รายงานการประเมินโครงการประกันคุณภาพการศึกษา
วัดทินกรนิมิต
ผู้ประเมิน นางสาวสำลี บำเหน็จ
ปีการศึกษา 2566
การประเมินโครงการประกันคุณภาพการศึกษา โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินซิปป์ (CIPP- Model) โรงเรียนนครนนท์วิทยา 2 วัดทินกรนิมิต ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์
1. เพื่อประเมินโครงการประกันคุณภาพการศึกษา โรงเรียนนครนนท์วิทยา 2 วัดทินกรนิมิต ในภาพรวมและจำแนกรายด้าน 4 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านบริบท (Context) (2) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) (3) ด้านกระบวนการ (Process) และ (4) ด้านผลผลิต (Output)
2. เพื่อประเมินระดับความคิดเห็นที่มีต่อคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนนครนนท์วิทยา 2 วัดทินกรนิมิต ในภาพรวมและจำแนกรายด้าน 3 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านคุณภาพของผู้เรียน (2) ด้านกระบวนการบริหาร และการจัดการ (3) ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร จำนวน 4 คน ครูผู้สอน จำนวน 34 คน โดยใช้ประชากรเป็นกลุ่มตัวอย่าง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน เป็นการเลือกแบบเจาะจง นักเรียน จำนวน 217 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 217 คน ใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) ขั้นที่ 1 – 2 เป็นการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ขั้นที่ 3 เป็นการสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling) รวม 485 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ชนิด 5 ระดับตามวิธีของ Likert Scale ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับความคิดเห็นที่มีต่อโครงการประกันคุณภาพการศึกษา โรงเรียนนครนนท์วิทยา 2 วัดทินกรนิมิต โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินซิปป์ (CIPP Model) มีแบบสอบถาม 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 เป็นแบบสอบถามของ ผู้บริหาร ครู คณะกรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่เป็นแบบประเมินโครงการประกันคุณภาพการศึกษา โรงเรียนนครนนท์วิทยา 2 วัดทินกรนิมิต โดยที่มีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถามทั้งฉบับโดยใช้สัมประสิทธ์แอลฟา (Alpha Coefficient) ของครอนบาค (Cronbach) เท่ากับ .89 และ ฉบับที่ 2 เป็นแบบสอบถามครู นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน ที่มีความคิดเห็นต่อการดำเนินโครงการประกันคุณภาพการศึกษา โรงเรียนนครนนท์วิทยา 2 วัดทินกรนิมิต
โดยที่มีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถามทั้งฉบับโดยใช้สัมประสิทธ์แอลฟา (Alpha Coefficient) ของครอนบาค (Cronbach) เท่ากับ .81 มีค่าดัชนีความสอดคล้องของแบบสอบถาม (IOC) 0.8- 1.0 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ (frequency) ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (