เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
โรงเรียนลำพระเพลิงพิทยาคม
ผู้รายงาน นายวีระพล เรือกิจ
สถานศึกษา โรงเรียนลำพระเพลิงพิทยาคม อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา
สังกัด สำนักการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ปีการศึกษา 2566
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนลำพระเพลิงพิทยาคม โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และ ด้านผลผลิตของโครงการ รวมทั้งทราบปัญหาเพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะ ปรับปรุง พัฒนาการดำเนินงานของโครงการ ส่งเสริมการเรียนรู้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนลำพระเพลิงพิทยาคม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการประเมิน ครั้งนี้ กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากประชากรตามตารางของเครซีและมอร์แกน (Krejcie and Morgan) จำนวนทั้งสิ้น 475 คน ประกอบด้วย นักเรียนโรงเรียนลำพระเพลิงพิทยาคม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1ถึง มัธยมศึกษา
ปีที่ 6 จำนวน 226 คน ผู้ปกครองหรือผู้ซื้อผลผลิต จำนวน 226 คน ครูจำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประกอบไปด้วยแบบสอบถาม จำนวน 7 ฉบับ แบบสัมภาษณ์ จำนวน 2 ฉบับ แบบวัดทักษะ จำนวน 1 ฉบับ และ แบบบันทึก จำนวน 1 ฉบับ รวม จำนวน 11 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติบรรยาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และจำนวนนับ สถิติที่ใช้หาค่าความตรงของเครื่องมือใช้สูตร IOC ใช้ p หาค่าความยากของแบบวัดทักษะ ใช้ r หาค่าอำนาจจำแนกของแบบวัดทักษะ ใช้ α หาค่าความเที่ยงของแบบสอบถามและ แบบวัดทักษะการประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนลำพระเพลิงพิทยาคม ปีการศึกษา 2566 สรุปได้ ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้ง 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
1.1 ระดับความต้องการจำเป็นของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
1.2 ระดับความเป็นไปได้ของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
2.1 ระดับความเหมาะสมของงบประมาณ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
2.2 ระดับความเหมาะสมของพื้นที่ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
3.1 ร้อยละของกิจกรรมตามโครงการที่ดำเนินการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด
3.2 ร้อยละของการติดตามโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต ผ่านเกณฑ์การประเมิน 9 ตัวชี้วัด และไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน 1 ตัวชี้วัด ดังนี้
4.1 ร้อยละของนักเรียนที่มีทักษะการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
4.2 ปริมาณผักสวนครัว พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับปานกลาง
4.3 ปริมาณผลไม้ พบว่า ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับน้อย
4.4 ปริมาณดิน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับปานกลาง
4.5 ปริมาณปลาดุก พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
4.6 ปริมาณผลผลิตที่นำไปจำหน่าย พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับปานกลาง
4.7 จำนวนรายได้ของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับปานกลาง
4.8 ความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
4.9 ความพึงพอใจของผู้ปกครองหรือผู้ซื้อผลผลิต พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก
4.10 ความพึงพอใจของครู พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
สรุปได้ว่า โครงการส่งเสริมการเรียนรู้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนลำพระเพลิงพิทยาคม ปีการศึกษา 2566 บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ เป็นโครงการที่สมควรดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
ข้อเสนอแนะ
1. จากผลการประเมินที่พบว่า ตัวชี้วัดปริมาณผลไม้ ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยได้เพียงระดับน้อย เนื่องจาก
ได้ผลผลิตแก้วมังกรน้อย สาเหตุเกิดจากปัญหาด้านระยะเวลาการเพาะปลูกแก้วมังกรอยู่ในช่วง กำลังเติบโต อีกทั้งช่วงเพาะปลูกเป็นช่วงฤดูฝน ปริมาณน้ำฝนที่มากจนเกินความต้องการก็ส่งผลทำให้ดอกหลุดและผลเน่าเสียเป็นบางส่วน ซึ่งผลผลิตแก้วมังกรนี้จะเริ่มทยอยออกผลได้เต็มที่ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2567 ดังนั้นจึงควรปรับโครงการ โดยการเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกให้มากขึ้น
2. จากผลการประเมินที่พบว่า ตัวชี้วัดปริมาณผักสวนครัว ผ่านเกณฑ์การประเมินเพียงระดับปานกลาง เนื่องด้วยระยะเวลาการเพาะปลูกช่วงแรกอยู่ในช่วงต้นฤดูฝน ปริมาณน้ำฝนที่มากเกินไปทำให้เกิด น้ำท่วมขังในพื้นที่เพาะปลูก เกิดปัญหาของโรคพืชในผัก เช่น โรครากเน่า ดังนั้นจึงควรปรับโครงการ โดยการยกแปลงปลูกให้สูงขึ้นจะช่วย ให้น้ำระบายได้ดี รวมทั้งลดปัญหาน้ำท่วมขังบริเวณรากพืชอีกด้วย
3. จากผลการประเมินที่พบว่า ตัวชี้วัดปริมาณดิน ผ่านเกณฑ์การประเมินเพียงระดับปานกลาง เช่นเดียวกับปริมาณผัก เนื่องจากวัสดุที่ใช้ในการปรับปรุงดิน เช่น ปุ๋ยคอก แกลบดิบ ขุยมะพร้าว มีจำนวนจำกัด ปริมานของวัสดุขึ้นอยู่ กับปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถกำหนดได้ เช่น ในฤดูฝนปุ๋ยคอกจะลดน้อยลงเนื่องจากบริเวณพื้นที่เลี้ยงวัวหรือคอกวัวของเกษตรกรเกิดน้ำท่วมขังบางส่วน การทำดินถุงนั้นต้องใช้มูลวัวแห้ง จะทำให้ไม่มีกลิ่น ดังนั้นจึงควรปรับโครงการ
โดยการจัดหาสถานที่หรือโรงเรือนที่ป้องกันน้ำฝน ซึ่งจะช่วยให้การพักปุ๋ยคอกหรือมูลวัว แกลบดิบ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่งผลดีโดยตรงต่อการเพิ่มปริมาณการผลิต