รูปแบบการบริหารแหล่งเรียนรู้
ผู้วิจัย นายยุทธศิลป์ จินดามาตย์
โรงเรียน โรงเรียนด่านเกวียนวิทยา อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
ปีที่พิมพ์ 2567
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของความเป็นแหล่งเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่ส่งเสริมทักษะชีวิต โรงเรียนด่านเกวียนวิทยา จังหวัดนครราชสีมา 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารแหล่งเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งเสริมทักษะชีวิต โรงเรียนด่านเกวียนวิทยา จังหวัดนครราชสีมา 3) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารแหล่งเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่ส่งเสริมทักษะชีวิต โรงเรียนด่านเกวียนวิทยา จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในงานวิจัย ประกอบด้วย สถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่ประสบผลสำเร็จในการบริหารแหล่งเรียนรู้ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิ ปราชญ์ท้องถิ่น ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา และนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบประเมิน แบบสัมภาษณ์และการสนทนา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาของความเป็นแหล่งเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่ส่งเสริมทักษะชีวิต โรงเรียนด่านเกวียนวิทยา จังหวัดนครราชสีมา พบว่า มีความเกี่ยวข้องกัน จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และศึกษาข้อมูลภาคสนาม พบว่ามี 6 องค์ประกอบ คือ AISPSS คือ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(A-administrator) การจัดการเรียนการสอนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ (I-intructional) คุณภาพผู้เรียน(S-student) การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง(P-parental) การนิเทศ (S- supervisors) และการใช้แหล่งบริการ(S-service)
2. รูปแบบการบริหารแหล่งเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่ส่งเสริมทักษะชีวิต โรงเรียนด่านเกวียนวิทยา จังหวัดนครราชสีมา เรียกว่า “ PALSIDA MODEL”ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การวางแผน (P – Planing) ขั้นที่ 2 การวิเคราะห์ (A – Analyze) ขั้นที่ 3 การจัดการเรียนรู้ (L – Learning process) ขั้นที่ 4 การให้บริการ (S = Service) ขั้นที่ 5 การเชื่อมโยงความรู้สู่สากล (I = International Link) ขั้นที่ 6 พัฒนาแหล่งเรียนรู้ (D– Development) ขั้นที่ 7 ประเมินผลและเผยแพร่ (A – Asses and spreads) เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย 3 ห่วง 2 เงื่อนไข คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี และ 2 เงื่อนไข คือ เงื่อนไขความรู้ และคุณธรรม และได้นำหลักการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ บันได 3 ขั้น สู่ความสำเร็จ (CAD) คือ เข้าใจ C=comprehension เข้าถึง A=access และ พัฒนา D= development เป็นแนวทางการวิจัยรูปแบบการบริหารแหล่งเรียนรู้ที่เหมาะสม ด้านหลักการบริหารยึดหลัก PDCA ขั้นตอน คือ P-Plan วางแผน D –Do พัฒนาทางออกและดำเนินตามแผน C- Chack ประเมินและสรุปผล A-Act ปรับปรุงแก้ไข และทักษะชีวิตของนักเรียน โดยมีองค์ประกอบ 4 ด้าน คือ 1) การตระหนักและเห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น 2) การคิดวิเคราะห์ตัดสินใจและแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ 3) การจัดการอารมณ์กับความเครียด 4) การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น เป็นรูปแบบการบริหารแหล่งเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งเสริมทักษะชีวิต โรงเรียนด่านเกวียนวิทยา จังหวัดนครราชสีมา
3. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารแหล่งเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งเสริมทักษะชีวิต โรงเรียนด่านเกวียนวิทยา จังหวัดนครราชสีมา พบว่า ประสิทธิภาพของรูปแบบการบริหารแหล่งเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่ส่งเสริมทักษะชีวิต โรงเรียนด่านเกวียนวิทยา จังหวัดนครราชสีมา ทำการประเมิน 4 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 มีประสิทธิภาพที่ระดับมากที่สุด (× ̅= 4.98, 5.0-2.44) ขั้นที่ 2 มีประสิทธิภาพที่ระดับมากที่สุด ขั้นที่ 3 มีประสิทธิภาพที่ระดับมากที่สุด (× ̅ = 4.89, SD = 2.73) และขั้นที่ 4 ด้านทักษะชีวิตของนักเรียน มีประสิทธิภาพที่ระดับมากที่สุด