การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษา
ผสมผสานกับกลวิธีการคิดอุปนัย เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และความสามารถ
ในการแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย ณัฐชารัศม์ โชติธนากุลวสุ
ปีการศึกษา 2565
บทคัดย่อ
การวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้ของกานเย ผสมผสานกับกลวิธีการคิดอุปนัย เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้ของกานเย ผสมผสานกับกลวิธีการคิดอุปนัย เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และความสามารถ ในการแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้ของกานเย ผสมผสานกับกลวิธีการคิดอุปนัย เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้ของกานเย ผสมผสานกับกลวิธีการคิดอุปนัย เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ดังนี้ 3.1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้ของกานเย ผสมผสานกับกลวิธีการคิดอุปนัย เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3.2) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้ของกานเย ผสมผสานกับกลวิธีการคิดอุปนัย เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้ของกานเย ผสมผสานกับกลวิธีการคิดอุปนัย เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนเทศบาลอุโมงค์ ๑ ตำบลอุโมงค์ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน สังกัดกองการศึกษา เทศบาลตำบลอุโมงค์ จำนวน 18 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบวิเคราะห์ข้อมูล การประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) จำนวน 1 ฉบับ 2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้ของกานเยผสมผสานกับกลวิธีการคิดอุปนัย เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) คู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษา 4) ชุดการเรียนรู้ วิชาสุขศึกษา เรื่อง ความปลอดภัยในชีวิต จำนวน 10 ชุด 5) แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาสุขศึกษา เรื่อง ความปลอดภัยในชีวิต จำนวน 20 แผน 6) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ จำนวน 30 ข้อ 7) แบบวัดความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการแก้ปัญหา จำนวน 20 ข้อ และ 8) แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 1 ชุด วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) การหาค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ ค่าประสิทธิภาพ และวิเคราะห์ความแตกต่างโดยใช้ t-test (Dependent Sample) ผลการวิจัยพบว่า
1. ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้ของกานเยผสมผสานกับกลวิธีการคิดอุปนัย เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากการวิเคราะห์เอกสารมีหลากหลาย ประกอบด้วย 1) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) ภาพรวมการพัฒนาในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 หลักการสำคัญของการพัฒนาตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 จุดเปลี่ยนสำคัญในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 2) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 หมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา 54 มาตรา 69 และมาตราอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา 3) แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579 วิสัยทัศน์ในการจัดการศึกษา วัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา เป้าหมายด้านผู้เรียน เป้าหมายของการจัดการศึกษายุทธศาสตร์ เป้าหมาย และตัวชี้วัดในแผนการศึกษาแห่งชาติ 4) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553 5) สภาพปัจจุบันปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาสุขศึกษาและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 6) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 7) ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 8) แนวคิดการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning 9) แนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ของกานเย (Gagne) 10) แนวคิดทฤษฎีกลวิธีการคิดอุปนัย 11) แนวคิดทฤษฎีการคิดสร้างสรรค์ 12) แนวคิดทฤษฎีความสามารถในการแก้ปัญหา และ 13) การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้ของกานเยผสมผสานกับกลวิธีการคิดอุปนัย เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีชื่อเรียกว่า “GASWS Model” (กาเอสดับเบิ้ลยูเอส โมเดล) ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ขั้นตอนที่ 1 เร่งเร้าความสนใจ (Gain Attention : G) (2) ขั้นตอนที่ 2 การนำเสนอเนื้อหาใหม่และการทำความเข้าใจอย่างละเอียด (Acquisition and Elaboration : A) (3) ขั้นตอนที่ 3 การเรียนรู้ด้วยตนเองจากการปฏิบัติ (Students’ Self learning by doing : S) (4) ขั้นตอนที่ 4 การอภิปรายทั้งชั้นเรียนและการเปรียบเทียบ (Whole Class Discussion and Comparison : W) และ (5) ขั้นตอนที่ 5 การสรุปโดยการเชื่อมโยงแนวคิดที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน (Summarization Through Connecting Students’ Ideas Emerged in the Classroom : S) 4) การวัดผลและประเมินผล และ 5) เงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้ของกานเย ผสมผสานกับกลวิธีการคิดอุปนัย เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 82.58/83.52 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้ของกานเยผสมผสานกับกลวิธีการคิดอุปนัย เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า
3.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้ของกานเย ผสมผสานกับกลวิธีการคิดอุปนัย เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.2 การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้ของกานเยผสมผสานกับกลวิธีการคิดอุปนัย เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้ของกานเยผสมผสานกับกลวิธีการคิดอุปนัย เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับพึงพอใจมาก