LASTEST NEWS

25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้างงานแนะแนว จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567

การพัฒนารูปแบบการนิเทศ เพื่อส่งเสริมความสามารถของครูในการจัดการเ

usericon

ชื่อเรื่อง     การพัฒนารูปแบบการนิเทศ เพื่อส่งเสริมความสามารถของครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
(Active learning) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานของเด็กปฐมวัย สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2
ผู้วิจัย      นางสาวธิติมา เรืองสกุล ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ
     สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2
ปีที่วิจัย     2563-2564

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและแนวทางการนิเทศ เพื่อส่งเสริมความสามารถของครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานของเด็กปฐมวัย 2) เพื่อสร้างและหาคุณภาพรูปแบบการนิเทศ เพื่อส่งเสริมความสามารถ ของครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานของเด็กปฐมวัย 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการนิเทศ เพื่อส่งเสริมความสามารถของครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานของเด็กปฐมวัย และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบ การนิเทศ เพื่อส่งเสริมความสามารถของครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานของเด็กปฐมวัย วิธีดำเนินการวิจัย มี 4 ขั้นตอน ตามลักษณะของการวิจัยและพัฒนา (R&D) คือ ขั้นที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันและแนวทางการนิเทศ ขั้นที่ 2 การสร้างและตรวจสอบรูปแบบการนิเทศโดยการสนทนากลุ่ม กับผู้ทรงคุณวุฒิ ขั้นที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการนิเทศ กลุ่มตัวอย่าง เป็นครูผู้สอนระดับปฐมวัยของโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายอำเภอสุไหงปาดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 31 โรงเรียน จำนวนครู 58 คน ซึ่งเป็นโรงเรียนในการดูแลรับผิดชอบด้านการนิเทศของผู้วิจัย ได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และขั้นที่ 4 การประเมินรูปแบบการนิเทศ เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบทดสอบ และแบบประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์โดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ t - test (Dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
    1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันและแนวทางการนิเทศ เพื่อส่งเสริมความสามารถของครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานของเด็กปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 พบว่า โดยรวม มีสภาพการดำเนินงานในระดับปานกลาง ( = 3.37, S.D. =0.50) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านวิธีการนิเทศ มีระดับการดำเนินงานค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านสื่อ เครื่องมือและเทคโนโลยีที่ใช้ในการนิเทศ และด้านกิจกรรมการนิเทศ (เนื้อหา/ประเด็นที่ต้องการให้นิเทศ) ตามลำดับ จากการสัมภาษณ์แนวทางการพัฒนาการนิเทศ คือ ผู้นิเทศมีการนิเทศแบบกัลยาณมิตร มีการประชุมเพื่อทบทวน ปรับปรุงและพัฒนาการนิเทศเป็นระยะอย่างสม่ำเสมอ มีวิธีการนิเทศโดยใช้สื่อและเครื่องมือในการนเทศที่มีความหลากหลาย การนำระบบอินเทอร์เน็ต การใช้แอพลิเคชันต่าง ๆ เข้ามาช่วย ผู้นิเทศมีการชี้แนะแนวทางในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสภาพการจัดการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบัน ผู้บริหาร ผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศใช้หลักการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการนิเทศอย่างต่อเนื่อง
    2. ผลการสร้างรูปแบบการนิเทศ เพื่อส่งเสริมความสามารถของครูในการจัดการเรียนรู้ เชิงรุก (Active learning) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานของเด็กปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 พบว่า 2.1 รูปแบบการนิเทศ มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) กระบวนการนิเทศ 5) การวัดผลและประเมินผล และ 6) เงื่อนไขความสำเร็จ 2.2 ผลการประเมินคุณภาพของรูปแบบการนิเทศโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า รูปแบบการนิเทศ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.50, S.D.= 0.52) และมีความเป็นไปได้ ในการนำไปใช้ประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.53, S.D.= 0.50)
    3. ผลการใช้รูปแบบการนิเทศ เพื่อส่งเสริมความสามารถของครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานของเด็กปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 พบว่า
    3.1 ครูที่ได้รับการนิเทศโดยใช้รูปแบบการนิเทศ มีคะแนนทดสอบความรู้ ความเข้าใจ เรื่อง การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานของเด็กปฐมวัย หลังการใช้รูปแบบการนิเทศสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการนิเทศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
    3.2 ครูที่ได้รับการนิเทศโดยใช้รูปแบบการนิเทศ มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ เชิงรุก (Active learning)เพื่อพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานของเด็กปฐมวัยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52, S.D. =0.52) โดยมีผลการประเมินด้านการปฏิบัติการสอน ในระดับมากที่สุด ( = 4.53, S.D. =0.51) และด้านการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ ( = 4.51, S.D. =0.53)
    4. ผลการประเมินรูปแบบการนิเทศ เพื่อส่งเสริมความสามารถของครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานของเด็กปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 พบว่า
    4.1 ผลการประเมินมาตรฐานด้านความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสมและความถูกต้องรูปแบบการนิเทศ เพื่อส่งเสริมความสามารถของครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานของเด็กปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 พบว่า รูปแบบการนิเทศ มีผลการประเมินด้านความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสมและความถูกต้อง อยู่ในระดับมาก ( = 4.48, S.D. =0.54)
    4.2 ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษาและครูปฐมวัยต่อรูปแบบการนิเทศ เพื่อส่งเสริมความสามารถของครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานของเด็กปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 พบว่า โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด คือ ครูปฐมวัย ( = 4.54, S.D. =0.50) รองลงมา คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ( = 4.52, S.D. =0.51)
    4.3 จำนวนรางวัลที่ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 ได้รับในปีการศึกษา 2563-2564 ปรากฏว่า จำนวนรางวัลของผู้บริหารสถานศึกษาได้รับ จำนวน 13 รายการ และจำนวนรางวัลของครูผู้สอนได้รับ จำนวน 11 รายการ รวม 24 รายการ เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดคือไม่น้อยกว่า 10 รายการ ผ่านเกณฑ์ตามกำหนดบรรลุตามวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^