การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ของครูที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแบบ
เชิงบูรณาการของทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ โรงเรียนเทศบาล ๕ เทศบาลเมืองปัตตานี
ชื่อผู้วิจัย นางสาวนันทวรรณ คงสีปาน
ปีการศึกษา 2566
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ของครูที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแบบร่วมมือกันเชิงบูรณาการของทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ โรงเรียนเทศบาล ๕ เทศบาลเมืองปัตตานี 2) ออกแบบและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ของครูที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแบบร่วมมือกันเชิงบูรณาการของทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ของครูที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแบบร่วมมือกันเชิงบูรณาการของทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และ 4) ประเมินความพึงพอใจและปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการจัดการเรียนรู้ของครูที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแบบร่วมมือกันเชิงบูรณาการของทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ครู โรงเรียนเทศบาลเทศบาล ๕ เทศบาลเมืองปัตตานี จำนวน 28 คน และนักเรียน จำนวน 234 คน (สุ่มตัวอย่างแบบง่าย) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินทักษะแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ของครู และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ทดสอบทีแบบไม่อิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. การศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ของครูที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแบบร่วมมือกันเชิงบูรณาการของทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ครูมีความต้องการที่จะพัฒนาตนเองในการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเชิงบูรณาการของทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้เพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้
2. การออกแบบและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ของครูที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแบบร่วมมือกันเชิงบูรณาการของทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า BUKAR Model นำไปดำเนินการพัฒนาครูโดยการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการและการนิเทศภายใน เพื่อวัดทักษะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแบบร่วมมือกันเชิงบูรณาการของทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ปรากฏว่า มีความเหมาะสมและเป็นไปได้
3. การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ของครูที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแบบร่วมมือกันเชิงบูรณาการของทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้มีการนำรูปแบบการประชุมเชิงปฏิบัติการและการนิเทศภายในไปใช้ในการดำเนินงานให้แก่ครู ครูมีความรู้ ความเข้าใจ ในการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเชิงบูรณาการได้ ดังผลการทดลองก่อนดำเนินการอยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.93, S.D. = 0.14) และหลังการดำเนินการอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.62, S.D. = 0.17) และผลการเปรียบเทียบการทดลองก่อน - หลังการดำเนินการมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. การประเมินความพึงพอใจและปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการจัดการเรียนรู้ของครูที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแบบร่วมมือกันเชิงบูรณาการของทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ปรากฏว่าครูและนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.56, S.D. = 0.21)