LASTEST NEWS

22 ก.ค. 2567ห้ามเลี้ยงปลาหมอคางดำ ฝ่าฝืนจำคุก 2 ปี หรือปรับ 2 ล้านบาท 22 ก.ค. 2567ไม่ต้องผ่านภาค ก กรมกิจการเด็กและเยาวชน เปิดสอบพนักงานราชการ 77 อัตรา วุฒิม.6-ปริญญาตรี รับสมัคร ตั้งแต่ 25 ก.ค. - 1 ส.ค.2567 22 ก.ค. 2567บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด รับสมัครคัดเลือกบุคคลภายนอกเพื่อเข้าปฏิบัติงาน จำนวน 219 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 ก.ค.2567 22 ก.ค. 2567สภากาชาดไทย รับสมัคร เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ 3-6 (Internal Audit) วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 20,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 22 ก.ค. 2567สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ รับสมัครลูกจ้างชั่วคราว 19 อัตรา เงินเดือน 16,500 - 19,250 บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 14 สิงหาคม พ.ศ. 2567 22 ก.ค. 2567โรงเรียนระยองวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 31 ก.ค.2567 20 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 28 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 20 ก.ค. 2567ถึงคิวปรับเงินเดือน “ขั้นต่ำ” รอบใหม่ เฉพาะ ขรก.ท้องถิ่นแรกบรรจุ จ่อใช้ 1 พ.ค. ปีหน้า “ป.ตรี” สตาร์ท 18,200 บาท 19 ก.ค. 2567(หมดบัญชี 4 วิชาเอก) สพป.อุบลราชธานี เขต 3 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 128 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 18 ก.ค. 2567สพป.กระบี่ เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 52 อัตรา - รายงานตัว 23 ก.ค.2567

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ

usericon

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เรื่องพลังงานความร้อน รายวิชาวิทยาศาสตร์ 2 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เรื่องพลังงานความร้อน รายวิชาวิทยาศาสตร์ 2 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เรื่องพลังงานความร้อน รายวิชาวิทยาศาสตร์ 2 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เรื่องพลังงานความร้อน รายวิชาวิทยาศาสตร์ 2 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 4) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เรื่องพลังงานความร้อน รายวิชาวิทยาศาสตร์ 2 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ดังนี้ 4.1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนจากการใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เรื่องพลังงานความร้อน รายวิชาวิทยาศาสตร์ 2 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 4.2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนจากการใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เรื่องพลังงานความร้อน รายวิชาวิทยาศาสตร์ 2 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1และ 5) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เรื่องพลังงานความร้อน รายวิชาวิทยาศาสตร์ 2 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 โรงเรียนบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 35 คน ได้มาโดยวิธีสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) และใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม โรงเรียนใช้วิธีการจัดห้องเรียนแบบคละความสามารถของนักเรียน นักเรียนแต่ละห้องมีผลการเรียนไม่แตกต่างกัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสนทนากลุ่ม แบบวิเคราะห์เอกสาร เครื่องมือประกอบการใช้รูปแบบการเรียนการสอน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (X-Bar) ร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t - test for dependent, one sample)
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เรื่องพลังงานความร้อน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (ME6PDE Model) ประกอบไปด้วยขั้นตอนการการเรียนการสอน จำนวน 4 ขั้น และ 6 กระบวนการส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ขั้นที่ 1 กระตุ้นความสนใจ (Motivation: M), ขั้นที่ 2 จัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ (Education: E6P), กำหนดปัญหา (Problem Define: P), วิเคราะห์ข้อมูลของปัญหา (Problem Analyze: P), วางแผนแก้ปัญหา (Problem Solution: P), ลงมือปฏิบัติแก้ปัญหา (Problem Practice: P), ประเมินผลการแก้ปัญหา (Problem Assessment: P), สรุปผลการแก้ปัญหา (Problem Conclusion: P), ขั้นที่ 3 อภิปรายสะท้อนความรู้ (Discussion: D) และ ขั้นที่ 4 สรุปและประเมินผล (Evaluation: E)
2. รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เรื่องพลังงานความร้อน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เรื่องพลังงานความร้อน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เรื่องพลังงานความร้อน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เรื่องพลังงานความร้อน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (X-Bar) โดยรวมเท่ากับ 4.60 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.64

คำสำคัญ: การเรียนรู้แบบร่วมมือ, การเรียนรู้เชิงรุก, การแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^