.หนองคาย เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 23 อัตรา - รายงานตัว 15 กรกฎาคม 2567 02 ก.ค. 2567โรงเรียนวัดสมุทรธาราม รับสมัครครูอัตราจ้าง ทุกสาขาวิชาเอก เงินเดือน 6,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 2 - 8 กรกฎาคม 2567 02 ก.ค. 2567สพป.อุดรธานี เขต 2 เรียกบรรจุพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน 9 อัตรา - รายงานตัว 8 ก.ค.2567 02 ก.ค. 2567สพม.ตาก เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 8 อัตรา - รายงานตัว 10 ก.ค.2567 02 ก.ค. 2567โรงเรียนวาปีปทุม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกศิลปะ เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 3-7 กรกฎาคม 2567 02 ก.ค. 2567สพฐ.เปิดแนวทางการหักเงิน 7 ขั้น แก้ปัญหาหนี้ครูและบุคลากร 02 ก.ค. 2567ข่าวดี!!! สำหรับน้อง ๆ ม.ปลาย ทั่วประเทศ กรมประชาสัมพันธ์ ขยายเวลา รับสมัครเข้าร่วมประกวดสื่อสร้างสรรค์ ชิงเงินรางวัลรวมกว่า 200,000 บาท 

การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการ

usericon

หัวข้อการวิจัย    การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการ เพื่อส่งเสริมความสามารถ
ในการคิดแก้ปัญหา สำหรับเด็กปฐมวัย
ปีการศึกษา        2565
ชื่อผู้วิจัย        นางสาวนิยะฉัตร เอมะสุวรรณ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนพนมมาศพิทยากร อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์

บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับเด็กปฐมวัย โดยดำเนินการวิจัย ใน 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการ สำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับเด็กปฐมวัย โดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสนทนากลุ่ม ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย และครูผู้สอนปฐมวัย จำนวน 10 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) 2) ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบและพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับเด็กปฐมวัย ดำเนินการออกแบบและพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการ แล้วตรวจสอบความถูกต้องครอบคลุมของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการศึกษาปฐมวัย จำนวน 5 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยใช้แบบประเมินความถูกต้องครอบคลุมของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการ จากนั้นจึงนำรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการ ไปทดลองใช้เพื่อหาประสิทธิภาพแบบเดี่ยว แบบกลุ่มเล็ก และแบบภาคสนาม 3) ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับเด็กปฐมวัย โดยนำรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการ ไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างคือ เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนพนมมาศพิทยากร อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 18 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จากนั้นจึงศึกษาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและศึกษาความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการ ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการ โดยใช้แบบประเมินความสามารถในการคิดแก้ปัญหา และแบบสอบถามความพึงพอใจ และ 4) ขั้นตอนที่ 4 การยืนยัน ขยายผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับเด็กปฐมวัย โดยนำรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการ ไปขยายผล กับกลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กปฐมวัยและครูปฐมวัย โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 5 โรงเรียน รวมจำนวนทั้งสิ้น ครู 5 คน เด็กปฐมวัย 87 คน โดยเป็นการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) จากนั้นทำการประเมินคุณภาพของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการ ในด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้ และด้านการนำไปใช้ประโยชน์ โดยครูผู้สอนปฐมวัย กลุ่มการยืนยันขยายผล โดยใช้แบบประเมินคุณภาพของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการ และดำเนินการศึกษาประเด็นปรับปรุงรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการ โดยการสัมภาษณ์ครูผู้สอนปฐมวัย กลุ่มการยืนยัน แล้วจึงปรับปรุงรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับเด็กปฐมวัย ให้มีความสมบูรณ์
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการ สำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับเด็กปฐมวัย 1) สภาพปัจจุบัน ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา 1.1) ด้านหลักสูตร คือ ครูผู้สอนปฐมวัยมีการวิเคราะห์หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2560 เพื่อนำมาจัดทำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 1.2) ด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ คือ ครูผู้สอนปฐมวัยมีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เด็กปฐมวัยได้ลงมือปฏิบัติจริง ผ่านการใช้คําถามหรือสถานการณ์ปัญหาในการดำเนินกิจกรรม 1.3) ด้านการวัดและประเมินผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ คือ ครูผู้สอนปฐมวัยมีการวัดและประเมินผลพัฒนาการเด็กปฐมวัยมีวิธีการต่าง ๆ อย่างหลากหลาย 1.4) ด้านความสามารถในการคิดแก้ปัญหา คือ การค้นพบวิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะกับสถานการณ์และตนเอง เป็นพื้นฐานที่สำคัญของการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย 2) สภาพปัญหาในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา 2.1) ด้านหลักสูตร คือ ครูขาดความเข้าใจในการคัดเลือกสาระการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 2.2) ด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ คือ ครูขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกลยุทธ์ในการพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหา 2.3) ด้านการวัดและประเมินผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ คือ ครูขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการออกแบบเครื่องมือในการประเมินความสามารถในการคิดแก้ปัญหา 2.4) ด้านความสามารถในการคิดแก้ปัญหา คือ เด็กไม่เข้าใจกระบวนการทำความเข้าใจกับปัญหา และขาดทักษะการคิดแก้ปัญหา 3) ผลการศึกษาความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการ 3.1) ด้านหลักการของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ คือ เด็กปฐมวัยทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ 3.2) ด้านวัตถุประสงค์ของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ คือ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย 3.3) ด้านสาระการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ คือ ควรเป็นเนื้อหาในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 มาตรฐานที่ 10 มีความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ 3.4) ด้านกิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ คือ เด็กได้เรียนรู้และแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ด้วยตนเอง ภายใต้ความท้าทายอย่างเป็นระบบ 3.5) ด้านสื่อและแหล่งการเรียนรู้ คือ ควรจัดกิจกรรม สื่อ วัสดุอุปกรณ์ สภาพแวดล้อมทั้งในและนอกห้องเรียน 3.6) ด้านการวัดและประเมินผล คือ การวัดประเมินผลตามสภาพจริงอย่างหลากหลาย 3.7) ด้านความสามารถในการคิดแก้ปัญหาสำหรับเด็กปฐมวัย คือ การทำความเข้าใจกับปัญหา และการคิดหาเหตุผล เพื่อแสวงหาทางเลือกมาปฏิบัติในการแก้ปัญหาด้วยวิธีการใหม่ที่ต่างจากสิ่งที่มีอยู่เดิม หลากหลายมากกว่าหนึ่งวิธีคิดหรือหนึ่งแนวคิด และทำการประเมินข้อค้นพบสำหรับการแก้ปัญหา สามารถแก้ปัญหาได้สำเร็จ
2. รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับเด็กปฐมวัย มี 6 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 หลักการ องค์ประกอบที่ 2 วัตถุประสงค์ องค์ประกอบที่ 3 สาระการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ องค์ประกอบที่ 4 กิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ องค์ประกอบที่ 5 สื่อและแหล่งการเรียนรู้ และองค์ประกอบที่ 6 การวัดและประเมินผล โดยมีขั้นตอนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ตระหนักรู้ สู่ปัญหา (Problem Finding : P) หมายถึง การสังเกต สำรวจ รับรู้ ขั้นที่ 2 สำรวจ สืบค้น ข้อมูล เพื่อค้นหาความคิด (Idea Finding : I) ขั้นที่ 3 ลงมือปฏิบัติ (Action Finding : A) ขั้นที่ 4 สร้างความคิดรวบยอดเพื่อสรุปความเข้าใจ (Concept Finding : C) และขั้นที่ 5 ประเมินผลการปฏิบัติ (Assessment Finding : A) และรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการ มีระดับความถูกต้องครอบคลุม (Accuracy) ในภาพรวมอยู่ในระดับถูกต้องครอบคลุมมากที่สุด
3. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหา อยู่ในระดับดี และมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการ อยู่ในระดับมาก
4. ผลการยืนยันการขยายผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการ 1) เด็กปฐมวัยกลุ่มการยืนยันขยายผล มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหา อยู่ในระดับดี และมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการ อยู่ในระดับมาก 2) คุณภาพของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการ จากการสอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอนเด็กปฐมวัยกลุ่มการยืนยันขยายผล ในด้านความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และการนำไปใช้ประโยชน์ อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด 3) ประเด็นการปรับปรุงรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการ ฉบับสมบูรณ์ 3.1) จุดเด่นของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการ คือ ทำให้เด็กมีความคิดที่หลากหลายในการแก้ปัญหา มีสมาธิและมีการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน และสามารถพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาที่สามารถใช้ได้ในชีวิตประจำวันอย่างสร้างสรรค์ที่เด็กสามารถปฏิบัติได้ด้วยตนเอง 3.2) ข้อจำกัดของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการ คือ ควรมีการขยายการทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดผลในระยะยาว และในการทำกิจกรรมต้องอาศัยความระมัดระวัง การดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษจากครูผู้สอน 3.3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางหรือวิธีการที่ทำให้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการ บรรลุวัตถุประสงค์ 3.3.1) ด้านครูผู้สอน คือ ครูต้องศึกษาขั้นตอนของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ 3.3.2) ด้านเทคนิคการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ คือ ครูผู้สอนต้องมีความสร้างสรรค์ สามารถใช้เทคนิคการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้เชื่อมโยงการแก้ปัญหา 3.3.3) ด้านการประเมินผล คือ ครูต้องติดตามสังเกตและจดบันทึกพฤติกรรมเด็กอย่างละเอียดและรอบด้าน
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^