รายงานการประเมินโครงการเรือนเพาะชำคุณธรรม
ปีการศึกษา 2565
ผู้ประเมิน นางปิยะกาญจณ์ วาณิชย์ปกรณ์
รองผู้อำนวยการชำนาญการ โรงเรียนเทศบาลเมืองท่าข้าม ๓
ปีการศึกษา 2565
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการเรือนเพาะชำคุณธรรม โรงเรียนเทศบาลเมืองท่าข้าม ๓ ปีการศึกษา 2565 ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนตามรูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) ใน 4 ด้าน คือ บริบทของโครงการ ปัจจัยนำเข้าของโครงการ กระบวนการดำเนินโครงการ และผลผลิตของโครงการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 13 คน นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 จนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 123 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 จนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 123 คนรวมทั้งสิ้น 259 คน เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนดำเนินโครงการ ระหว่างดำเนินโครงการ และหลังดำเนินโครงการ โดยใช้เครื่องมือในการประเมินประกอบด้วย แบบสอบถาม จำนวน 6 ฉบับ และแบบประเมิน จำนวน 1 ฉบับ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป มีผลการประเมิน และข้อเสนอแนะ ดังนี้
ผลการประเมินโครงการเรือนเพาะชำคุณธรรม โรงเรียนเทศบาลเมืองท่าข้าม ๓ ปีการศึกษา 2565 พบว่า ภาพรวมทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.87) และผลการวิเคราะห์การประเมินโครงการเรือนเพาะชำคุณธรรม โรงเรียนเทศบาลเมืองท่าข้าม ๓ ปีการศึกษา 2565 ด้านการมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์หลังเข้าร่วมโครงการ พบว่าระดับพฤติกรรมของนักเรียนด้านการมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์หลังเข้าร่วมโครงการเรือนเพาะชำคุณธรรม โรงเรียนเทศบาลเมืองท่าข้าม ๓ ปีการศึกษา 2565 ภาพรวมระดับพฤติกรรมดีขึ้นร้อยละ 96.75 ระดับพฤติกรรมเหมือนเดิมร้อยละ 3.25 และไม่มีนักเรียนพฤติกรรมแย่ลง แสดงว่าการเข้าร่วมโครงการทำให้นักเรียนมีพฤติกรรมด้านการมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ดีขึ้นจริง อยู่ในระดับมากที่สุด
ส่วนผลของการประเมินในภาพรวมของแต่ละด้าน และรายตัวชี้วัด มีดังนี้
1. ผลการประเมินประเด็นด้านบริบท พบว่า มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 3 ตัวชี้วัด ดังนี้
1.1 ระดับความต้องการจำเป็นของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด
1.2 ระดับความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด
1.3 ระดับความเป็นไปได้ของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 4 ตัวชี้วัด ดังนี้
2.1 ระดับความเหมาะสมของบุคลากรในการดำเนินโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด
2.2 ระดับความเหมาะสมของงบประมาณในการดำเนินโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ซึ่งอยู่ในระดับมาก
2.3 ระดับความเหมาะสมของวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ และสถานที่ ในการดำเนินโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด
2.4 ระดับการบริหารจัดการโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ พบว่า มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 4 ตัวชี้วัด ดังนี้
3.1 ระดับการวางแผนโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน และอยู่ในระดับมากที่สุด
3.2 ระดับการดำเนินงานโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน และอยู่ในระดับมากที่สุด
3.3 ระดับการติดตามและประเมินผล พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน และอยู่ในระดับมากที่สุด
3.4 ระดับการนำผลไปปรับปรุงพัฒนา พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน และอยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต พบว่า มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 4 ตัวชี้วัด ดังนี้
4.1 ความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษา พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน และอยู่ในระดับมากที่สุด
4.2 ความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด
4.3 ความพึงพอใจของผู้ปกครอง พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด
5. พฤติกรรมของนักเรียนด้านการมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์หลังเข้าร่วมโครงการเรือนเพาะชำคุณธรรม โรงเรียนเทศบาลเมืองท่าข้าม ๓ ปีการศึกษา 2565 ภาพรวม ระดับพฤติกรรมดีขึ้นร้อยละ 96.75 ระดับพฤติกรรมเหมือนเดิมร้อยละ 3.25 และไม่มีนักเรียนพฤติกรรม แย่ลง แสดงว่าการเข้าร่วมโครงการทำให้นักเรียนมีพฤติกรรมด้านการมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ดีขึ้นจริง อยู่ในระดับมากที่สุด
ข้อเสนอแนะ
1. การดำเนินโครงการส่งเสริมพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์นั้น สถานศึกษาควรวางแผนการดำเนินงานอย่างชัดเจน มีประสิทธิภาพ เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายร่วมมือกัน มีส่วนร่วมและสนับสนุนทั้งด้านงบประมาณ การวางแผนดำเนินโครงการ การดำเนินโครงการ การนิเทศ กำกับ ติดตามอย่างใกล้ชิด
2. ควรวางแผนจัดทำโครงการในปีต่อไปโดยออกแบบกำหนดกิจกรรมที่พัฒนาด้านงบประมาณด้วยการเสนอแผนงบประมาณให้เพียงพอต่อการจัดกิจกรรม และเปิดโอกาสให้ผู้ปกครอง ชุมชนมีส่วนร่วมในการสนับสนุนด้านงบประมาณ เพื่อให้สามารถดำเนินโครงการได้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้นและเป็นตามที่หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กำหนดไว้
3. ผู้บริหารและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ควรสนับสนุนให้ครู ผู้ปกครองและชุมชน มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมให้เกิดขึ้นในครอบครัว ชุมชน และสังคม เพื่อให้ทุกส่วนของสังคมมีส่วนร่วมและมีกระบวนการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมที่ต่อเนื่องและอยู่ในวิถีชีวิตของเด็กและเยาวชนทุกคน