รายงานการประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ชื่อเรื่องประเมิน : รายงานการประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
โรงเรียนวัดวงฆ้อง(ราษฎร์สุริยศึกษา)
ชื่อผู้ประเมิน : นางสาวมนธิชา วงวิภาค
สถานศึกษา : โรงเรียนวัดวงฆ้อง(ราษฎร์สุริยศึกษา)
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2
ปีที่ประเมิน : ปีการศึกษา 2564
การประเมินโครงการครั้งนี้ผู้ประเมินได้ใช้รูปแบบประยุกต์ของรูปแบบการประเมินซิปป์ (CIPP) ของแดเนียล แอล สตัฟเฟิลบีม (D.L. Stufflebeam) (พิสณุ ฟองศรี. 2553 : 84) ในการประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดวงฆ้อง(ราษฎร์สุริยศึกษา) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินบริบทโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดวงฆ้อง(ราษฎร์สุริยศึกษา) 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดวงฆ้อง(ราษฎร์สุริยศึกษา) 3) เพื่อประเมินกระบวนการโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดวงฆ้อง(ราษฎร์สุริยศึกษา) 4) เพื่อประเมินผลผลิตโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดวงฆ้อง(ราษฎร์สุริยศึกษา)
กลุ่มตัวอย่างในการประเมินโครงการครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน ครูผู้สอน จำนวน 8 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 6 คน โดยคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) สำหรับผู้ปกครอง จำนวน 80 คน นักเรียน จำนวน 80 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตารางประมาณขนาดของกลุ่มตัวอย่างของเครจซีและมอร์แกน (Krejcie and Morgan) ของโรงเรียนวัดวงฆ้อง(ราษฎร์สุริยศึกษา) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 ปีการศึกษา 2564 รวมทั้งสิ้น จำนวน 175 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม จำนวน 4 ฉบับ เป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับของลิเคิร์ท (Likert’s Rating Scale)
ผลการประเมินโครงการสรุป ได้ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบทโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดวงฆ้อง(ราษฎร์สุริยศึกษา) โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า อันดับที่ 1 ผู้บริหารสถานศึกษากำหนดนโยบายชัดเจนในการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนวัดวงฆ้อง(ราษฎร์สุริยศึกษา) อยู่ในระดับมากที่สุด อันดับที่ 2 วัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการเป็นไปเพื่อช่วยเหลือนักเรียน และพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียนให้เป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุข อยู่ในระดับมาก อันดับที่ 3 ผู้บริหารสถานศึกษาเห็นความสำคัญ สนับสนุน ส่งเสริมและเป็นผู้นำในการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนวัดวงฆ้อง(ราษฎร์สุริยศึกษา) อยู่ในระดับมาก
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดวงฆ้อง(ราษฎร์สุริยศึกษา) ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า อันดับที่ 1 มีข้อมูลนักเรียนรายบุคคล ข้อมูลสารสนเทศที่สามารถใช้ประโยชน์ในการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนวัดวงฆ้อง(ราษฎร์สุริยศึกษา) อยู่ในระดับมาก อันดับที่ 2 ครูที่ปรึกษามีเจตคติที่ดีต่อการเป็นครูที่ปรึกษา มีความรัก ความเอื้ออาทร และเข้าใจธรรมชาติของนักเรียน อยู่ในระดับมาก อันดับที่ 3 มีการกำหนดปฏิทินการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลดำเนินงานตามโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนวัดวงฆ้อง(ราษฎร์สุริยศึกษา) อยู่ในระดับมาก
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดวงฆ้อง(ราษฎร์สุริยศึกษา) ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า อันดับที่ 1 มีการกำหนดปฏิทินการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลดำเนินงานตามโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนวัดวงฆ้อง(ราษฎร์สุริยศึกษา) อยู่ในระดับมากที่สุด อันดับที่ 2 มีการบันทึกและรายงานผลการศึกษานักเรียนเป็นรายบุคคลตามโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนวัดวงฆ้อง(ราษฎร์สุริยศึกษา) อยู่ในระดับมาก อันดับที่ 3 มีการคัดกรองนักเรียนแยกกลุ่ม เป็นกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มมีปัญหา ในแต่ละห้องเรียน และภาพรวมของโรงเรียน อยู่ในระดับมาก
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดวงฆ้อง(ราษฎร์สุริยศึกษา) ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าอันดับที่ 1 นักเรียนมีความเป็นอยู่ด้านเศรษฐกิจ และการดำเนินชีวิตที่เหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด อันดับที่ 2 ผู้ปกครอง หรือหน่วยงานอื่น ๆ มีการประสานความร่วมมือการทำงานร่วมกัน อยู่ในระดับมาก อันดับที่ 3 นักเรียนเข้าใจตนเองว่าเป็นคนอย่างไรต้องการอะไร มีเป้าหมายในการดำเนินชีวิต อยู่ในระดับมาก