การประเมินโครงการพัฒนาการอ่านการเขียนและคิดวิเคราะห์ของนักเรียน
ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลปากพนัง 2
ชื่อผู้ประเมิน นางดุษฎี วงศ์สวัสดิ์
รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะรองผู้อำนวยการชำนาญการ
โรงเรียนเทศบาลปากพนัง 2
ปีที่ประเมิน ปีการศึกษา 2566
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการพัฒนาการอ่านการเขียนและคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลปากพนัง 2 ครั้งนี้ โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินบริบท ของโครงการ เกี่ยวกับความต้องการจำเป็น และระดับความเป็นไปได้ของโครงการ 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการเกี่ยวกับระดับความเหมาะสมของบุคลากร งบประมาณและวัสดุ อุปกรณ์และสถานที่ของโครงการ 3) เพื่อประเมินกระบวนการของโครงการเกี่ยวกับกิจกรรมที่ดำเนินการและติดตามโครงการ 4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับการทักษะการอ่านการเขียนและคิดวิเคราะห์ของนักเรียนและความพึงพอใจของนักเรียน ผู้ปกครองนักเรียนและครู กลุ่มตัวอย่างมีจำนวนทั้งสิ้น 255 คน ประกอบด้วย ครู จำนวน 11 คน นักเรียน ป.1-3 จำนวน 55 คน นักเรียน ป.4-6 จำนวน 68 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 121 คน ได้มาโดยการใช้ตาราง Krejcie และ Morgan ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามxxxส่วนของประชากร เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินจำนวน 8 ฉบับ ซึ่งผู้ประเมินสร้างขึ้นเอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ผลการประเมินและข้อเสนอแนะสรุปได้ดังนี้
ผลการประเมิน
ผลการประเมินพบว่า ตัวชี้วัด ประเด็นการประเมินทุกประเด็น และภาพรวมของโครงการผ่านเกณฑ์การประเมิน ดังนี้
1.บริบทของโครงการ อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน และผลของตัวชี้วัด 2 ตัวชี้วัด เป็นดังนี้
1.1 ความต้องการจำเป็นของโครงการ อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน
1.2 ความเป็นไปได้ของโครงการ อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ปัจจัยนำเข้าของโครงการ อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน และผลของตัวชี้วัด 3 ตัวชี้วัด เป็นดังนี้
2.1 ความเหมาะสมของบุคลากร อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2.2 ความเหมาะสมของงบประมาณ อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2.3 ความเหมาะสมของวัสดุอุปกรณ์ สถานที่ อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การ
ประเมิน
3. กระบวนการดำเนินงานของโครงการ อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน และผลของตัวชี้วัด 2 ตัวชี้วัด เป็นดังนี้
3.1 กิจกรรมที่ดำเนินการ อยู่ในระดับร้อยละ 80 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3.2 การติดตามโครงการ อยู่ในระดับร้อยละ 100 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. ผลผลิตของโครงการ อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน และผลของตัวชี้วัด 4 ตัวชี้วัด เป็นดังนี้
4.1 นักเรียนชั้น ป.1-3 มีความรู้ทักษะการอ่านการเขียนและคิดวิเคราะห์ อยู่ใน
ระดับร้อยละ 82.42 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.2 นักเรียนชั้น ป.4-6 มีความรู้ทักษะการอ่านการเขียนและคิดวิเคราะห์ อยู่ใน
ระดับร้อยละ 86.76 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3 ความพึงพอใจของนักเรียน อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4 ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การ
ประเมิน
4.4 ความพึงพอใจของครู อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน
จากผลการประเมินตัวชี้วัดและการประเมินดังกล่าว ทำให้ผลการประเมินโครงการในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
ข้อเสนอแนะ
1. การติดตามผลการดำเนินงานของโครงการ ควรดำเนินการอย่างต่อเนื่องและนำบุคลากรที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการติดตามผลการดำเนินงานของโครงการด้วย
2. ควรศึกษาวิจัย ติดตาม การใช้คู่มือ แบบฝึก และสื่อต่างๆ ที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน และทำกิจกรรมต่างๆของโครงการ เพื่อยกระดับคุณภาพการอ่าน การเขียน และการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนต่อไป