การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ สู่วิถีความพอเพียง
ของครูและนักเรียนโรงเรียนอนุบาลองค์การบริหารส่วนตำบลคลองขาม จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้วิจัย นายนิกสันต์ ทองวิเศษ
ปีที่วิจัย 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้สู่วิถีความพอเพียงตามหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง ของครูและนักเรียนโรงเรียนอนุบาลองค์การบริหารส่วนตำบลคลองขาม จังหวัดกาฬสินธุ์
ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) และขยายผล (Movement : M)
โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้สู่วิถีความพอเพียงตาม
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของครูและนักเรียนโรงเรียนอนุบาลองค์การบริหารส่วนตำบลคลองขาม
จังหวัดกาฬสินธุ์ 2) เพื่อออกแบบและสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้สู่วิถีความพอเพียงตามหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง ของครูและนักเรียนโรงเรียนอนุบาลองค์การบริหารส่วนตำบลคลองขาม จังหวัดกาฬสินธุ์
3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้สู่วิถีความพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของครู
และนักเรียนโรงเรียนอนุบาลองค์การบริหารส่วนตำบลคลองขาม จังหวัดกาฬสินธุ์ และ 4) เพื่อประเมินผลการ
ทดลองใช้รูปแบบและขยายผลไปยังสถานศึกษาอื่นที่เป็นเครือข่ายการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มตัวอย่าง ได้มาโดยการเปิดตารางของเครซซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan,
1970 : 608) และใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) ประกอบด้วย นักเรียนโรงเรียน
อนุบาลองค์การบริหารส่วนตำบลคลองขาม ปีการศึกษา 2565 จำนวน 181 คน ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียน
อนุบาลองค์การบริหารส่วนตำบลคลองขาม ปีการศึกษา 2565 จำนวน 181 คน และ ครูโรงเรียนอนุบาล
องค์การบริหารส่วนตำบลคลองขาม ปีการศึกษา 2565 จำนวน 28คนเครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย รูปแบบการ
จัดการเรียนรู้สู่วิถีความพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์
การสนทนากลุ่ม (Focused Group Discussion) เพื่อสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้
สู่วิถีความพอเพียง แบบสอบถามความพึงพอใจ แบบประเมินวิถีความพอเพียง และแบบทดสอบความเข้าใจ
เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้สู่วิถีความพอเพียงตามหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง ของครูและนักเรียนโรงเรียนอนุบาลองค์การบริหารส่วนตำบลคลองขาม จังหวัด
กาฬสินธุ์พบว่า สภาพการจัดการเรียนการสอนของครูยังไม่มีการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียง ยังไม่มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามเป้าหมายของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 ครบทั้ง 8 ข้อ โดยเฉพาะ คุณลักษณะการอยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน และการมี
จิตสาธารณะยังต้องได้รับการพัฒนาปลูกฝังเพื่อให้เกิดคุณลักษณะดังกล่าว และผู้เรียนยังมีความฟุ่มเฟือย เช่น
การใช้โทรศัพท์มือถือราคาแพง การใช้จ่ายที่สิ้นเปลือง ไม่รู้จักวางแผน ขาดการออม เป็นต้น จึงจำเป็นอย่ายิ่งที่
จะสร้างเสริมคุณลักษณะความพอเพียงให้เกิดขึ้นและคงอยู่ตลอดไป และผลการวิเคราะห์การจัดการเรียน
การสอนและการปฏิบัติของครูและนักเรียนโรงเรียนอนุบาลองค์การบริหารส่วนตำบลคลองขาม จากการ
สัมภาษณ์ครูจำนวน 28 คน พบว่า การจัดการเรียนการสอนของครูยังใช้รูปแบบการสอนแบบบรรยาย ให้
นักเรียนทำแบบฝึกหัด จากบทเรียนไม่ค่อยใช้สื่อ แหล่งเรียนรู้และฝึกให้นักเรียนคิด แก้ปัญหาได้อย่างมี
เหตุผลเท่าที่ควรและการจัดการเรียนรู้ขาดการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้สู่วิถีความพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ของครูและนักเรียนที่สร้างขึ้น เรียกว่า CALEPEN Model มีองค์ประกอบคือ 1) การพัฒนาหลักสูตร
สถานศึกษา (Curriculum : C) 2) การบริหารการศึกษา (Administration : A) 3) การจัดการเรียน
การสอน (Learning : L) 4) การประเมินผล (Evaluation : E) 5) การมีส่วนร่วมของชุมชน (Participation
: P) 6) การจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อม (Environment : E) และ 7) การสร้างเครือข่าย (Network :
N) รูปแบบการจัดการเรียนรู้สู่วิถีความพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยภาพรวม มีความ
เหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด (X= 4.59,S.D. = 0.60)
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้สู่วิถีความพอเพียงตามหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง ของครูและนักเรียนโรงเรียนอนุบาลองค์การบริหารส่วนตำบลคลองขาม จังหวัดกาฬสินธุ์
ปรากฎผลดังนี้ครูมีการปฏิบัติตนสู่วิถีพอเพียงตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยภาพรวมอยู่ใน
ระดับมากที่สุด (X= 4.71, S.D.= 0.53) นักเรียนมีการปฏิบัติตนสู่วิถีพอเพียงตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X= 4.56, S.D.= 0.65) และผู้ปกครอง มีการปฏิบัติตนสู่วิถี
พอเพียงตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X= 4.61, S.D.= 0.64)
4. ประเมินผลการทดลองใช้รูปแบบและขยายผลไปยังสถานศึกษาอื่นที่เป็นเครือข่ายการ
จัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ปรากฏผลดังนี้
4.1 ครู มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้สู่วิถีความพอเพียงตามหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X= 4.77, S.D.= 0.50) นักเรียน มีความพึงพอใจต่อ
รูปแบบการจัดการเรียนรู้สู่วิถีความพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยภาพรวมอยู่ในระดับ
มากที่สุด (X= 4.64, S.D.= 0.60) และผู้ปกครอง มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้สู่วิถีความ
พอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X= 4.64, S.D.= 0.60)
4.2 การขยายผลไปยังสถานศึกษาอื่นที่เป็นเครือข่ายการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง โดยการวิเคราะห์เปรียบเทียบคะแนนการทดสอบความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง ก่อนและหลังการอบรม พบว่า ก่อนการอบรมได้คะแนนเฉลี่ยรวม 175 คะแนน
คิดเป็นร้อยละ 43.75 และหลังการอบรมได้คะแนนเฉลี่ยรวม 375 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 93.75 แสดงว่าหลัง
การอบรมมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการอบรม