การพัฒนารูปแบบการสอน SATI บูรณาการจิตตปัญญาศึกษา
เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย นางปณิตา ทางทอง
ปีการศึกษา 2566
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอน SATI บูรณาการจิตตปัญญาศึกษา เพื่อพัฒนา
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ดำเนินการวิจัยตามกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและเอกสาร
ที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนารูปแบบการสอน SATI บูรณาการจิตตปัญญาศึกษา เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา
และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อออกแบบและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการสอน SATI บูรณาการ จิตตปัญญาศึกษา เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม กลุ่มสาระ
การเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการสอน SATI บูรณาการจิตตปัญญาศึกษา เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 4) เพื่อประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการสอน SATI บูรณาการจิตตปัญญาศึกษา เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 5) เพื่อขยายผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอน SATI
บูรณาการจิตตปัญญาศึกษา เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม กลุ่มสาระ
การเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 การดำเนินการวิจัยและพัฒนา แบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 การสร้างและพัฒนารูปแบบการสอน ดำเนินการในปีการศึกษา 2562 ระยะที่ 2 การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอน ดำเนินการในปีการศึกษา 2563 ระยะที่ 3 ขยายผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น ดำเนินการ
ในปีการศึกษา 2565 และ 2566
กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยในระยะที่ 1 คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/7 ปีการศึกษา 2562 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในระยะที่ 2 คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 ปีการศึกษา 2563
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในระยะที่ 3 คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 ปีการศึกษา 2565
และ 2566 โรงเรียนเขื่องในพิทยาคาร อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีดังนี้ 1) เครื่องมือประกอบการใช้รูปแบบการสอน SATI บูรณาการจิตตปัญญาศึกษา ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้
จำนวน 12 แผน ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 12 ชุด สมุดจิตตปัญญาศึกษาและคลิปวีดิทัศน์ส่งเสริมคุณลักษณะตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา จำนวน 12 เรื่อง 2) แบบประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้
3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที
(t-test dependent)
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการสอน SATI บูรณาการจิตตปัญญาศึกษา เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มี 3 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) องค์ประกอบด้านแนวคิดและทฤษฎีพื้นฐาน
2) องค์ประกอบด้านกระบวนการ 3) องค์ประกอบด้านแนวทางการนำรูปแบบการสอนไปใช้
มีขั้นตอนการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการสอน 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ขั้นตอนที่ 1 ขั้นเตรียมความพร้อม (S : Smart Start) 2) ขั้นตอนที่ 2 ขั้นทำกิจกรรมการเรียนรู้ (A : Active Learning) 3) ขั้นตอนที่ 3
ขั้นสร้างสรรค์ผลงาน (T : Target Together) 4) ขั้นตอนที่ 4 ขั้นสรุปองค์ความรู้ (I : Impressive Concept)
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอน SATI บูรณาการ
จิตตปัญญาศึกษา เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม กลุ่มสาระ
การเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
3. คุณลักษณะตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของนักเรียนที่เรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอน SATI บูรณาการจิตตปัญญาศึกษา เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 3 1) ประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน ดำเนินการประเมิน จำนวน 3 ครั้ง พบว่า นักเรียน
มีพฤติกรรมการเรียนรู้ดีขึ้นเป็นลำดับ ในการประเมินครั้งที่ 3 นักเรียนมีพฤติกรรมการเรียนรู้
ระดับ ดีมาก คิดเป็นร้อยละ 75.00 ระดับ ดี คิดเป็นร้อยละ 22.22 ระดับ พอใช้ คิดเป็นร้อยละ 2.78
2) ความคิดเห็นของนักเรียน ต่อคำถามหลังการชมวีดิทัศน์ จำนวน 12 เรื่อง และเขียนบันทึกพลังบวกของตนเอง โดยระบุคุณงามความดีของตนเอง ในสมุดจิตตปัญญาศึกษา สอดคล้องกับคุณลักษณะ
ตามแนวคิดจิตตปัญญา ได้แก่ ตระหนักรู้ภายในตนเอง มีความรักความเมตตา เห็นคุณค่าในตนเอง
และผู้อื่น มีจิตสำนึกต่อส่วนรวม
4. ความพึงพอใจของนักเรียนมีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอน SATI
บูรณาการจิตตปัญญาศึกษา เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับ มาก ( = 4.47)