LASTEST NEWS

22 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านผารางวังหม้อ(มิตรประชา) รับสมัครครูผู้สอน วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน) 22 พ.ย. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 6 อัตรา - รายงานตัว 25 พฤศจิกายน 2567 22 พ.ย. 2567สพป.อุดรธานี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 9 ธันวาคม 2567 22 พ.ย. 2567สพป.พังงา เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 6 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 28 พฤศจิกายน 2567 22 พ.ย. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 55 อัตรา - รายงานตัว 9 ธันวาคม 2567 22 พ.ย. 2567โรงเรียนสารวิทยา ประกาศปิดเรียนกรณีพิเศษ ช่วงเทศกาลปีใหม่ มีผลหยุดยาว 9 วัน ตั้งแต่ 28 ธ.ค.67 - 5 ม.ค.68 21 พ.ย. 2567​​​​​​​กองบัญชาการกองทัพไทย รับสมัครพนักงานราชการ 131 อัตรา สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 8 ธันวาคม 2567 21 พ.ย. 2567​​​​​​​กรมชลประทาน เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชกการ 58 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ตตั้งแต่บัดนี้ - 4 ธันวาคม 2567 ตลอด 24 ชั่วโมงไม่เว้นวันหยุดราชการ 20 พ.ย. 2567สพป.สงขลา เขต 3 รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน 11 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 26 พ.ย. - 2 ธ.ค.2567 20 พ.ย. 2567สพม.เพชรบูรณ์ เรียกบรรจุครูผู้ช่วย ขอใช้บัญชี สพม.นครสวรรค์ และสพม.พิษณุโลก อุตรดิตถ์ รวม 3 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย.2567

บทคัดย่อการพัฒนาและการบริหารงานเพื่อลดภาวะซึมเศร้าของนักเรียนฯ

usericon

- วันที่ 31 เดือน มกราคม พ.ศ. 2567
โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้1. เพื่อศึกษาประสิทธิผล หลักสูตรยุวสาสมาธิกับนักเรียนโรงเรียนเบ็ตตี้ดูเมน 2
ช่องเม็ก 2. เพื่อลดระดับภาวะซึมเศร้าของนักเรียนโรงเรียนเบ็ตตี้ดูเมน 2 ช่องเม็ก ที่มีภาวะซึมเศร้า
มากและรุนแรง 3. เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการบริหารส่งเสริมสุขภาวะทางจิตของนักเรียนที่มี
ภาวะซึมเศร้า โดยเปรียบเทียบระดับภาวะซึมเศร้าก่อนและหลังการเข้าร่วมหลักสูตรยุวสาสมาธิ
เมื่อระยะเวลาผ่านไป 1 เดือน ระดับภาวะซึมเศร้าจะลดลงหรือไม่อย่างไร
การดำเนินการคัดกรองกลุ่มตัวอย่างโดยผ่านการประเมินแบบประเมินสุขภาวะซึมเศร้าใน
วัยรุ่น ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 2 ครั้ง มีนักเรียนที่มีภาวะซึมเศร้าใน
ระดับมากและรุนแรง จำนวน 24 คน ที่ต้องได้รับการรักษาด้วยยาและจิตบำบัดร่วมกับสมาธิบำบัด
ผู้วิจัยใช้สมาธิบำบัด โดยนำเอาหลักสูตรยุวสาสมาธิ จากสถาบันพลังจิตตานุภาพ มูลนิธิหลวงพ่อหลวง
พ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร มาอบรมให้ความรู้กับนักเรียนทุกคน ระหว่างวันที่ วันที่ 10 - 11 กรกฎาคม 2566
สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระหว่างวันที่ วันที่ 3 - 4 สิงหาคม 2566 สำหรับ
นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หลังจากอบรมให้นักเรียนกลุ่มเป้าหมายทำสมาธิทุกวัน วันละ 3
ครั้ง ๆ ละ 5 นาที ช่วงเช้า เที่ยง และก่อนนอน ช่วงเช้าโรงเรียนให้นักเรียนทำสมาธิทุกวันหลังทำ
กิจกรรมหน้าเสาธงเป็นเวลา 5 นาที
เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย เครื่องมือการวิจัย จำนวน 2 แบบ ดังนี้
1. แบบประเมินสุขภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น ได้รับความอนุเคราะห์จากสำนักงานสาธารณสุข
จังหวัดอุบลราชธานี ทำการประเมินก่อนและหลังการประเมิน เพื่อศึกษาว่าหลักสูตรยุวสาสมาธิ
จะช่วยให้นักเรียนที่มีภาวะซึมเศร้า (Depression) มากและรุนแรง จำนวน 24 คน สุขภาวะทางจิตดีขึ้นหรือไม่ ระดับภาวะซึมเศร้ามากขึ้นหรือน้อยลงเพียงใด 2. แบบสังเกตพฤติกรรม โดยผ่านครูผู้สอน
เพื่อยืนยันการตอบแบบสอบประเมินความรู้สึกของนักเรียน
การดำเนินการวิจัยภายหลังคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามที่กำหนดไว้ ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการ
วิจัยวิธีการดำเนินการวิจัย และการพิทักษ์สิทธิ์ผู้เข้าร่วมวิจัย การเก็บข้อมูลติดตามผลของแนวปฏิบัติ
ตามหลักสูตรยุวสาสมาธิ 4 สัปดาห์สถิติที่นำมาวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency)
ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และการทดสอบที (t - test)
ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยของระดับความรู้สึกซึมเศร้าผ่านแบบ
ประเมินภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น หลังการอบรมหลักสูตรยุวสาสมาธิคะแนนภาวะซึมเศร้าลดลงอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงให้เห็นว่านักเรียนส่วนใหญ่มีความรู้สึกซึมเศร้าลดลง 21 คน
คิดเป็นร้อยละ 87.50 และมีความรู้สึกเศร้าเพิ่มมากขึ้น 3 คน คิดเป็นร้อยละ 12.50 และคะแนนเฉลี่ย
จากแบบสังเกตพฤติกรรมผ่านครูผู้สอน มีค่าแตกต่างก่อนและหลังการอบรมหลักสูตรยุวสาสมาธิอย่าง
มีนัยสำคัญทางสถิติ นักเรียนมีความรู้สึกซึมเศร้าลดลง 22 คน คิดเป็นร้อยละ 91.67 และมีความรู้สึก
เศร้าเพิ่มมากขึ้น 2 คน คิดเป็นร้อยละ 8.33 จากนักเรียนที่มีภาวะซึมเศร้า จำนวน 24 คน
นักเรียนที่มีภาวะซึมเศร้าไม่ลดลงหรือมีเพิ่มขึ้น 3 คน จากนักเรียนเข้าร่วมโครงการ 24 คน
คิดเป็นร้อยละ 12.5 ส่วนใหญ่มากจากครอบครัวของนักเรียนมีปัญหาเกินกว่าตัวนักเรียนจะแก้ บิดา
มารดาหย่าร้าง ติดยาเสพติด เป็นต้น และนักเรียนไม่ให้ความสำคัญหรือไม่มีความตั้งใจที่จะฝึกทำสมาธิ
จากข้อมูลการวิจัยใช้เครื่องมือ ทั้ง 2 แบบร่วมกันระหว่างแบบประเมินภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น
และแบบสังเกตพฤติกรรมผ่านครูผู้สอน สรุปได้ว่านักเรียนส่วนใหญ่มีภาวะซึมเศร้าลดลง
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^