LASTEST NEWS

22 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านผารางวังหม้อ(มิตรประชา) รับสมัครครูผู้สอน วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน) 22 พ.ย. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 6 อัตรา - รายงานตัว 25 พฤศจิกายน 2567 22 พ.ย. 2567สพป.อุดรธานี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 9 ธันวาคม 2567 22 พ.ย. 2567สพป.พังงา เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 6 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 28 พฤศจิกายน 2567 22 พ.ย. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 55 อัตรา - รายงานตัว 9 ธันวาคม 2567 22 พ.ย. 2567โรงเรียนสารวิทยา ประกาศปิดเรียนกรณีพิเศษ ช่วงเทศกาลปีใหม่ มีผลหยุดยาว 9 วัน ตั้งแต่ 28 ธ.ค.67 - 5 ม.ค.68 21 พ.ย. 2567​​​​​​​กองบัญชาการกองทัพไทย รับสมัครพนักงานราชการ 131 อัตรา สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 8 ธันวาคม 2567 21 พ.ย. 2567​​​​​​​กรมชลประทาน เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชกการ 58 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ตตั้งแต่บัดนี้ - 4 ธันวาคม 2567 ตลอด 24 ชั่วโมงไม่เว้นวันหยุดราชการ 20 พ.ย. 2567สพป.สงขลา เขต 3 รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน 11 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 26 พ.ย. - 2 ธ.ค.2567 20 พ.ย. 2567สพม.เพชรบูรณ์ เรียกบรรจุครูผู้ช่วย ขอใช้บัญชี สพม.นครสวรรค์ และสพม.พิษณุโลก อุตรดิตถ์ รวม 3 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย.2567

พัฒนาทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานบูรณาการกับการเรียนสืบเสาะความรู

usericon

นวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)

ชื่อผลงาน พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน บูรณาการกับการเรียนแบบสืบเสาะ
ความรู้ 5 ขั้น เรื่องหินและซากดึกดำบรรพ์ รายวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ชื่อผู้เสนอผลงาน โกวิท บุญฤทธิ์
โรงเรียนวัดสมัยคงคา
สังกัด สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1
โทรศัพท์
e-mail : kovit.1996b@gmailcom

1. ความสำคัญของผลงานหรือนวัตกรรมที่นําเสนอ
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องฝึกฝนให้เกิดขึ้นกับทุกคนเพราะไม่เพียงแต่จะ เป็นแนวทางในการค้นคว้าหาความรู้ หรือหาคำตอบสำหรับปัญหาต่าง ๆ เท่านั้น แต่ยังเป็นประโยชน์และ เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราอย่างใกล้ชิด ดังนั้นครูผู้สอนควรจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักเรียนทุกคนได้ ฝึกฝนจนเกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้ได้ เพื่อเขาเหล่านั้นจะได้เป็นคนช่างสังเกต รู้จักคิดอย่างมี เหตุผล รู้จักแก้ปัญหาต่าง ๆ อย่างมีระบบและรู้จักค้นคว้าหาความรู้ได้ด้วยตนเอง ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้เขา เหล่านั้นเป็นคนคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาได้ เพื่อดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีคุณค่าต่อตนเองและมีความสุข ทักษะกระบวนการพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ควรได้รับการฝึกฝนอย่างจริงจัง สำหรับนักเรียนระดับชั้น
ประถมศึกษา รวม 8 ทักษะ ตามแนวทางของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประกอบด้วย ทักษะการสังเกต ทักษะการวัด ทักษะการจําแนกประเภท ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา ทักษะการคํานวณ ทักษะการจัดกระทําและสื่อความหมายข้อมูล ทักษะการลงความคิดเห็น จากข้อมูล และทักษะการพยากรณ์ ทักษะทั้ง 8 ทักษะ เป็นทักษะพื้นฐานที่สําคัญสําหรับทุก ๆ คน ในการที่ จะดํารงชีวิตได้อย่างมีคุณค่าต่อตนเองและสังคม ตลอดจนเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้คิดเป็น ทําเป็น แก้ปัญหาเป็น และรู้จักค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองอีกด้วย
    ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ทาง วิทยาศาสตร์ เพราะความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ได้จากการศึกษาในแต่ละครั้งจะมีความน่าเชื่อถือหรือไม่นอกเหนือจากการที่ผู้ศึกษาหาความรู้ดังกล่าวจะใช้วิธีการที่น่าเชื่อถือแล้ว ตัวผู้ศึกษาหาความรู้เองจะต้องมี ทักษะหรือมีความสามารถในการที่จะให้การดําเนินการศึกษาหาความรู้ในครั้งนั้นมีความราบรื่น ข้อมูลที่ได้ใน
แต่ละขั้นตอนมีความน่าเชื่อถือ และเนื่องจากเราถือว่ามนุษย์มีความแตกต่างในความถนัดและความสามารถที่ ติดตัวมาแต่กําเนิด แต่ไม่ได้หมายความว่าความแตกต่างดังกล่าวจะไม่สามารถปรับปรุงหรือพัฒนาได้ จาก การศึกษาในปัจจุบันเราพบว่า ความสามารถหรือทักษะต่าง ๆ เราสามารถฝึกฝนและพัฒนาเพื่อให้เกิดความ ชํานาญได้ ดังนั้นการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความชํานาญ สามารถ เลือกใช้ทักษะต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสมในการแก้ปัญหาแต่ละด้านก็สามารถกระทําได้เช่นเดียวกัน
    จากเหตุผล ดังกล่าวข้างต้น ทําให้ผู้เสนอผลงานเห็นว่า สิ่งสําคัญในการสอนวิทยาศาสตร์นอกจากความรู้ในเนื้อหาแล้ว ยังต้องฝึกในส่วนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และเสริมสร้างเจตคติทางวิทยาศาสตร์แก่นักเรียนเป็นสําคัญอีกด้านหนึ่ง ดังนั้นการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน บูรณาการร่วมกับการเรียนแบบสืบเสาะความรู้ ๕ ขั้น รายวิชาวิทยาศาสตร์จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การเสริมสร้างเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ และทําให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้น

2.จุดประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
    จุดประสงค์
-เพื่อจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้ฝึกทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน
     -เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน
     -เพื่อให้นักเรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถนำเสนอผลงานเอกสารรายงาน
เป้าหมาย
     นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดสมัยคงคา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 22 คน

3.กระบวนการผลิตผลงานหรือขั้นตอนการดำเนินงาน
3.1 วิเคราะห์สภาพปัญหาจากการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
3.2 ศึกษาหลักสูตรกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ การจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
3.3 ศึกษา ค้นคว้า กิจกรรมวิทยาศาสตร์ในรูปแบบต่างๆ
3.4 ออกแบบกิจกรรมพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน บูรณาการกับ
การเรียนแบบสืบเสาะความรู้ 5 ขั้น เรื่องหินและซากดึกดำบรรพ์ รายวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
3.5 สร้างชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน บูรณาการกับ
การเรียนแบบสืบเสาะความรู้ 5 ขั้น
3.6 นําชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน บูรณาการกับ การเรียนแบบสืบเสาะความรู้ 5 ขั้น ไปทดลองใช้กับนักเรียน ให้ครบทุกกิจกรรม เพื่อปรับปรุง แก้ไข กิจกรรมให้ดียิ่งขึ้น โดยในชุดกิจกรรมที่ปรับปรุงแก้ไขและได้ทดลองใช้ จะประกอบด้วย 6 กิจกรรม คือ
3.6.1 กิจกรรมที่ 1 กระบวนการเกิดหิน,กิจกรรมที่ 2 สังเกตหิน (ทักษะการสังเกต, (ทักษะการจัดทำและสื่อความหมายข้อมูล,ทักษะการตีความหมายและลงความเห็นข้อมูล)
3.6.2 กิจกรรมที่ 2 สังเกตหิน (ทักษะการจำแนกประเภท)
3.6.3 กิจกรรมที่ 3 หินในท้องถิ่น (ทักษะการสังเกต,ทักษะการวัด,ทักษะการลงความเห็นข้อมูล)
3.6.4 กิจกรรมที่ 4 ประโยชน์ของหิน (ทักษะการสังเกต, ทักษะการลงความเห็นข้อมูล)
3.6.5 กิจกรรมที่ 5 แบบจำลองการเกิดซากดึกดำบรรพ์ (ทักษะการสังเกต)
3.6.6 กิจกรรมที่ 5 แบบจำลองการเกิดซากดึกดำบรรพ์ (ทักษะการวัด,ทักษะการคำนวณ)
3.6.7 กิจกรรมที่ 5 แบบจำลองการเกิดซากดึกดำบรรพ์ ,กิจกรรมที่ 6 ถ้วยปั้นแบบจำลองซากดึกดำบรรพ์(ทักษะการพยากรณ์,ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา)

3.7 ระยะเวลาการดำเนินงาน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566

แผนผังกระบวนการดำเนินการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน บูรณาการกับการเรียนแบบสืบเสาะความรู้ 5 ขั้น เรื่องหินและซากดึกดำบรรพ์ รายวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Plan = P
1. กําหนดเป้าหมาย การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยเมื่อนักเรียนทํากิจกรรมครบ 7 กิจกรรมหลัก นักเรียนจะมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้น ผ่านเกณฑ์ที่กําหนด ร้อยละ 75 นักเรียนมีความสุข สนุก เกิดเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ สามารถทํากิจกรรมทั้งแบบเดี่ยวและแบบกลุ่ม อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
2. วางแผนการทํางาน โดยการวิเคราะห์สภาพปัญหาจากการจัดการเรียนรู้ ผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนของนักเรียน ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน หลักสูตรสถานศึกษา แนวทางการจัด กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ลักษณะกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ออกแบบกิจกรรมร่วมกับนักเรียน ให้ครบจำนวนชั่วโมง 7 ชั่วโมง มีการสร้างชุดข้อสอบเพื่อวัดและประเมินนักเรียน
ก่อน-หลัง การทำกิจกรรม
3. จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ ที่จะต้องใช้ในแต่ละกิจกรรม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวัสดุหาง่าย ลงทุนน้อยและประหยัด
Do = D
ลงมือปฏิบัติตามแผนโดยพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน บูรณาการกับการเรียนแบบสืบเสาะความรู้ 5 ขั้น เรื่องหินและซากดึกดำบรรพ์ รายวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Check = C
ตรวจสอบผลงาน สังเกตและวัดประเมินผลนักเรียน นําข้อบกพร่อง ข้อเสนอแนะ จากการทดลองใช้ไปปรับปรุงชุดกิจกรรมให้มีความเหมาะสม สอดคล้อง มากขึ้น
Action =A
ปรับปรุงชุดกิจกรรมให้ดีขึ้น โดยการเพิ่มกิจกรรมการทดลองให้มากขึ้น เพราะกิจกรรมที่จัดขึ้นสามารถฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้หลายทักษะใน 1 กิจกรรม

4.ผลการดำเนินงาน
     4.1 นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน บูรณาการกับการเรียนแบบสืบเสาะความรู้ 5 ขั้น เรื่องหินและซากดึกดำบรรพ์ รายวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ร้อยละ 83.63 จากการใช้แบบประเมินวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน
4.2 นักเรียนได้รับการพัฒนาทักษะทางกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ซึ่งได้แก่
1) การสังเกต
2) การวัด
3) การคํานวณ
4) การจําแนกประเภท
5) การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา
6) การจัดกระทําและสื่อความหมายข้อมูล
7) การลงความเห็นจากข้อมูล
8) การพยากรณ์
4.3 นักเรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถนําเสนอผลงาน เอกสารรายงาน

5. ปัจจัยความสําเร็จ
5.1 นักเรียนให้ความสนใจ ชื่นชอบและสนุกกับกิจกรรม
5.2 ครูมีความตั้งใจ มุ่งมั่นที่จะพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้กับนักเรียน ในการสนับสนุนนักเรียนทํากิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน
5.3 ผู้ปกครองให้ความร่วมมือสนับสนุนส่งเสริมการทำกิจกรรมของนักเรียน
5.4 ผู้บริหาร เพื่อนครู ให้การสนับสนุนและส่งเสริมให้กําลังใจเป็นอย่างดี

6. บทเรียนที่ได้รับ
ในการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน บูรณาการกับการเรียนแบบสืบเสาะ ความรู้ 5 ขั้น รายวิชาวิทยาศาสตร์ ควรเป็นกิจกรรมที่ฝึกทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ จากลำดับขั้นต้น คือ การสังเกต แล้วค่อยๆ ฝึกทักษะไปจนกระทั่งเกิดทักษะทางวิทยาศาสตร์ ขั้นสูง กิจกรรมต้องเป็นกิจกรรมที่สนุก และควรมีกิจกรรมการทดลองมากกว่า กิจกรรมอื่นๆ เพราะ จะกระตุ้นความสนใจของนักเรียนเป็นอย่างดี นอกจากนี้ กิจกรรมที่นํามาใช้จัดควรเป็นกิจกรรมที่สามารถหา อุปกรณ์ได้ง่าย และเมื่อนักเรียนอยู่บ้าน นักเรียนก็สามารถนํากิจกรรมไปเล่นขณะอยู่บ้านได้ สามารถนําไปใช้จริงในชีวิตประจำวันของนักเรียน

7. การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ/รางวัลที่ได้
7.1 เผยแพร่ผลงานเข้าสู่เว็บไซต์ ของโรงเรียน
7.2 เผยแพร่ทางเครือข่ายสังคมออนไลน์
7.3 นำไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาช่วงชั้นอื่นๆ
7.4 ผลงานของนักเรียนได้นำมาเผยแพร่ในงานตลาดนัดวิชาการของโรงเรียนโดยมีผู้ปกครองชุมชนเข้ามาร่วมดูงาน
7.5 นักเรียนได้รับรางวัล การแข่งขันงานศิลปะหัตกรรมนักเรียน ดังนี้
    - เหรียญเงิน การแข่งขันเครื่องร่อนปล่อยมือ ประเภทร่อนนาน ป.4-ป.6
    -เหรียญเงิน การแข่งขันการใช้โปรแกรมนำเสนอ ป.4-6


ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^