การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนเทศบาลเมืองขลุง
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินผลการดำเนินงานโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนเทศบาลเมืองขลุง 2 โดยใช้การประเมินรูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน กรรมการสถานศึกษา ครู นักเรียนและผู้ปกครอง ตามประเด็น 4 ด้านได้แก่ ด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product)
แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ 1) กลุ่มที่ให้ข้อมูลตามแบบสัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 1 คน และคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 15 คน 2) กลุ่มที่ให้ข้อมูลตามแบบสอบถาม ได้แก่ ครู จำนวน 26 คน นักเรียน จำนวน 441 คน และผู้ปกครอง จำนวน 441 คน 3) กลุ่มที่ให้ข้อมูลตามแบบสนทนากลุ่ม ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 จำนวน 6 ระดับชั้น ชั้นละ 10 คน รวม จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบสนทนากลุ่ม ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองผ่านการตรวจสอบคุณภาพ อยู่ในเกณฑ์ยอมรับได้ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการวิเคราะห์เนื้อหาสรุปข้อความคิด
ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้
1. ด้านบริบท (Context) พบว่า การประเมินความสอดคล้องของวัตถุประสงค์กับเป้าหมาย
ของโครงการ การจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียนที่เอื้อต่อสุขภาพของนักเรียน และความต้องการของ
บุคลากรจากการดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ความคิดเห็นโดยรวม อยู่ในระดับมาก
2. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) พบว่า การประเมินความพร้อมของวิธีการดำเนินการ กับงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และสมรรถภาพบุคลากรที่สนับสนุนการดำเนินงานของโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ความคิดเห็นโดยรวม อยู่ในระดับมาก
ข
3. ด้านกระบวนการ (Process) พบว่า การประเมินการควบคุมการบริหารโครงการเกี่ยวกับการวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการใช้ทรัพยากร การดำเนินโครงการ และการตรวจสอบโครงการ ความคิดเห็นโดยรวม อยู่ในระดับมาก
4. ด้านผลผลิต (Product) พบว่า ความสำเร็จของการดำเนินโครงการ
4.1 การดำเนินโครงการตามเกณฑ์มาตรฐานการประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ จำนวน 10 องค์ประกอบ ความคิดเห็นโดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด
4.2. ผลกระทบทางสุขภาพ (Health Impact Assessment : HIA ) ตามคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ ประกอบด้วย การมีสุขภาพดี (ดี) การดูแลสุขภาพ (เก่ง) และการมีความสุข (สุข) ความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด