การประเมินโครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนโรงเรียนเทศบาลบ้านม่วง
ผู้ประเมิน ณัฐฉรียา วรรณจักร์
ปีการศึกษา 2565
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนโรงเรียนเทศบาลบ้านม่วง มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) ประเมินบริบท (Context Evaluation) 2) ประเมินปัจจัยนำเข้า (Inputs Evaluation) 3) ประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) 4) ประเมินผลผลิต (Products Evaluation) 5) ประเมินผลกระทบ (Impact Evaluation) 6) ประเมินประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation) 7) ประเมินความยั่งยืน (Sustainability Evaluation) และ 8) ประเมินการถ่ายโยงความรู้ (Transportability Evaluation) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนโรงเรียนเทศบาลบ้านม่วงในครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 44 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 12 คน (ไม่รวมกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นผู้แทนครูและผู้แทนผู้ปกครอง) ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 285 คน และนักเรียน จำนวน 285 คน (เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-มัธยมศึกษาปีที่ 6 เนื่องจากนักเรียนมีวุฒิภาวะเพียงพอที่จะตอบแบบสอบถาม) รวมทั้งสิ้น 626 คน ระยะเวลาดำเนินการประเมินโครงการ ปีการศึกษา 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน มี 3 ประเภท ได้แก่ 1) แบบสอบถามเป็นแบบเลือกตอบ (Check–list) 2) แบบการสัมภาษณ์ และ 3) แบบสอบถามความคิดเห็น การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการประเมินพบว่า
การประเมินโครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนโรงเรียนเทศบาลบ้านม่วง ใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPIEST MODEL ใน 8 ด้าน ผู้ประเมินได้สรุปผลการประเมินดังนี้ 1) การประเมินบริบท (Context Evaluation) ความคิดเห็นของครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมาก 2) การประเมินปัจจัยนำเข้า (Inputs Evaluation) ความคิดเห็นของครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมาก 3) การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) ความคิดเห็นของครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมากที่สุด 4) การประเมินผลผลิต (Products Evaluation) ประกอบด้วย 4.1) ประเมินผลผลิตของการจัดกิจกรรมจากการดำเนินโครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนโรงเรียนเทศบาลบ้านม่วง ตามความคิดเห็นของนักเรียน พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก 4.2) การประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนโรงเรียนเทศบาลบ้านม่วง พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 4.3) การประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อโครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนโรงเรียนเทศบาลบ้านม่วง พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 5) การประเมินผลกระทบ (Impact Evaluation) จากการสอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 6) การประเมินประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation) จากการสอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 7) ประเมินความยั่งยืน (Sustainability Evaluation) จากการสอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 8) การประเมินการถ่ายโยงความรู้ (Transportability Evaluation) จากการสอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก