LASTEST NEWS

22 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านผารางวังหม้อ(มิตรประชา) รับสมัครครูผู้สอน วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน) 22 พ.ย. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 6 อัตรา - รายงานตัว 25 พฤศจิกายน 2567 22 พ.ย. 2567สพป.อุดรธานี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 9 ธันวาคม 2567 22 พ.ย. 2567สพป.พังงา เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 6 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 28 พฤศจิกายน 2567 22 พ.ย. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 55 อัตรา - รายงานตัว 9 ธันวาคม 2567 22 พ.ย. 2567โรงเรียนสารวิทยา ประกาศปิดเรียนกรณีพิเศษ ช่วงเทศกาลปีใหม่ มีผลหยุดยาว 9 วัน ตั้งแต่ 28 ธ.ค.67 - 5 ม.ค.68 21 พ.ย. 2567​​​​​​​กองบัญชาการกองทัพไทย รับสมัครพนักงานราชการ 131 อัตรา สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 8 ธันวาคม 2567 21 พ.ย. 2567​​​​​​​กรมชลประทาน เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชกการ 58 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ตตั้งแต่บัดนี้ - 4 ธันวาคม 2567 ตลอด 24 ชั่วโมงไม่เว้นวันหยุดราชการ 20 พ.ย. 2567สพป.สงขลา เขต 3 รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน 11 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 26 พ.ย. - 2 ธ.ค.2567 20 พ.ย. 2567สพม.เพชรบูรณ์ เรียกบรรจุครูผู้ช่วย ขอใช้บัญชี สพม.นครสวรรค์ และสพม.พิษณุโลก อุตรดิตถ์ รวม 3 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย.2567

รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน

usericon

บทคัดย่อ

ชื่อผลงาน    :     รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โรงเรียนบ้านสะเดาซ้าย
ผู้ประเมิน    :     นางสาวรัลชพัฒน์ นนภิภัทรพนต์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านสะเดาซ้าย
หน่วยงาน    :     โรงเรียนบ้านสะเดาซ้าย
        สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2
ปีที่ประเมิน    : 2564


การประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โรงเรียนบ้านสะเดาซ้าย มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบทหรือสภาพแวดล้อม ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต ของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และศึกษาผลที่เกิดขึ้นของการดำเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านต่อสถานศึกษา ครูผู้สอน และนักเรียนโดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (Context Input Process Product Evaluation Model : CIPP Model) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลมีจำนวนทั้งสิ้น 92 คน แบ่งเป็น ผู้เชี่ยวชาญด้านโครงการ จำนวน 5 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน ครูผู้สอนจำนวน 3 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 41 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 41 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ประกอบด้วย แบบสอบถามความคิดเห็น จำนวน 5 ฉบับ มีการตรวจสอบค่าความเชื่อมั่น อยู่ระหว่าง .742 - .846 และศึกษาผลที่เกิดขึ้นด้านสถานศึกษา และนักเรียนเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS for Windows ผลการประเมิน และข้อเสนอแนะสรุปได้ดังนี้
    ผลการประเมินการดำเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โรงเรียนบ้านสะเดาซ้าย ในภาพรวมทั้ง 4 ด้าน พบว่า ผลการประเมิน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านปรากฏว่า ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ และด้านผลผลิตของโครงการมีค่าเฉลี่ยสูงสุดซึ่งอยู่ในระดับมากรองลงมา คือ ด้านกระบวนการของโครงการ อยู่ในระดับมาก และด้านบริบทของโครงการ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมากและทุกรายการผ่านเกณฑ์การประเมิน ซึ่งผลการประเมินในแต่ละด้านมีรายละเอียด ดังนี้
    1. ด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) ในการดำเนินโครงการ
        1.1 ผลการประเมินการดำเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโรงเรียนบ้านสะเดาซ้าย ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านบริบทของโครงการ พบว่า ผลการประเมิน ภาพรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาในแต่ละรายการ พบว่า ความเป็นไปได้ของการบรรลุเป้าหมายของโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุดรองลงมา ได้แก่ วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับหลักสูตรและนโยบายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกระดับอยู่ในระดับมากที่สุดโดยทุกรายการผ่านเกณฑ์การประเมิน



2. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ในการดำเนินโครงการ
        2.1 ผลการประเมินการดำเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโรงเรียนบ้านสะเดาซ้าย ตามความคิดเห็นของครูผู้สอนด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ พบว่า ผลการประเมิน ภาพรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาในแต่ละรายการ พบว่า การจัดอาคารสถานที่ห้องปฏิบัติการตามโครงการมีความเหมาะสมและเพียงพอ อยู่ในระดับมากที่สุดซึ่งมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ การได้รับงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงานต้นสังกัด อยู่ในระดับมากที่สุดโดยทุกรายการผ่านเกณฑ์ การประเมิน
        2.2 ผลการประเมินการดำเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโรงเรียนบ้านสะเดาซ้าย ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ พบว่า ผลการประเมิน ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาในแต่ละรายการ พบว่า จัดแหล่งเรียนรู้เพื่อการศึกษาค้นคว้าอย่างเหมาะสมและเพียงพอ อยู่ในระดับมากที่สุดซึ่งมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ มีวัสดุ อุปกรณ์สนับสนุนกิจกรรมอย่างเพียงพออยู่ในระดับมากที่สุดโดยทุกรายการผ่านเกณฑ์การประเมิน
        2.3 ผลการประเมินการดำเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโรงเรียนบ้านสะเดาซ้าย ด้านปัจจัยนำเข้าโครงการ ในภาพรวม 2 กลุ่ม อยู่ในระดับมาก โดยกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ได้แก่ กลุ่มครูผู้สอนอยู่ในระดับมาก โดยทุกรายการผ่านเกณฑ์การประเมิน
    3. ด้านกระบวนการ (Process) ในการดำเนินโครงการ
        3.1 ผลการประเมินการดำเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โรงเรียนบ้านสะเดาซ้าย ด้านกระบวนการดำเนินการของครูผู้สอน เกี่ยวกับการดำเนินงาน พบว่า ผลการประเมินภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละรายการ พบว่า การประเมินผลการดำเนินโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุดซึ่งมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ การมีส่วนร่วมของครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครอง การส่งเสริมให้มีการวิจัยเพื่อพัฒนากิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด โดยทุกรายการผ่านเกณฑ์การประเมิน
    3.2 ผลการประเมินการดำเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โรงเรียนบ้านสะเดาซ้ายด้านกระบวนการดำเนินการของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เกี่ยวกับการดำเนินงาน พบว่า ผลการประเมินภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละรายการ พบว่า การสร้างแรงจูงใจ โดยยกย่องเชิดชู ครูผู้สอน และนักเรียน ด้านรักการอ่านอย่างสม่ำเสมออยู่ในระดับมากที่สุดซึ่งมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ การประเมินผลการดำเนินโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยทุกรายการผ่านเกณฑ์การประเมิน
         3.3 ผลการประเมินการดำเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โรงเรียนบ้านสะเดาซ้าย ด้านกระบวนการดำเนินการของผู้ปกครองนักเรียน เกี่ยวกับการดำเนินงาน พบว่า ผลการประเมินภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละรายการ พบว่า การมีส่วนร่วมของครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครองอยู่ในระดับมากที่สุดซึ่งมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ การนิเทศ ติดตาม กำกับการดำเนินงาน โครงการตามขั้นตอนที่กำหนดทุกระยะการส่งเสริมให้มีการวิจัยเพื่อพัฒนา กิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด โดยทุกรายการผ่านเกณฑ์การประเมิน
    3.4 ผลการประเมินการดำเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โรงเรียนบ้านสะเดาซ้ายด้านกระบวนการดำเนินโครงการ ในภาพรวม 3 กลุ่ม อยู่ในระดับมากโดยกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียน อยู่ในระดับมาก โดยทุกรายการผ่านเกณฑ์การประเมิน
        3.5 ผลการประเมินการดำเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โรงเรียนบ้านสะเดาซ้ายด้านกระบวนการดำเนินโครงการเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมของครูผู้สอนตามความคิดเห็นของนักเรียนพบว่าผลการประเมินภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละรายการ พบว่า การเอาใจใส่ และดูแลผู้เรียนอย่างทั่วถึงอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ มีการวัดและประเมินกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านอยู่ในระดับ มากที่สุด โดยทุกรายการผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. ด้านผลผลิต (Product Evaluation) ในการดำเนินโครงการ
        4.1 ผลการประเมินการดำเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โรงเรียนบ้านสะเดาซ้ายด้านผลผลิตของโครงการ ดังนี้
                4.1.1 ผลการประเมินการดำเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โรงเรียนบ้านสะเดาซ้าย ด้านผลผลิตของโครงการผลการประเมินนิสัยรักการอ่านของนักเรียน พบว่า นักเรียนมีนิสัยรักการอ่านโดยรวมปฏิบัติประจำ ร้อยละ 90.24 และปฏิบัติเป็นบางครั้ง ร้อยละ 9.76 เมื่อจำแนกเป็นรายข้อพบว่า นักเรียนปฏิบัติได้สูงสุด จำนวน 6 รายการคือ นักเรียนอ่านวารสารและหนังสือพิมพ์เป็นประจำ นักเรียนสรุปประเด็น และจดบันทึกข้อมูล ความรู้ที่ได้จากเรื่องที่อ่านอยู่เสมอ นักเรียนรู้จักการค้นคว้าหาหนังสือในห้องสมุด และใช้ห้องสมุดไม่ต่ำกว่าสัปดาห์ละ 3 ครั้ง นักเรียนมีโอกาสเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ทั้งใน และนอกโรงเรียน นักเรียนใช้เวลาว่างในการอ่านหนังสือ และนักเรียนจะอ่านหนังสือทั่ว ๆ ไปไม่เฉพาะหนังสือตามหลักสูตรร้อยละ 100 รองลงมา คือ นักเรียนอ่านหนังสือนอกหลักสูตรอย่างน้อยวันละ 15 นาทีร้อยละ 95.12 นักเรียนชอบอ่านหนังสือประเภทอื่น ๆ ที่มีอยู่ในบ้าน ร้อยละ 78.05 นักเรียนจะอ่านหนังสือโดยไม่ให้ผู้อื่นคอยเตือน ร้อยละ 73.17 และนักเรียนสามารถค้นคว้าหาความรู้จากอินเตอร์เน็ต หรือสื่อเทคโนโลยีต่าง ๆ ร้อยละ 56.09 ตามลำดับ โดยผ่านเกณฑ์การประเมินที่ตั้งไว้คือ นักเรียนร้อยละ 85 ที่มีนิสัยรักการอ่าน
                4.1.2 ผลการประเมินการดำเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโรงเรียน
บ้านสะเดาซ้าย ด้านผลผลิตของโครงการตามความคิดเห็นของครูผู้สอนเกี่ยวกับคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนพบว่า ผลการประเมินภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาในแต่ละรายการ พบว่า การมีกระบวนการคิดปฏิบัติและนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ การใฝ่รู้ใฝ่เรียน ศึกษาค้นคว้าหาความรู้อย่างสม่ำเสมอโดยทุกรายการผ่านเกณฑ์การประเมิน
            4.1.3 ผลการประเมินการดำเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโรงเรียน
บ้านสะเดาซ้าย ด้านผลผลิตของโครงการตามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน เกี่ยวกับคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนพบว่า ผลการประเมินภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละรายการ พบว่า มีการสืบค้นคว้าหาความรู้จากอินเตอร์เน็ต (Internet) หรือสื่อเทคโนโลยีต่าง ๆ ได้อยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ มีการสังเคราะห์/วิเคราะห์และสรุปความรู้/ประสบการณ์ได้อย่างมีเหตุผล โดยทุกรายการผ่านเกณฑ์การประเมิน
            4.1.4 ผลการประเมินการดำเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโรงเรียน
บ้านสะเดาซ้าย ด้านผลผลิตโครงการภาพรวมทั้ง 2 กลุ่ม อยู่ในระดับมาก โดยกลุ่มครูผู้สอนอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยรองลงมา ได้แก่ กลุ่มผู้ปกครองนักเรียน อยู่ในระดับมาก โดยทุกรายการผ่านเกณฑ์การประเมิน
    5. ผลกระทบจากการดำเนินโครงการ
    5.1 ผลการศึกษาผลกระทบของการดำเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โรงเรียนบ้านสะเดาซ้าย พบว่า การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านเป็นกิจกรรมที่มุ่งกระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความสนใจอยากรู้ อยากอ่านจนสามารถนำความรู้เหล่านั้นไปใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย สถานศึกษาสามารถนำการอ่านเข้าไปอยู่ในกระบวนการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนได้ตามศักยภาพ และต้องจัดกิจกรรมการอ่านเป็นกิจกรรมเสริมนอกเหนือเวลาเรียน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการอ่านอย่างต่อเนื่อง และยั่งยืนเป็นนิสัย ดังนั้นจากการศึกษาผลในการดำเนินงานตามโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โรงเรียนบ้านสะเดาซ้าย จากการดำเนินงานก่อให้เกิดผลที่เกิดขึ้นทั้งต่อสถานศึกษา ครูผู้สอน และนักเรียน ดังนี้
    ด้านสถานศึกษา โรงเรียนบ้านสะเดาซ้ายได้รับเกียรติบัตรคะแนนสอบ O-NET ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2564 ค่าเฉลี่ยรวม (คะแนนเฉลี่ย 46.27) สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ (คะแนนเฉลี่ย 40.93) จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 ประกอบด้วย 4 วิชาดังนี้
1)    วิชาภาษาไทย        คะแนนเฉลี่ย 54.83
2)    วิชาภาษาอังกฤษ    คะแนนเฉลี่ย 48.96
3)    วิชาวิทยาศาสตร์    คะแนนเฉลี่ย 38.33
4)    วิชาคณิตศาสตร์    คะแนนเฉลี่ย 42.98
        ด้านครูผู้สอน ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติและรางวัลของหน่วยงานต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
        1) นางสาวกวินนาฎ ราชทะคันที ได้รับรางวัลครูที่ปฏิบัติการสอนกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีดีเด่น ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2
    2) นายธีรศักดิ์ พระสว่าง ได้รับรางวัลบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านจรรยาบรรณวิชาชีพ
ดีเด่น ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 เนื่องในงานวันครู ครั้งที่ 66 ตามประกาศสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 เรื่องรายชื่อผู้ได้รับคัดเลือกข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาดีเด่น ประจำปี พ.ศ.2564 เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติเนื่องในงานวันครูครั้งที่ 66 พ.ศ. 2565 ประกาศ ณ วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2565
        ด้านนักเรียน ได้รับรางวัลดังนี้ เด็กหญิงกานต์สินี อุดมสารี ได้รางวัลเหรียญทองชนะเลิศกิจกรรมแข่งขันเขียนเรียงความ ชั้น ป.4-ป.6 การแข่งขันกิจกรรมทักษะภาษาไทย ในโครงการรักษ์ภาษาไทยเนื่องในสัปดาห์วันภาษาไทยแห่งชาติ 2565 ประจำปีการศึกษา 2564 ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2































ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^