ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ Learning Loss ของเด็กปฐมวัย
นรินทร์ธร บุบผามะตะนัง
Narintorn boopphamanang
เด็กแรกเกิดถึง 3 ปี เป็นช่วงวัยที่สำคัญที่สุดในการเรียนรู้ เพราะสมองของเด็กจะพัฒนาสูงสุด สิ่งแวดล้อมจะเป็นตัวกระตุ้นส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสมองในช่วงต้น หากปล่อยให้เด็กใกล้ชิดสื่อเทคโนโลยีอย่างสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือโทรทัศน์ อาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการ ขัดขวางจินตนาการ ทำให้เด็กไม่มีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง อีกทั้งยังได้รับรังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งมีผลทำให้ระบบการทำงานของสมองบางส่วนเสียหายได้ ปัจจุบันทุกๆ บ้านมักจะเอาเทคโนโลยีเข้ามาเลี้ยงลูก หรือตามใจลูกปล่อยให้อยู่กับสื่อเทคโนโลยี มือถือ แทบเล็ด ดูทีวีทั้งวัน แต่ทราบหรือไม่ว่ามีผลต่อพัฒนาการของลูกอย่างมากหากไม่กำหนดเวลาดูให้เหมาะสม เพราะเด็กในวัยต่ำกว่า 2 ขวบ ไม่ควรเล่นหรือดูสื่อเหล่านี้เด็ดขาด ซึ่งมีผลเสียดังนี้ เด็กขาดพัฒนาการด้านการสื่อสาร มีส่วนทำลายสมอง ร่างกายไม่แข็งแรง ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ ขาดทักษะการเข้าสังคม ขาดสมาธิ พฤติกรรมจะก้าวร้าว ซน สมาธิสั้น มีพฤติกรรมออทิสติก สายตาล้าหรืออักเสบ ทำให้เกิดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ Learning Loss ก็คือทักษะของเด็กที่ขาดหายไป เขาควรได้อีกแบบหนึ่ง แต่เขาได้น้อยกว่าที่ควรจะได้ เช่น ทักษะทางด้านภาษา ทักษะด้านคณิตศาสตร์ ทักษะด้าน EF ที่จริง ๆ เด็กส่วนใหญ่ควรจะได้ปรากฏพอเด็กติดสมาร์ทโฟนมากๆ มันก็ขาดหายไป
สมาร์ทโฟน เป็นเครื่องมือสื่อสารที่มีบทบาทสำคัญ และจำเป็นในชีวิตประจำวัน เนื่องจากเข้าถึงได้ง่าย ใช้สะดวก มีประโยชน์ทั้งการติดต่อสื่อสาร การถ่ายภาพ การจัดเอกสาร ข้อมูล การเล่นอินเทอร์เน็ต รวมไปถึงการดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมต่าง ๆ และสมาร์ทโฟน ยังถูก ใช้เป็นเครื่องมือในการเลี้ยงเด็ก หรือใช้เป็นของเล่นเบี่ยงเบนความสนใจของเด็ก โดยเฉพาะเด็กปฐมวัย เป็นช่วงวัยที่มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการทางสมองเจริญสูงสุด การใช้สมาร์ท โฟนในเด็กจะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการด้านร่างกาย ด้านสติปัญญา ด้านอารมณ์ ด้านสังคมและการสื่อสาร ทำให้เกิดภาวะสมาธิสั้น (ชั่วคราว) และความสามารถในการเรียนรู้ลดลงได้
เด็กที่เล่นโทรศัพท์มือถือแท็บเล็ตและวิดีโอเกมเกินวันละ 7 ชั่วโมง จะมีภาวะเปลือกสมองบางลงก่อนวัยอันควร ทำให้เด็กเสี่ยงต่อการมีระดับสติปัญญา ต่ำกว่าปกติได้การศึกษาของกรมสุขภาพจิต ปีพ.ศ. 2560 พบว่า เด็กเล็กเป็นโรคไฮเปอร์เทียม มากขึ้น ซึ่งเกิดจากการเลี้ยงดูด้วยการปล่อยให้เด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี เล่นแท็ปเล็ตหรือสมาร์ท โฟน ความเร็วของภาพในเกมที่เปลี่ยนทุก 3 วินาที จะส่งผลโดยตรงต่อสมอง คุมสมาธิไม่ได้ทำ ให้ทักษะการอ่าน การเขียน การพูดของเด็กลดลง อารมณ์ร้อน รอคอยไม่เป็น มีปัญหาการอยู่ ร่วมกับเด็กวัยเดียวกันหรือคนอื่น ๆ และเด็กปฐมวัยส่วนหนึ่งที่มีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์และภาษาไม่เหมาะสม มีภาวะสมาธิสั้น (ชั่วคราว) หรือภาวะความบกพร่องทางการเรียนรู้ เป็นผลจากการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์มากเกินไป รวมทั้งพบว่าทารกและเด็กเล็กที่ใช้แท็บเล็ต มากเกินกว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน จะส่งผลเสียต่อการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก และทำให้ประสิทธิภาพของนิ้วมือ ในการเขียนหนังสือนั้นลดลง จากข้อมูลข้างต้น เป็นเพียงตัวอย่างผลกระทบจากการใช้สมาร์ทโฟนในเด็กที่เห็นเป็นรูปธรรม แต่ยังมีอีกหลายปัญหาหรือหลายทักษะที่ขาดหายไปจากเด็ก และกลายเป็นพฤติกรรมใหม่ที่ไม่เหมาะสมของเด็ก ดังนั้นการป้องกันตั้งแต่แรก จะดีกว่าตามแก้ไขปัญหาและเป็นสิ่งที่ ต้องร่วมมือกันทั้งผู้ปกครอง ครูที่โรงเรียน และพยาบาลที่ให้การดูแลเด็กและครอบครัว รวมถึง เจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาเด็ก
