รายงานผลการใช้คู่มือนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิด เพื่อพัฒนาครูในการ
ตามแนวคิดไฮสโคป (High Scope) เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2
ผู้วิจัย ธิติมา เรืองสกุล ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2
ปีที่วิจัย 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของคู่มือนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิด เพื่อพัฒนาครูในการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดไฮสโคป (High Scope) เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบความรู้ ความเข้าใจของครูปฐมวัย ก่อนและหลังการนิเทศโดยใช้คู่มือนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิด เพื่อพัฒนาครูในการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดไฮสโคป (High Scope) เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย 3) เพื่อศึกษาความสามารถของครูปฐมวัยที่ได้รับการนิเทศโดยใช้คู่มือนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิด เพื่อพัฒนาครูในการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดไฮสโคป (High Scope) เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูปฐมวัยที่มีต่อการนิเทศโดยใช้คู่มือนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิด เพื่อพัฒนาครูในการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดไฮสโคป (High Scope) เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย และ 5) เพื่อศึกษาผลการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดไฮสโคป (High Scope) เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นครูผู้สอนระดับปฐมวัยของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 28 โรงเรียน ซึ่งเป็นโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาโรงเรียนต้นแบบการจัดการศึกษาปฐมวัยตามแนวคิดไฮสโคป (High Scope) และเป็นโรงเรียนในการดูแลรับผิดชอบด้านการนิเทศของผู้วิจัย จำนวน 60 คน ได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และเด็กปฐมวัยของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 ปีการศึกษา 2563 ที่อยู่ในห้องเรียนของครูปฐมวัยที่จัดประสบการณ์ตามแนวคิดไฮสโคป (High Scope) เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย จำนวน 2,106 คน ได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) คู่มือนิเทศชี้แนะสะท้อนคิด เรื่อง การจัดประสบการณ์ตามแนวคิดไฮสโคป (High Scope) เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย 2) แบบทดสอบความรู้ ความเข้าใจ เรื่อง การจัดประสบการณ์ตามแนวคิดไฮสโคป (High Scope) เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย 3) แบบประเมินความสามารถในการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดไฮสโคป (High Scope) เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ และ 5) แบบประเมินผลพัฒนาการเด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความแตกต่างโดยใช้สถิติ t - test (Dependent)
ผลการวิจัย พบว่า
1. คู่มือนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิด เพื่อพัฒนาครูในการจัดประสบการณ์ตามแนวคิด
ไฮสโคป (High Scope) เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 84.79/84.17 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
2. ครูปฐมวัยที่ได้รับการนิเทศโดยใช้คู่มือนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิด มีความรู้ ความเข้าใจ
การจัดประสบการณ์ตามแนวคิดไฮสโคป (High Scope) เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย หลังการใช้คู่มือนิเทศสูงกว่าก่อนการใช้คู่มือนิเทศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ครูปฐมวัยที่ได้รับการนิเทศโดยใช้คู่มือนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิด มีความสามารถในการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดไฮสโคป (High Scope) เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52, S.D. =0.53) เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ การจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียน ด้านการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดไฮสโคป (High Scope) 3 ขั้นตอน (วางแผน-ปฏิบัติ-ทบทวน) และด้านการวัดและประเมินผลตามแนวคิดไฮสโคป (High Scope) ตามลำดับ
4. ครูปฐมวัย มีความพึงพอใจต่อการนิเทศโดยใช้คู่มือนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิด เพื่อพัฒนา
ครูในการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดไฮสโคป (High Scope) เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย อยู่ในระดับพึงพอใจมาก ( = 4.49, S.D. =0.51)
5. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดไฮสโคป (High Scope) เพื่อส่งเสริม
พัฒนาการเด็กปฐมวัย จากครูปฐมวัยที่เข้ารับการนิเทศ มีผลการประเมินพัฒนาการโดยรวมทุกด้าน อยู่ในระดับดี เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านร่างกาย ร้อยละ 88.36 ด้านสังคม ร้อยละ 86.67 ด้านอารมณ์ ร้อยละ 84.87 และด้านสติปัญญา ร้อยละ 75.69