LASTEST NEWS

03 ก.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศตำแหน่งว่างรับย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 03 ก.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศตำแหน่งว่างรับย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 02 ก.ค. 2567ด่วน! สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 182 อัตรา - รายงานตัว 5 ก.ค.2567 02 ก.ค. 2567สพป.หนองคาย เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 23 อัตรา - รายงานตัว 15 กรกฎาคม 2567 02 ก.ค. 2567โรงเรียนวัดสมุทรธาราม รับสมัครครูอัตราจ้าง ทุกสาขาวิชาเอก เงินเดือน 6,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 2 - 8 กรกฎาคม 2567 02 ก.ค. 2567สพป.อุดรธานี เขต 2 เรียกบรรจุพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน 9 อัตรา - รายงานตัว 8 ก.ค.2567 02 ก.ค. 2567สพม.ตาก เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 8 อัตรา - รายงานตัว 10 ก.ค.2567 02 ก.ค. 2567โรงเรียนวาปีปทุม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกศิลปะ เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 3-7 กรกฎาคม 2567 02 ก.ค. 2567สพฐ.เปิดแนวทางการหักเงิน 7 ขั้น แก้ปัญหาหนี้ครูและบุคลากร 02 ก.ค. 2567ข่าวดี!!! สำหรับน้อง ๆ ม.ปลาย ทั่วประเทศ กรมประชาสัมพันธ์ ขยายเวลา รับสมัครเข้าร่วมประกวดสื่อสร้างสรรค์ ชิงเงินรางวัลรวมกว่า 200,000 บาท 

การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่

usericon

การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่
เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้วย “PARTNER Model”
ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่
มงคล ใบแสง

โรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่, สังกัดเทศบาลนครเชียงราย กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น
* Corresponding author. E-mail address: mongkolb48@gmail.com
Received: xx January 2022; Revised: xx January 2022; Accepted: xx December 2022

Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้วย “PARTNER Model” ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย 2) สร้างและตรวจสอบรูปแบบการบริหาร สถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้วย “PARTNER Model” ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย 3) ทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษา และ 4) ประเมินผลรูปแบบการบริหารงานสถานศึกษา ผู้วิจัยดำเนินการวิจัยตามกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวิธีดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา และศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีในการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาที่ประสบความสำเร็จ ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้วย “PARTNER Model” ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้วย “PARTNER Model” ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย และขั้นตอนที่ 4 ประเมินผลรูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้วย “PARTNER Model” ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย ซึ่งเริ่มดำเนินการใช้รูปแบบในปีการศึกษา 2565
ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้วย “PARTNER Model” ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย มีองค์ประกอบหลัก 5 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 หลักการและเหตุผล องค์ประกอบที่ 2 วัตถุประสงค์ องค์ประกอบที่ 3 รูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้วย “PARTNER Model” ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย องค์ประกอบที่ 4 กลไกการบริหารงาน และองค์ประกอบที่ 5 เงื่อนไขความสำเร็จ ผลการประเมินร่างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้วย “PARTNER Model” ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย ที่พัฒนาขึ้นจากผู้เชี่ยวชาญ โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อนำไปทดลองใช้ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 และประเมินผลการใช้รูปแบบจากผู้เกี่ยวข้อง โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด และผู้ปฏิบัติงานมีความพึงพอใจ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Keywords : รูปแบบการบริหาร, การเรียนรู้ในวิถีใหม่, ยกระดับคุณภาพการศึกษา

Introduction
โรงเรียนเป็นองค์การทางการศึกษาที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาคุณภาพนักเรียน กระทรวงศึกษาธิการได้มีนโยบายในการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาโดยมีเจตนารมณ์ที่จะยกระดับคุณภาพการศึกษาและพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี คนเก่ง สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข โดยแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579 ได้กำหนดจุดมุ่งหมายการพัฒนาคนในศตวรรษที่ 21 ให้มีทักษะการเรียนรู้ การอ่านออก เขียนได้ คิดคำนวณได้ มีทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะการคิดแก้ปัญหา ทักษะด้านการคิดสร้างสรรค์ ทักษะการทำงานและมีความรอบรู้ พัฒนาคนให้เหมาะสมตามช่วงวัย มีค่านิยมตามบรรทัดฐานที่ดีทางสังคมเป็นคนดี มีสุขภาวะที่ดี มีคุณธรรมจริยธรรม มีระเบียบวิจัยและมีจิตสำนึกที่ดีต่อสังคมส่วนรวม โดยปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้การพัฒนาคนให้ประสบความสำเร็จและมีคุณภาพ คือ การยกระดับคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ การจัดกิจกรรมกระบวนการเรียนรู้ตามหลักสูตรอย่างมีคุณภาพและมาตรฐาน มีแหล่งเรียนรู้ สื่อตำราเรียน นวัตกรรมการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ มีระบบและกลไกการวัด การติดตามและประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ (ธีรศักดิ์ อุปไมยอธิชัย, 2560); (อัจฉรา นิยมาภา, 2561) การดำเนินการปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมายังไม่ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายและคุณภาพ ดังจะเห็นได้จากรายงานการวิจัย รายงานสภาวะการศึกษาไทย แนวคิดของนักการศึกษาและนักวิชาการ ที่ได้วิเคราะห์ถึงสาเหตุการปฏิรูปการศึกษาของไทยที่ไม่สามารถไปถึงคุณภาพได้นั้น มีสาเหตุสำคัญสรุปได้ดังนี้ 1) โครงสร้างการบริหารจัดการศึกษาเป็นแบบรวมศูนย์ 2) การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองส่งผลต่อการบริหารจัด 3) ระบบการศึกษาไม่เอื้อต่อการสร้างความรับผิดชอบ (Accountability) ทั้งในส่วนของการทดสอบระบบประเมินผลโรงเรียนและครู และระบบการเงินเพื่อการศึกษา 4) แนวคิดวัฒนธรรมที่มีต่อระบบการศึกษาของคนไทยที่มุ่งเน้นการทดสอบแบบท่องจำ วัฒนธรรมการศึกษาเพื่อการแข่งขัน การประกวด การประเมิน รวมถึงการประเมินของสถานศึกษาเพื่อรับรางวัลนำชื่อเสียงมาสู่ครู ผู้บริหาร และโรงเรียน 5) หลักสูตรการจัดการเรียนรู้ สื่อ และเทคโนโลยีไม่สอดคล้องกับการพัฒนาทักษะแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เด็กไทยมีชั่วโมงเรียนมาก จำนวนวิชามาก และมีxxxส่วน จำนวนชั่วโมงต่อวิชาเรียนหลักอาจยังไม่เหมาะสม และ 6) ระบบการพัฒนาผู้บริหาร ครู และ บุคลากรทางการศึกษา พบว่า ยังไม่มีการประเมินสมรรถนะตามวิชาชีพที่แท้จริง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แนวใหม่ที่จะพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (มนต์นภัส มโนการณ์, 2561)
เนื่องจากทักษะในศตวรรษที่ 21มีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตในโลกปัจจุบันที่ซับซ้อน ซึ่งประกอบด้วยทักษะที่หลากหลายและแตกต่างกันไป เช่น มีความใฝ่รู้ใฝ่เรียน มีความคิดสร้างสรรค์ และเรียนรู้แบบร่วมมือ เน้นทักษะทางด้านเทคโนโลยี รวมทั้งมีทัศนคติและค่านิยมที่พึงประสงค์ อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่ทักษะการคิดที่ซับซ้อน ทักษะการเรียนรู้และทักษะการสื่อสาร โดยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มากกว่าการท่องจำ (Saavedra and Opfer, 2012 : 5) การจัดการศึกษามีบทบาทหน้าที่หลักในการเตรียมคนที่มีความรู้ความสามารถ ทักษะและคุณลักษณะอันพึงประสงค์เท่าทันกับกระแสความเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จึงต้องเปลี่ยนแปลงทัศนะจากกระบวนทัศน์แบบดั้งเดิม (Tradition Paradigm) ไปสู่กระบวนทัศน์ใหม่ (New Paradigm) ที่เป็นการเรียนรู้เพื่อชีวิต สามารถนำทักษะที่ได้รับจากการเรียนรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2561) ผู้บริหารจึงควรมีแนวคิดที่ถูกต้องเกี่ยวกับความต้องการจำเป็น และสอดคล้องกับแนวทางการบริหารของหน่วยงานต้นสังกัด รวมทั้งมีแนวทางในการกำหนดนโยบายการจัดการศึกษาของโรงเรียนอย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียนและผู้เกี่ยวข้องหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2558) โดยต้องแสวงหาแนวทางจัดการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับองค์กรหรือกลไกต่าง ๆ ในชุมชนและในสังคม นั่นคือ การเรียนรู้แบบโครงงาน (Project-Based Learning : PBL) ที่บรรจบเข้ากับการเรียนรู้แบบ “สถานที่เป็นฐาน” (Place-Based Learning : PBL) เรียกว่า การเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (Community-Based Learning : CBL) นั่นเอง (วิจารณ์ พานิช, 2557) ซึ่งมีความแตกต่างจากการเรียนการสอนแบบเดิม กล่าวคือ การเรียนรู้แบบเดิมผู้เรียนรับการถ่ายทอดจากครูโดยตรง (Reception Learning) ในขณะที่การเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานมีการกระตุ้นให้ผู้เรียนได้ค้นพบ (Discovery Learning) มีการวิเคราะห์การประเมิน และการแก้ปัญหา โดยมีครูเป็นผู้กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความอยากเรียนรู้ (มณฑล จันทร์แจ่มใส, 2558) เพื่อส่งเสริมสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 จำนวน 5 ด้าน ดังนี้ 1) ความสามารถในการสื่อสาร 2) ความสามารถในการคิด 3) ความสามารถในการแก้ปัญหา 4) ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 5) ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นมาส่งผลต่อวิถีชีวิตคนไทย ทำให้เกิดรูปแบบการดำเนินชีวิตที่แตกต่างจากอดีตตามวิถีความปกติใหม่ (New Normal) ซึ่งส่งผลกระทบกับระบบการศึกษาทำให้สถานศึกษาต้องปรับตัวเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ให้สอดคล้องกับความปกติใหม่ที่เกิดขึ้น การเสริมสร้างทักษะทางด้านการใช้งานเทคโนโลยีที่เหมาะสม ถือเป็นสิ่งจําเป็นต่อการดำเนินชีวิตในวิถีใหม่ ที่ต้องปรับการจัดการศึกษาในยุคนี้จะกลายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ในทุก ๆ สถานที่ เพื่อให้การเรียนการสอนมีคุณค่ามากยิ่งขึ้น และเกิดการโต้ตอบมากยิ่งขึ้น ด้วยการนําเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในการเรียนการสอน (ธัญญ์นภัส วิรัตน์เกษม, 2564) นอกจากการพัฒนานักเรียนผ่านกระบวนการทางการศึกษาแล้ว การป้องกันและการช่วยเหลือแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดกับนักเรียนก็เป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกมิติ ทั้งด้านการสื่อสาร เทคโนโลยี ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาการระบาดของสารเสพติด ปัญหาครอบครัว ก่อใหเกิดความทุกข์ ความวิตกกังวล ความเครียด ซึ่งล้วนแต่เป็นผลเสียต่อสุขภาพจิตและสุขภาพกายของทุกคน จนนําไปสู่การเกิดปัญหาและสภาวะวิกฤติทางสังคม ดังนั้น ทุกภาคส่วนต้องพัฒนาตนเองให้ทันการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว และต้องเตรียมความพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นอีกในอนาคตที่เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกผันที่รวดเร็วยิ่งขึ้น ส่งผลให้การดำรงชีวิตเป็นวงจรของความเป็นปกติใหม่ (New Normal) อย่างไม่มีที่สิ้นสุด กล่าวคือ เมื่อวิกฤตการณ์ใดเกิดขึ้นย่อมต้องมีการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เป็นอยู่เดิมให้เหมาะสมกับความเปลี่ยนแปลงนั้นจากความปกติเดิมสู่ความปกติใหม่เสมอ (สุพริศร์ สุวรรณิก, 2564)
ดังนั้น การบริหารสถานศึกษาในวิถีใหม่ (New Normal) ต้องให้เป็นไปอย่างมีคุณภาพตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 มาตรา 39 กำหนดว่าให้ กระทรวงกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารงานทั่วไปไปยังคณะกรรมการและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาโดยตรง หลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจดังกล่าวให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ฉะนั้น บทบาทของสถานศึกษาจึงมีหน้าที่หลักในการบริหารและจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ครอบคลุมงานทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านงานวิชาการ งานงบประมาณ งานบุคลากร และงานบริหารทั่วไป ให้เกิดความสอดคล้องกับสังคมในยุคปัจจุบัน เพื่อบรรลุเป้าหมายของการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ คือ มุ่งสร้างคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคม มีความรู้ความสามารถ มีทักษะในการทำงาน มีคุณธรรมจริยธรรมตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ โดยรัฐบาลมุ่งเน้นให้คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ โดยมีเป้าหมายหลักสามประการ คือ พัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษา และการเรียนรู้ของคนไทย เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและเรียนรู้อย่างทั่วถึง และมีคุณภาพ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคมในการบริหารและจัดการศึกษา และมีกรอบแนวทางการปฏิรูปการศึกษาสี่ประการ คือ พัฒนาคณภาพคนไทยยุคใหม่ พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่ พัฒนาคุณภาพสถานศึกษา และแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่ และพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม่ (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2552) พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงโลกในยุคศตวรรษที่ 21 และการเสริมสร้างปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพของคน ทั้งในเชิงสถาบัน ระบบโครงสร้างของสังคมให้เข้มแข็ง สามารถเป็นภูมิคุ้มกันการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต (สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา, 2555)
โรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ เป็นโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครเชียงราย กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพการศึกษา จึงได้จัดการเรียนการสอนหลักสูตรคู่ขนานร่วมกับโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ มาตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๙ โดยเน้นการพัฒนานวัตกรรมและกระบวนการเรียนรู้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ มีวิชาที่เรียนเป็นภาษาอังกฤษในรายวิชาเพิ่มเติม ได้แก่ Math Science และ Phonics ที่สอนโดยครูชาวต่างชาติ สามารถบูรณาการกับชีวิตจริงของผู้เรียน และใช้แนวการสอนตามแบบโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เน้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ผ่านการใช้สื่อทำมือและการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในห้องเรียน มุ่งหวังพัฒนาให้นักเรียนเป็นผู้มีความรู้ ทักษะ ปลูกฝังให้นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีวินัย อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รวมถึงน้อมนำเอาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนและการใช้ชีวิตในประจำวันที่จะพัฒนาศักยภาพและทักษะด้านวิชาการของผู้เรียนตามมาตรฐานสากลที่บูรณาการกับชีวิตจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยในฐานะผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย ตระหนักถึงการยกระดับคุณภาพการศึกษา จึงสนใจที่จะพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้วย “PARTNER Model” ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ ซึ่งจะเป็นแนวทางให้โรงเรียนที่มีบริบทใกล้เคียงได้นำไปประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงการบริหารการศึกษาในโรงเรียนระดับประถมศึกษาให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อไป

Methods and Materials
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้วย “PARTNER Model” ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่
2. เพื่อสร้างและตรวจสอบรูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้วย “PARTNER Model” ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่
3. เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้วย “PARTNER Model” ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่
4. เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้วย “PARTNER Model” ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่
วิธีดำเนินการวิจัย
การวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้วย “PARTNER Model” ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย เป็นงานวิจัยที่มีลักษณะวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ผู้วิจัยกำหนดขั้นตอนการดำเนินงานทั้งหมด 4 ขั้นตอน ดังรายละเอียดต่อไปนี้
ขั้นตอนที่ 1 วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษา (Research : R1) โดยดำเนินการ 2 ตอน คือ
ตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย
1. ขั้นตอนดำเนินการ
1.1 ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการบริหารการศึกษา แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษา แนวคิดการบริหารคุณภาพด้วยวงจรเดมมิ่ง แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการศึกษาในวิถีชีวิตใหม่ และแนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบและการพัฒนารูปแบบ
1.2 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้างข้อสรุปจากการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
1.3 สังเคราะห์องค์ประกอบ/ตัวบ่งชี้ของการการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา เพื่อนำไปสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย และสร้างแบบสอบถามศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา
2. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน คณะครู จำนวน 20 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 487 คน
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน คณะครู จำนวน 20 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน โดยเก็บข้อมูลจากประชากร และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 215 คน โดยเทียบจำนวนประชากรทั้งหมด กับตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan)
3. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3.1 แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ของลิเคอร์ท (Likert)
3.2 การสร้างและการหาคุณภาพของเครื่องมือ
ผู้วิจัยศึกษาแนวคิด หลักการ ทฤษฎี สังเคราะห์องค์ประกอบ/ตัวบ่งชี้ของการดำเนินของการบริหารสถานศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา เพื่อนำไปสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย แล้วนำไปเสนอผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารการศึกษา จำนวน 5 ท่าน พิจารณาความเหมาะสม จากนั้นสร้างแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย โดยดำเนินการดังนี้
1) สร้างแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า(rating scale) ใหhเลือกตอบ 5 ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด เกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ ตามกรอบแนวคิดการวิจัย
2) นำแบบสอบถามไปให้ผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่านประเมินความตรงเชิงเนื้อหา (content validity)
3) คัดเลือกข้อคำถามที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามและจุดประสงค์ (Index of Item Objective Congruence: IOC) ตั้งแต่ 0.80 ขึ้นไป และปรับปรุงแก้ไขแบบสอบถามตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญและอาจารย์ที่ปรึกษา
4) นำแบบสอบถามไปทดลองใช้ (try out) กับครูโรงเรียนในเขตเทศบาลเชียงราย จำนวน 20 คน
5) นำข้อมูลที่ได้จากการทดลองใช้แบบสอบถาม (try out) ไปตรวจสอบหาความเชื่อมั่น (reliability) โดยใช้สูตร Cronbach’s alpha coefficient (Cronbach, 1970)
4. การเก็บรวบรวมข้อมูล
ประชุมครู และผู้ปกครอง เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ของการวิจัยพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย และขอเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่ผู้วิจัยกำหนดไว้ เมื่อได้รับแบบสอบถามกลับคืนมาแล้ว ผู้วิจัยดำเนินการตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบสอบถาม
5. การวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยนำข้อมูลมาวิเคราะห์ โดยการแจกแจงความถี่ และหาค่าร้อยละ แล้วจะนำเสนอรูปตารางประกอบความเรียงท้ายตาราง และวิเคราะห์หาความต้องการจำเป็นโดยใช้วิธีจัดลำดับความสำคัญแบบและหาผลต่างโดยใช้เทคนิค Modified Priority Needs Index (PNImodified)
ตอนที่ 2 ศึกษาแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ของโรงเรียนต้นแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา
ผู้วิจัยได้ศึกษาแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ของสถานศึกษาที่มีผลงานด้านการบริหารสถานศึกษาที่เป็นเลิศ ระหว่างปี พ.ศ. 2561–2563 อย่างต่อเนื่อง จำนวน 3 โรงเรียน โดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ได้แก่ 1) โรงเรียนเทศบาล 7 ฝั่งหมิ่น 2) โรงเรียนเทศบาล 1 ศรีเกิด และ 3) โรงเรียนเทศบาล 2 หนองบัว
1. ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนละ 1 คน และรองผู้อำนายการ โรงเรียนละ 1 คน จากสถานศึกษาที่มีผลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Practice) รวมทั้งสิ้น 6 คน
2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
2.1 แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง
2.2 การสร้างและการหาคุณภาพของเครื่องมือ
1) สร้างเป็นข้อคำถามของแบบสัมภาษณ์
2) นำข้อคำถามของแบบสัมภาษณ์ที่สร้างได้ไปให้ผู้เชี่ยวชาญ (ชุดเดิม)ตรวจสอบความเหมาะสมของแบบสัมภาษณ์ สำนวนภาษา และปรับปรุงตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ
3) นำแบบสัมภาษณ์ที่สร้างขึ้นเรียบร้อยแล้วไปให้ผู้เชี่ยวชาญ (ชุดเดิม) ในการตรวจสอบเครื่องมือวิจัย พิจารณาความสอดคล้องระหว่างประเด็นข้อคำถามในการสัมภาษณ์ กับวัตถุประสงค์และนิยามศัพท์เฉพาะ ในขั้นตอนนี้ใช้การวิเคราะห์ความสอดคล้อง (IOC : Index of Congruence) โดยผู้วิจัยเลือกข้อคำถามที่มีค่าความสอดคล้องตั้งแต่ .60 ขึ้นไป
4) ปรับปรุงแบบสัมภาษณ์ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ
3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยดำเนินการประสานงานกับหน่วยงานต้นสังกัดของผู้ให้ข้อมูลและสัมภาษณ์ด้วยตนเอง โดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่สร้างขึ้น ผู้วิจัยจัดเก็บข้อมูลด้วยวิธีการจดบันทึก ใช้เครื่องบันทึกเสียงและกล้องถ่ายภาพ
4. การวิเคราะห์ข้อมูล
วิเคราะห์แนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ของโรงเรียนต้นแบบด้านการบริหารสถานศึกษา จากการสัมภาษณ์ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษา (Development : D1)
1. ขั้นตอนดำเนินการ
1.1 ศึกษาทฤษฎี แนวคิด เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทฤษฎีการบริหารสถานศึกษา และการพัฒนารูปแบบการบริหารการศึกษา
1.2 นำข้อมูลที่ได้จากข้อ 1 มาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลสารสนเทศที่ได้ในขั้นตอนที่ 1 มายกร่างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้วย “PARTNER Model” ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย
1.3 นำร่างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้วย “PARTNER Model” ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย เบื้องต้น เสนอผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เพื่อให้ข้อเสนอแนะ โดยวิธีการสนทนากลุ่ม (Focus Group)
1.4 ปรับปรุงแก้ไขรูปแบบตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ
1.5 จัดทำคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้วย “PARTNER Model” ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย
2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
2.1 แบบประเมินร่างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้วย “PARTNER Model” ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย
2.3 คู่มือการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้วย “PARTNER Model” ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย
3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยได้ดำเนินการนำร่างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้วย “PARTNER Model” ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย เสนอผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 ท่าน วิพากษ์ร่างรูปแบบการบริหารฯ โดยการจัดสนทนากลุ่ม (Focus Group) และประเมินรูปแบบการบริหารฯ ด้วยแบบประเมินที่สร้างขึ้น
4. การวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยได้แบ่งข้อมูลที่ได้ออกเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย ข้อมูลเชิงปริมาณ และข้อมูลเชิงคุณภาพ ซึ่งผู้วิจัยจะรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณนำมาวิเคราะห์โดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) แล้วนำเสนอแบบพรรณนาวิเคราะห์ พร้อมทั้งดำเนินการปรับปรุงแก้ไขรูปแบบตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ จนได้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้วย “PARTNER Model” ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย ฉบับสมบูรณ์ สำหรับนำไปทดลองใช้ในขั้นตอนต่อไป
ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษา (Research : R2)
ในขั้นตอนนี้ผู้วิจัยได้นำรูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้วย “PARTNER Model” ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย มาทดลองใช้ในการบริหารสถานศึกษา โดยใช้แบบแผนการวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลหลังการทดลอง (One Group Post-test Only) และจากการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) จากเอกสารสำคัญ เพื่อถอดบทเรียนการปฏิบัติ โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. ขั้นตอนดำเนินการ
1.1 ผู้วิจัยดำเนินการชี้แจงแก่รองผู้อำนวยการ คณะครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ ทราบวิธีการดำเนินการตามคู่มือการใช้รูปแบบฯ และวิธีการประเมินผลหลังเสร็จสิ้นการทดลอง
1.2 ผู้เกี่ยวข้องดำเนินการตามคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้วย “PARTNER Model” ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย
1.4 วิเคราะห์ผลการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้วย “PARTNER Model” ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย
2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
แบบประเมินความเหมาะสมเชิงเนื้อหาของรูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้วย “PARTNER Model” ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย สำหรับรองผู้อำนวยการ ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
รวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบประเมินความเหมาะสมเชิงเนื้อหาของรูปแบบการบริหารสถานศึกษาฯ กับผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน คณะครู จำนวน 20 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน โดยเก็บข้อมูลจากประชากร ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 หลังการทดลองใช้รูปแบบการบริหารฯ
4. การวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยได้แบ่งข้อมูลที่ได้ออกเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย ข้อมูลเชิงปริมาณ และข้อมูลเชิงคุณภาพ ซึ่งผู้วิจัยจะรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณนำมาวิเคราะห์โดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) แล้วนำเสนอแบบพรรณนาวิเคราะห์
ขั้นตอนที่ 4 ศึกษาผลการประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษา (Development : D2)
ในขั้นตอนนี้เป็นการตรวจสอบยืนยันความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้วย “PARTNER Model” ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย และประเมินความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบที่พัฒนาขึ้น ซึ่งประเมินโดยผู้ที่เกี่ยวข้องหลังจากที่ได้ทดลองใช้ ได้แก่ ผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียนในปีการศึกษา 2565 โดยดำเนินการดังนี้
1. ขั้นตอนการดำเนินการ
นำรูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้วย “PARTNER Model” ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย ไปสอบถามความเหมาะสมและความเป็นไปได้ และประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบกับผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน
2. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน คณะครู จำนวน 20 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 487 คน
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน คณะครู จำนวน 20 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน โดยเก็บข้อมูลจากประชากร และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 215 คน โดยเทียบจำนวนประชากรทั้งหมด กับตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan)
3. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3.1 แบบประเมินความเหมาะสม และควา
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^