ความหมายของภาวะถดถอยทางการเรียนรู้
ยศวีร์ สายฟ้า (2022) ได้ให้ความหมายของของภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ว่า เป็นภาวะของการเสียโอกาสในการเรียนรู้ที่มีผลทำให้ทักษะต่างๆ ที่เด็กควรจะได้รับการพัฒนาตามช่วงวัยสูญเสีย ส่งผลต่อพัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสาร ทักษะด้านความสัมพันธ์จากการที่เด็กบางรายอยู่บ้านจนชิน เมื่อต้องไปโรงเรียนอาจเกิดการกลัวการไปโรงเรียน เด็กขาดระเบียบวินัยความรับผิดชอบ โดยเฉพาะในเด็กระดับอนุบาล และประถมศึกษา ที่ขาดการพัฒนาทักษะการเข้าสังคม และทักษะด้านวิชาการอ่าน เขียน
นรรธพร จันทร์เฉลี่ย เสริบุตร (2022) ได้ให้ความหมายของภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ว่า สิ่งที่ผู้เรียนควรที่จะได้เรียนรู้ หรือรู้แล้วตามระดับชั้นของตัวเอง แต่นักเรียนไม่รู้ เช่น นักเรียนเรียนอยู่ชั้นป.4 แต่เขาไม่สามารถเรียนรู้ได้ตามมาตรฐานในระดับของเขา หรือ อาจจะเป็นสิ่งนักเรียนเคยรู้แล้ว แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไป และไม่ได้ไปโรงเรียนนาน ๆ นักเรียนกลับจำไม่ได้ หรือเด็กเล็กที่เคยช่วยเหลือตัวเองได้ กลับเริ่มทำอะไรไม่ได้ เป็นต้น
สรุปได้ว่า ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ หมายถึง ทักษะของเด็กที่ขาดหายไปเป็นภาวะของการเสียโอกาสในการเรียนรู้ ส่งผลต่อพัฒนาการ ด้านร่างกาย ด้านสติปัญญา ด้านอารมณ์ ด้านสังคมและการสื่อสาร ทำให้เกิดภาวะสมาธิสั้น (ชั่วคราว) ต้องได้รับการฟื้นฟูเสริมสร้าง และพัฒนาองค์ความรู้ทักษะ และคุณลักษณะต่างๆ ให้กับผู้เรียนเพิ่มเติมจากการเรียนรู้ในห้องเรียน
ภาวะการเรียนรู้ถดถอยด้านสติปัญญา : สถานการณ์การเรียนรู้ถดถอยในเด็กปฐมวัย (อายุ 3-5 ปี) ด้านสติปัญญา ความถดถอยที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด เป็นเรื่องการจับใจความสำคัญและเข้าใจเรื่องที่พูดได้ถูกต้อง (การฟังคำสั่ง)ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญของเด็กปฐมวัย การมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างต่อเนื่อง นอกจากเห็นความถดถอยอย่างชัดเจน ยังมีกลุ่มที่มีปัญหาในระดับวิกฤตมากที่สุด การคิดแยกแยะถดถอยและวิกฤตมาก การตั้งคำถามมีส่วนหนึ่งที่ถดถอยมาก การคิดประดิษฐ์หรือสร้างสรรค์ด้วยตนเองมีส่วนที่ทำได้ไม่ดีค่อนข้างมากกว่าส่วนที่ทำได้ดี ภาวะการถดถอยที่วิกฤติมากที่สุดของเด็กปฐมวัยไทย คือ การมีสมาธิจดจ่อ และการคิดแยกแยะ อันเป็นพื้นฐานของ Critical Thinking อันเป็นทักษะสำคัญในศตวรรษที่ 21
ภาวะการเรียนรู้ถดถอยด้านอารมณ์-จิตใจ เด็กเล็กมีภาวะถดถอยทางอารมณ์-จิตใจ มีความเครียด ไม่ร่าเริงแจ่มใส มีอาการเหม่อลอย สมาธิสั้นกว่าที่เคยมา ควบคุมกำกับพฤติกรรมและอารมณ์ของตนได้น้อยลง และมีเด็กบางคนที่สะท้อนให้เห็นได้ว่ามีความเครียดจากการปัสสาวะรดที่นอน อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาของจุฬาฯพบว่าเด็กเล็กส่วนใหญ่ปล่อยวางความเครียดได้ จัดการตนเองได้ภายใต้ภาวะกดดันหรือถูกบีบคั้น ภาวะถดถอยทางด้านอารมณ์-จิตใจยังไม่เป็นปัญหาเท่าด้านสติปัญญา
ภาวะการเรียนรู้ถดถอยด้านร่างกาย : ครอบคลุมตั้งแต่เรื่องน้ำหนัก ส่วนสูง การเคลื่อนไหวและการใช้ส่วนต่างๆของร่างกาย การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กทำงานประสานกับสายตา การได้รับอาหารที่เป็นประโยชน์ จากรายงานวิจัยดังกล่าว พบว่าเด็กปฐมวัยจำนวนมากใช้หน้าจอมากเกินไปและเป็นปัญหา การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กทำงานประสานกับสายตาของเด็กจำนวนหนึ่งที่ทำการสำรวจมีภาวะถดถอยลง
ภาวะการเรียนรู้ถดถอยด้านสังคมและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ครอบคลุมถึงความสามารถในการเล่นและทำกิจกรรรมร่วมกับเพื่อนในห้องเรียน การรับฟังความคิดเห็นของครู เพื่อนและผู้อื่น การยอมรับและปฏิบัติตนตามข้อตกลงในชั้นเรียน การแสดงความเมตตาเห็นอกเห็นใจผู้อื่น การปรับตัวและทำความคุ้นเคยกับคนที่ไม่รู้จัก การเจรจาต่อรองและเล่นกับเพื่อนอย่างสันติ
สิ่งที่ครูพบว่าเป็นปัญหาถดถอยค่อนข้างมากคือ การปฏิบัติตนตามข้อตกลงของชั้นเรียน การรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น และมีกลุ่มที่เป็นวิกฤติเรื่องการเล่นกับเพื่อน เด็กไม่เล่นกับเพื่อน ชอบอยู่คนเดียว อาจเป็นเพราะเด็กอยู่บ้านไม่มีสังคมหรือเพื่อนเล่น หรือเป็นลูกคนเดียว
ภาวะการเรียนรู้ถดถอยด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ คุณลักษณะที่เด็กในวัยนี้สะท้อนออกมาเป็นความสามารถในการอดทนรอคอย การมีความรับผิดชอบ การทำงานที่ได้รับมอบหมายจนเสร็จ การมีวินัย ตรงต่อเวลา ซื่อสัตย์ รู้ว่าสิ่งใดควรทำไม่ควรทำ ไม่แกล้งเพื่อน ไม่เอาแต่ประโยชน์ของตน ไม่โกหก รับผิดเมื่อทำผิด ซึ่งคุณลักษณะส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับทักษะสมองส่วนหน้า EF ในการกำกับตนเอง พบว่าในเรื่องคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในกลุ่มเด็กปฐมวัย ที่ทำการศึกษามีปัญหาเรื่องความสามารถในการอดทนรอคอย และความรับผิดชอบทำงานที่ได้รับมอบหมายให้เสร็จ
ผลกระทบจากการใช้สื่อเทคโนโลยี
เด็กปฐมวัยเป็นช่วงวัยที่มีพัฒนาการทุกๆ ด้านดีที่สุด การใช้สื่อเทคโนโลยีเป็นเวลานานและต่อเนื่องจะส่งผล กระทบต่อพัฒนาการด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม ด้านสติปัญญาและการสื่อสาร รวมทั้งความสามารถในการเรียนรู้ได้ ดังนี้
1. ด้านร่างกาย การใช้สื่อเทคโนโลยีส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ใช้โดยตรงเนื่องจาก ความถี่และกำลังส่งจะทำให้เกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อสมองได้จากการศึกษาของ โสภณา จิรวงศ์นุสรณ์และคณะ พบว่าสมาร์ทโฟนที่มีความถี่ต่ำ จะส่งผลกระทบต่อสมองส่วนกลางได้ มากกว่าสมาร์ทโฟนที่มีความถี่สูง เนื่องจากคลื่นความถี่ต่ำสามารถทะลุเข้าไปในศีรษะได้ลึก มากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็ก พบว่าคลื่นจะสามารถทะลุเข้าไปสู่สมองส่วนกลางของเด็ก ได้มากกว่าผู้ใหญ่ เพราะเด็กมีขนาดศีรษะที่เล็ก กะโหลกศีรษะบาง เนื้อเยื่อสมองจึงสามารถดูด คลื่นไว้ได้มากกว่า เด็กที่ใช้สมาร์ทโฟนเป็นเวลานานอย่างต่อเนื่อง มักมีการเจ็บป่วยทางร่างกาย ได้ง่าย โดยเฉพาะการใช้สายตาจ้องไปที่หน้าจอหรือเพ่งนาน ๆ แสงสีฟ้าจากเครื่องจะทำให้ เกิดผลเสียกับดวงตาได้ นอกจากนี้เด็กในวัยนี้จำเป็นจะต้องเคลื่อนไหวร่างกาย เพื่อพัฒนา ทักษะทางกาย ทั้งการเดิน วิ่ง ขยับมือ หยิบจับสิ่งของ การที่เด็กนั่งนิ่ง ๆ อยู่หน้าจอนาน ๆ จะส่งผลให้พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวลดลง มีผลต่อกระดูกและกล้ามเนื้อ รวมทั้งทำให้เกิด ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพหลายอย่างได้ (โสภณา จิรวงศ์นุสรณ์ และคณะ, 2561)
2. ด้านจิตใจและอารมณ์สมาร์ทโฟนเป็นศูนย์รวมเทคโนลียีที่เน้นความรวดเร็ว ทันสมัย และตื่นตาตื่นใจ ความแตกต่างนี้แม้จะเป็นเรื่องดี แต่ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เด็ก ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับหน้าจอ ทำให้คุ้นเคยและคาดหวัง ให้คนรอบตัวตอบสนองความต้องการ ของตนให้รวดเร็วเหมือนเทคโนโลยีที่ใช้อยู่ เด็กที่ติดสมาร์ทโฟนจึงมักมีปัญหาทางอารมณ์ เช่น ฉุนเฉียว หุนหันพลันแล่น ขาดความอดทน ไม่รู้จักรอคอย มีพฤติกรรมก้าวราว และ ยังมีแนวโน้มที่จะเกิดอาการของโรคสมาธิสั้นเทียม (Pseudo-ADHD) เนื่องจากสมองถูกกระตุ้น ให้เกิดความตื่นตาตื่นใจตลอดเวลา จนสมองชินต่อสิ่งเร้า (กรมสุขภาพจิต, 2562) นอกจากนี้ ยังพบปัญหาการดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวันเช่น การเข้าชั้นเรียน อ่านหนังสือหรือทำงาน บ้าน เด็กจะไม่มีสมาธิอยู่กับสิ่งที่ทำได้นาน ไม่สนใจรายละเอียดของสิ่งรอบตัว และการใช้สมาร์ทโฟนจะส่งผลให้เด็กนอนไม่หลับ เกิดภาวะซึมเศร้า และมีความวิตกกังวล ซึ่งจะส่งผลเสีย ต่อพัฒนาการในการเรียนรู้ของเด็กในระยะยาว
3. ด้านสังคมและการสื่อสาร สมาร์ทโฟนเป็นดั่งโลกเสมือนสำหรับเด็กได้ค้นหา และลองผิดลองถูกด้วยตนเอง โดยพื้นฐานแล้ววัยเด็กที่กำลังเติบโตจำเป็นต้องพัฒนาตัวเอง ผ่านการเชื่อมโยงเข้ากับกิจกรรมทางสังคม และมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบตัว เพื่อเรียนรู้การ สร้างบทบาทและความรับผิดชอบในสังคม (กรมสุขภาพจิต, 2562) การใช้สมาร์ทโฟนที่มาก เกินไปจะทำให้ความสัมพันธ์ในครอบครัวลดลง และเกิดความขัดแย้งกับผู้อื่นเพิ่มมากขึ้น (Thomé, e. et al, 2011) เนื่องจากสมาร์ทโฟนจะตอบสนองความต้องการ และสร้างความ ชื่นชอบให้กับเด็ก ทำให้เด็กไม่พยายามปรับตัวเข้ากับคนอื่น ส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตในด้าน อื่น ๆ ด้วย เช่น ไม่สนใจการเรียน ไม่กระตือรือร้นในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ บางรายอาจมีโลก ส่วนตัวสูงหรือคบหาเฉพาะเพื่อนในอินเตอร์เน็ต ขาดความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม และ ผู้ใช้สมาร์ทโฟนมักจะทำอย่างอื่นไปด้วยขณะที่กำลังสนทนา ส่งผลให้เป็นคนสมาธิสั้น จำสิ่งที่ ทำไม่ได้และขาดทักษะทางสังคม เป็นต้น
4. ด้านสติปัญญาและการเรียนรู้เด็กที่ใช้สมาร์ทโฟนมากเกินไป มักจะมีผลการเรียน ตกต่ำเพราะไม่สนใจการเรียน ทำให้มีพัฒนาการด้านสติปัญญา การคิด การอ่านด้อยกว่าเด็ก ทั่วไป เพราะส่วนใหญ่เด็กจะมีจิตใจจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ตนสนใจ จากการศึกษาของสถาบันสุขภาพ แห่งชาติของสหรัฐฯ เกี่ยวกับพฤติกรรมการเล่นโทรศัพท์ของเด็กว่ามีระยะเวลาเท่าไร ผล การศึกษาพบว่าเด็กที่เล่นโทรศัพท์มือถือ วิดีโอเกม เกินวันละ 7 ชั่วโมง จะมีภาวะเปลือกสมอง บางลงก่อนวัยอันควร ทำให้เสี่ยงต่อการมีไอคิวต่ำ และเด็กที่ใช้เวลาอยู่หน้าจอเกินวันละ 2 ชั่วโมง จะทำคะแนนทดสอบด้านภาษาและการใช้เหตุผลต่ำกว่าเด็กที่ไม่ได้เล่นมือถือ (British Broadcasting Corporation News, 2561)
การใช้สื่อเทคโนโลยีสมาร์ทโฟนเป็นภัยใกล้ตัวที่ทุกคนมองข้าม เพราะสมาร์ทโฟน ช่วยยกระดับชีวิตให้สะดวกสบาย รวดเร็ว และมีประโยชน์ในการสื่อสาร จนละเลยผลเสียที่ตามมา กลายเป็นสังคมก้มหน้า ไม่สนใจบุคคลรอบข้าง เกิดปัญหาสุขภาพทั้งร่างกาย สังคม อารมณ์ และสติปัญญา โดยเฉพาะในเด็กจะขัดขวางพัฒนาการการเรียนรู้ตามธรรมชาติได้
การสังเกตพฤติกรรมภาวะถดถอยทางการเรียน
สังเกตเด็กเป็นรายบุคคล
รวบรวมข้อมูลใช้เป็นแนวทางในการวางแผนและตัดสินใจ
ระบุเด็กที่ควรจะไดร้บการจัดกิจกรรมเป็นกลุ่มยอยรายบุคคล
รายงานและสืบสารกกับผู้
รูปแบบการจัดกิจกรรม
กลุ่มใหญ่่
กลุ่มย่อย/ รายบุคคล
เล่นเรียนรู้ในมุมประสบการณ ์ต่าง ๆ
กิจวัตรประจำวัน
การเตรียมความพร้อมในการเสริมสร้างพัฒนาการเด็ก รอยเชื่อมต่อระหว่างอนุบาลถึง ป. 1
รอยเชื่อมต่อ (Transition)
ประสบการณ์แรกพบ
ประสบการณ์เชิงบวก
ปัจจัยทที่ช่วยให้เด็กปรับตัว
การทำงานร่วมกันกับครูและผู้ปกครอง
สื่อสารสองทาง
รับทราบเป้าหมายของผู้ปกครองที่มีต่อบุตรหลาน
ร่วมกันค้นหาแนวทางแก้ไขโดยมีเด็กเป็นเป้าหมายร่วมกัน
แนวทางการส่งเสริมพัฒนาการเด็กจากการใช้สื่อเทคโนโลยีสำหรับ พ่อ แม่ ผู้ปกครอง
เด็กวัย 3 – 6 ปี เป็นช่วงสำคัญที่ร่างกายและสมองกำลังเจริญเติบโต เด็กวัยนี้มีโอกาสเรียนรู้จากการ ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และการสัมผัส รวมทั้งการเคลื่อนไหว การเล่น การลงมือกระทำ ได้สำรวจ ทดลอง ค้นพบด้วยตนเอง ได้มีโอกาสคิดแก้ปัญหา เลือก ตัดสินใจ พูดคุย คิดริเริ่มสร้างสรรค์ และอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข เด็กวัยนี้จึงควรได้รับการดูแลด้วยความรัก ความเข้าใจ และความเอาใจใส่ เป็นพิเศษ เพื่อให้เด็กเกิดการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ซึ่งพ่อแม่ ผู้ปกครองคือบุคคลสำคัญในการอบรมเลี้ยงดูเด็กให้มีพฤติกรรมและพัฒนาการที่ดีได้ด้วยการส่งเสริม และ เปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือทำกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัยโดยเฉพาะช่วงเวลาที่อยู่ร่วมกันที่บ้าน
1. จัดกิจกรรมที่ทำได้ง่าย ไม่ยุ่งยาก ให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านการ ลงมือทำจริงอย่างหลากหลาย ที่สำคัญสามารถปรับและยืดหยุ่น ได้ตามความเหมาะสมของแต่ละบ้าน
2. จัดพื้นที่ในบ้านให้เหมาะสมกับการทำกิจกรรม มีความปลอดภัยต่อเด็กและ ช่วยจัดหาอุปกรณ์เช่น ดินสอ กระดาษ สีเทียน สีน้ำ ฯลฯ ให้เด็กเรียนรู้ผ่านการทำ กิจวัตรประจำวัน เช่น เก็บที่นอน ล้างหน้า แปรงฟัน อาบน้ำ แต่งตัว ล้างมือ กินข้าว ฯลฯ อาจกำหนดช่วงเวลาให้เด็กทำ และทำต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งในช่วงแรกอาจ คอยช่วยเหลือหรือทำกิจวัตรประจำวันพร้อมกันกับเด็ก เมื่อเด็กทำได้แล้วจึงให้เด็ก ลงมือทำเอง นอกจากนี้ควรเปิดโอกาสให้เด็กทำกิจกรรมที่เหมาะสมเท่าที่เด็กจะทำได้ ในการช่วยทำงานบ้าน งานครัว เช่น กวาดบ้าน เก็บของเข้าที่ ปอกผลไม้ ล้างผักง่ายๆ ฯลฯ งานสวน เช่น ปลูกผัก รดน้ำต้นไม้ เป็นต้น
3. ทำกิจกรรมร่วมกันกับเด็ก แต่หากไม่มีเวลา ควรเปิดโอกาสให้เด็กเรียนรู้จาก สิ่งของและผู้คนที่อยู่รอบตัว และให้เด็กได้เล่นอิสระ อาจเป็นของเล่นหรือของใช้ ที่ไม่เป็นอันตราย หาได้ง่ายในบ้าน และจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว เช่น ของจริง ตามธรรมชาติ(ใบไม้ ผลไม้ก้อนหิน ฯลฯ) จากสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน (ช้อน จาน แก้วนํ้า ฯลฯ) รวมทั้งให้เด็กได้เล่นออกกำลังกลางแจ้งหรือในร่ม เล่นนํ้า เล่นทราย โดยมีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้พ่อแม่ ผู้ปกครองคือของเล่น ที่ดีที่สุดสำหรับเด็ก อาจเล่นกับเด็กโดยใช้อวัยวะบางส่วนของร่างกาย (มือ แขน ขา หู ตา จมูก ผม ฯลฯ) นำมาประกอบการเล่นได้มากมาย เช่น อุ้ม โอบกอด ขี่หลัง ขี่คอ เล่นนิ้วมือ เป็นต้น
4. ชวนเด็กพูดคุยสม่ำเสมอ กระตุ้นด้วยคำถาม เล่าเรื่องราว หรือ ชักชวนเด็กอ่านจากสิ่งของรอบตัว เช่น ป้ายร้านค้า กล่องนม กล่องสบู่ ฯลฯ รวมทั้งการอ่านหนังสือให้เด็กฟัง โดยเฉพาะหนังสือนิทานที่มี เนื้อหาที่เหมาะสมกับเด็ก หรือเล่าเรื่องราวจากแผ่นภาพ
5. ส่งเสริมให้เด็กทำกิจกรรมศิลปะ เช่น การระบายสีและวาดรูป อย่างอิสระ พับกระดาษ ปั้นแป้ง พิมพ์ภาพ ฯลฯ และกิจกรรมด้าน ดนตรีเช่น การฟังเพลง การร้องเพลง การพูดคำกลอน คำคล้องจอง การแสดงท่าทางประกอบตามจินตนาการ ฯลฯ
กรณีพ่อแม่ ผู้ปกครองมีความพร้อมให้เด็กเรียนรู้โดยใช้สื่อเทคโนโลยี ได้แก่ โทรทัศน์ สมาร์ตโฟน แท็บเล็ตและคอมพิวเตอร์ ต้องทำความเข้าใจและปฏิบัติตามคำแนะนำในการใช้ สื่อเทคโนโลยีกับเด็กวัย 3 –6 ปีดังนี้
• พ่อแม่ผู้ปกครองเป็นตัวอย่างที่ดีในการใช้สื่อเทคโนโลยีโดยให้เวลาอยู่กับเด็กอย่างเต็มที่ หากจำเป็นต้องใช้ควรเลือกใช้สื่อที่มีปฏิสัมพันธ์และเหมาะสมกับเด็ก และใช้เพื่อเป็นช่องทาง ในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เช่น ช่วยเด็กค้นหาข้อมูลที่เด็กสนใจ ค้นหาเพลงสำหรับเด็ก ค้นหาหนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
• ใช้สื่อเทคโนโลยีร่วมกับเด็ก ไม่ควรปล่อยให้เด็กใช้หรืออยู่กับหน้าจอตามลำพัง การพูดคุยและ มีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างดูโทรทัศน์ สมาร์ตโฟน แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์ จะช่วยให้เด็กเข้าใจสิ่งที่ ตัวเองกำลังดูอยู่และเป็นโอกาสให้พ่อแม่ ผู้ปกครองได้ดูแลการใช้สื่อเทคโนโลยีอย่างเหมาะสมของ เด็กด้วย
• ไม่ควรให้เด็กใช้สื่อเทคโนโลยีทุกประเภทนานเกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน อาจกำหนดข้อตกลงในการใช้ อุปกรณ์ดังกล่าว แล้วชักชวนเด็กทำกิจกรรมที่ได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง ต่อตัวเด็ก เช่น การเล่น การทำกิจวัตรประจำวัน การช่วยทำงานบ้าน การอ่านหนังสือร่วมกัน การออกกำลังกาย การทำงานศิลปะ และงานประดิษฐ์ เป็นต้น
• จัดมุมการวางสื่อเทคโนโลยีเช่น โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ ไว้ในส่วนที่ทุกคนเห็นได้ง่าย สะดวกในการใช้ร่วมกัน สามารถเป็นจุดรวมของสมาชิกในครอบครัว และในขณะที่เด็กใช้สื่อเทคโนโลยี พ่อแม่ ผู้ปกครองควรสังเกตการใช้สื่อฯ ของเด็กรวมทั้งให้คำแนะนำและความช่วยเหลือเมื่อเด็กต้องการ
การพัฒนาเด็กปฐมวัยด้วยการจัดกิจกรรมการตามวัย
เด็กปฐมวัยที่มีพัฒนาการสมวัยมีแนวโน้มลดลง ในขณะที่มีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น อายุที่เริ่มใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และลักษณะการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์กับพัฒนาการล่าช้าของเด็กอายุ 6 เดือน – 5 ปี เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกสื่อให้เด็กได้บริโภคอย่างเหมาะสม และสามารถส่งเสริมพัฒนาการของเด็กได้ตามช่วง วัย
ชวนลูกสร้างสรรค์ เป็นกิจกรรมที่ทำให้เด็กเกิดจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งพ่อแม่ ผู้ปกครองอาจช่วยจัดหาและเตรียมอุปกรณ์ศิลปะให้เด็กตามความเหมาะสม เช่น กระดาษ ดินสอ สีเทียน สีไม้ สีน้ำ สีผสมอาหาร พู่กัน หรือแปรงระบายสี ฯลฯ และอุปกรณ์สำหรับงานประดิษฐ์ เช่น กาวหรือแป้งเปียก กรรไกร เชือก ฯลฯ สามารถใช้วัสดุรอบตัวที่หาได้ง่ายจากของเหลือใช้ ภายในบ้าน หรือวัสดุจากธรรมชาติรอบบ้านนำมาประกอบการจัดกิจกรรมนี้ได้เช่นกัน และหลัง เสร็จกิจกรรม พ่อแม่ ผู้ปกครอง ควรชวนเด็กพูดคุยเกี่ยวกับผลงานที่ทำ ซึ่งตัวอย่างของ กิจกรรมชวนลูกคิดสร้างสรรค์ ดังนี้
• ชวนลูกสร้างสรรค์งานศิลปะ ผ่านการวาด การพิมพ์ การปั้น การพับ การปะติด เช่น - วาดรูปด้วยสีเทียน ดินสอ สีน้ำ (สีผสมอาหาร) ตามจินตนาการ - ปั้นแป้งโดว์ดินน้ำมันหรือดินเหนียว เป็นรูปตามความสนใจ - พิมพ์ภาพด้วยสีน้ำ โดยใช้วัสดุที่หาได้ง่ายรอบตัว เช่น ผักสวนครัว ดอกไม้ ใบไม้ หรือ ใช้นิ้วมือพิมพ์ต่อกันเป็นรูปตามจินตนาการ เป็นต้น - ฉีกหรือตัดกระดาษเป็นชิ้นเล็ก ๆ ปะต่อกันเป็นรูปต่าง ๆ
• ชวนลูกสร้างสรรค์งานประดิษฐ์ จากวัสดุเหลือใช้รอบตัว เช่น หลอดดูดน้ำ ขวดน้ำพลาสติก แกนกระดาษชำระ กล่องกระดาษ ไม้หนีบผ้า ไม้ไอติม เศษกระดาษหรือเศษผ้าเหลือใช้ ฯลฯ หรือวัสดุจากธรรมชาติรอบบ้าน เช่น ใบไม้ ดอกไม้ เมล็ดพืช เป็นต้น
ชวนลูกเต้น เป็นกิจกรรมที่เด็กได้ขยับเคลื่อนไหวร่างกาย เมื่อเด็กได้ทำอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโต ทำให้ร่างกายแข็งแรง อารมณ์ดี แจ่มใส และมีความสุข สามารถจัดกิจกรรมนี้เข้าไปในชีวิตประจำวันตามความเหมาะสมได้ เช่น
• ชวนเด็กขยับเคลื่อนไหวร่างกายพื้นฐาน เช่น การเดิน การวิ่ง กระโดด การเต้น การชูไม้ชูมือ เป็นต้น
• ชวนเด็กเต้นและร้องเพลง ทำท่าทางจินตนาการตามเสียงเพลงหรือเสียงดนตรี อาจเป็นเพลงที่เด็กชื่นชอบ หรือบทร้องเล่นที่พ่อแม่ ผู้ปกครองคุ้นเคย
• ชวนเด็กขยับเคลื่อนไหวร่างกายประกอบเสียงเพลงหรือเสียงดนตรี เช่น สะบัดแขน โยกหัว ส่ายเอว ย่ำเท้า โบกแขน ปรบมือ เป็นต้น ทั้งนี้พ่อแม่ ผู้ปกครอง อาจหา เศษผ้า ริบบิ้น มาใช้ประกอบการเต้นได้
• ชวนเด็กเล่นเคาะจังหวะประกอบเสียงเพลง โดยใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เครื่องเคาะ เขย่า ตี ทั้งนี้เน้นที่ความปลอดภัยต่อเด็ก
ชวนลูกเล่น เป็นกิจกรรมสำคัญที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านของเด็ก คือ ร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา เมื่อเด็กได้เล่นจะช่วยให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ได้ทดลองผิดถูก ครั้งแล้วครั้งเล่า รู้จักการแก้ปัญหา ช่วยสร้างจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งพ่อแม่ผู้ปกครอง สามารถเป็นผู้สนับสนุนกิจกรรมนี้ด้วยการช่วยเตรียมพื้นที่ วัสดุ อุปกรณ์ตามความเหมาะสมและ เปิดโอกาสให้เด็กเป็นผู้เลือกเล่นอย่างหลากหลายตามความสนใจ ดังนี้
• เล่นออกกำลังกลางแจ้งหรือในร่ม เช่น ปั่นจักรยานในบริเวณบ้าน โยนบอลหรือวัสดุอื่น ลงตะกร้า กลิ้ง โยน-รับลูกบอล เกมการเล่นออกกำลังต่าง ๆ วิ่งเล่นอิสระ และ เกมการละเล่นไทย เช่น มอญซ่อนผ้า รีรีข้าวสาร เป็นต้น
• เล่นน้ำ เล่นทราย อาจปรับได้ตามวัสดุในบ้านเท่าที่มี ดังนี้ - เล่นน้ำโดยใช้ภาชนะที่มีอยู่ที่บ้าน อาจเป็น กะละมัง ถังน้ำ โดยดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด วัสดุอุปกรณ์ประกอบการเล่น เช่น ภาชนะสำหรับตวงน้ำหลายรูปแบบ สัตว์จำลอง ของเล่นหรือของใช้ที่สามารถเล่นในน้ำได้ หรือสายยางรดน้ำต้นไม้เป็นต้น - เล่นทราย อาจนำทรายที่สะอาดมาใส่ในถัง วัสดุอุปกรณ์ประกอบการเล่น เช่น ขันน้ำ ถ้วยตวง ช้อนตัก แบบพิมพ์ที่เป็นวัสดุเหลือใช้ กิ่งไม้ เปลือกหอย ก้อนหิน เป็นต้น
• เล่นตามจินตนาการ / เล่นอิสระ ควรเปิดโอกาสให้เด็กเลือกเล่นอย่างอิสระ ตามความคิด จินตนาการ เช่น แต่งตัวเลียนแบบบุคคลอาชีพต่าง ๆ หรือเล่นของเล่นที่มีอยู่ในบ้าน เช่น เล่นขายของ ตุ๊กตา ทำครัว และต่อตัวต่อ ต่อบล็อก เป็นต้น เมื่อเลิกเล่นสอนให้เด็กจัดเก็บสิ่งของเข้าที่ทุกครั้ง
ชวนลูกเล่นทดลอง เป็นกิจกรรมที่เด็กได้เรียนรู้จากการลงมือทำ การสังเกต ทดลอง คิดแก้ปัญหา และหาคำตอบของเรื่องราวหรือปรากฎการณ์ต่าง ๆ ได้ตามวัยจากการสังเกต สิ่งรอบ ๆ ตัว ซึ่งแนวทางการจัดกิจกรรมนี้พ่อแม่ ผู้ปกครองสามารถชวนเด็กสำรวจสิ่งรอบตัว หรือสอดแทรกกิจกรรมนี้ได้ในขณะทำกิจวัตรประจำวัน งานบ้าน งานครัว งานสวน หรือ กิจกรรมอื่น ๆ ในวิถีชีวิตของครอบครัว ยกตัวอย่างเช่น
• ขณะชวนเด็กรดน้ำต้นไม้ ให้เด็กสังเกตการไหลของน้ำจากที่สูงสู่ที่ต่ำ และแรงดันทำให้น้ำ ไหลแรง โดยลองฉีดน้ำด้วยสายยางให้เด็กดู หรือให้เด็กทดลองฉีดน้ำรดต้นไม้ด้วยตนเอง
• ขณะกำลังล้างจาน ชักชวนเด็กสังเกตการผสมกันระหว่างน้ำยาล้างจานกับน้ำเปล่า แล้วถามเด็กว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง
• ขณะจะอาบน้ำ ชวนเด็กเล่นทดลองลอย - จม โดยให้เด็กหาวัสดุ สิ่งของใกล้ตัว (ที่ไม่เกิดความเสียหาย) มาทดลองลอย - จม เช่น แปรงสีฟัน หลอดยาสีฟัน ขันน้ำ ขวดแชมพู ฟองน้ำถูตัว เป็นต้น ทั้งนี้ พ่อแม่ ผู้ปกครองอาจจัดสถานการณ์การทดลองจากสื่อใกล้ตัว ตามโอกาสเหมาะสม เพื่อส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็น ความมุ่งมั่นจดจ่อ ในการหาคำตอบ การคิดแก้ปัญหา ดังตัวอย่างกิจกรรมชวนลูกเล่นทดลอง
ชวนลูกอ่าน เป็นกิจกรรมที่สำคัญที่ช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ระหว่างเด็กกับพ่อแม่ผู้ปกครอง เกิดความใกล้ชิด ความผูกพันกันมากขึ้น และทำให้เด็กได้พัฒนาจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ ได้รู้จักคำศัพท์ใหม่ๆ และได้รับประสบการณ์ทางภาษาผ่านการอ่านหนังสือ การเล่านิทานจากพ่อแม่ ผู้ปกครอง ซึ่งแนวทางการจัดกิจกรรมชวนลูกอ่าน มีดังนี้
• อ่านหนังสือภาพ หนังสือนิทาน หรือเล่านิทานให้เด็กฟังเท่าที่สามารถทำได้ อาจใช้เวลาเพียง วันละ10 – 15 นาทีและควรทำอย่างสม่ำเสมอทุกวันจนเป็นกิจวัตรประจำวัน อาจเป็น ช่วงเวลาก่อนเข้านอน หากไม่มีหนังสือภาพ หนังสือนิทาน อาจเล่านิทานจากเรื่องราวที่แต่ง ขึ้นเอง หรือร้องเพลงกล่อมนอนที่พ่อแม่ ผู้ปกครองคุ้นเคย อีกทางเลือกหนึ่งคือติดต่อกับ ครูผู้สอนที่โรงเรียนของเด็กเพื่อขอยืมมาอ่านให้เด็กฟังที่บ้าน
• เลือกหนังสือภาพ หนังสือนิทานที่เหมาะสมกับความสนใจตามวัย 3 – 6 ปี มีภาพเยอะกว่า ตัวหนังสือใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย เรื่องราวไม่ซับซ้อน อาจเป็นคำกลอน คำคล้องจองที่เด็ก สามารถจดจำได้ง่าย
• การเล่านิทานอาจใช้อุปกรณ์ประกอบการเล่า จากสิ่งรอบตัวเด็ก เช่น ตุ๊กตา หุ่นมือ ของเล่น ผ้าผืนเล็ก ฯลฯ นิ้วมือและการเล่นเงาจากมือ หรือการแสดงท่าทางประกอบการเล่าเรื่อง ก็สามารถนำมาใช้ประกอบการเล่านิทานได้ อาจใช้หนังสือนิทานหรือภาพการ์ตูนจาก หนังสืออื่น ๆ ที่มีอยู่แล้วและเหมาะสมกับเด็กมาจัดกิจกรรมได้
• อ่านชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง และผู้วาดภาพประกอบก่อนอ่านเนื้อเรื่องเสมอ และหลังจาก อ่านหนังสือหรือ เล่านิทานจบ ควรใช้คำถามเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ เช่น เกิดเหตุการณ์อะไร มีใคร ทำอะไร อย่างไรชอบตัวละครอะไร และชอบเหตุการณ์ใดบ้าง เป็นต้น หากมีเวลา อาจชวนเด็กทำกิจกรรมต่อเนื่องจากเนื้อเรื่อง
• เปิดโอกาสให้เด็กเลือกหนังสือนิทาน หรือให้เวลาเด็กอ่านหนังสือถึงแม้เด็กยังอ่านไม่ออก เพราะเด็กสามารถอ่านภาพในหนังสือได้และได้ใช้สมาธิจดจ่อกับตนเอง
• พ่อแม่ ผู้ปกครอง ที่ใช้สมาร์ตโฟน แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์ สามารถใช้หนังสือนิทานใน รูปแบบของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E–book) เพื่ออ่านให้เด็กฟังได้
เด็กปฐมวัยเป็นช่วงวัยที่มีการเจริญเติบโต และมีพัฒนาการทางสมองเจริญสูงสุด จึงควรได้รับการกระตุ้นส่งเสริมพัฒนาการที่ถูกต้องเหมาะสม แต่ถ้าปล่อยให้เด็กใช้ สมาร์ทโฟนต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะส่งผลกระทบต่อระบบประสาทของเด็ก ทำให้พัฒนาการด้านร่างกาย จิตอารมณ์และปฏิสัมพันธ์ทางสังคมบกพร่องได้ ครู พ่อ แม่ ผู้ปกครองจึงมีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือ และป้องกันผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากการใช้สมาร์ทโฟน โดย การให้ความรู้แก่ผู้ดูแลเกี่ยวกับพัฒนาการ และความต้องการพื้นฐานของเด็ก ด้วยความรักเอา ใจใส่ อบรมเลี้ยงดูด้วยความเข้าใจ และตอบสนองความต้องการของเด็ก มีการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนในเด็ก โดยการ ลด ละ เลิก การใช้สมาร์ทโฟน ซึ่งครู พ่อแม่ ผู้ปกครองต้อง กำกับดูแลอย่างใกล้ชิด มีการกระตุ้นส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยที่เหมาะสม ตาม แนวทางส่งเสริมสุขภาพด้วย“กิน กอด เล่น เล่า และนอน รวมถึงการจัดสภาพสิ่งแวดล้อม และบรรยากาศ ที่เอื้อต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัยตามวิธีการแบบมอนเตสซอรี่ เพื่อให้เด็กมี ความมั่นใจและรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง อันจะส่งผลดีต่อพัฒนาการทั้งด้านร่างกายจิตอารมณ์ สติปัญญา และสังคมที่ดีสร้างความสุข ความอบอุ่น แ