การใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจองร่วมกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก(
บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง : การใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจองร่วมกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก(Active Learning)
เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ชื่อผู้วิจัย : นางสาววันเพ็ญ ชูเทพ ตำแหน่งครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนบ้านกลอง อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช สำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3
ปีที่วิจัย : 2566
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานในการพัฒนาทักษะการอ่านจากหนังสือภาพประกอบคำคล้องจองร่วมกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อสร้างและพัฒนาประสิทธิภาพของหนังสือภาพประกอบคำคล้องจองร่วมกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจองร่วมกับการจัด การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงแก้ไขหนังสือภาพประกอบคำคล้องจองร่วมกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ประชากร คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านกลอง อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) หนังสือภาพประกอบคำคล้องจองร่วมกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 10 เรื่อง 2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 10 แผน เวลาเรียนจำนวน 20 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัยชนิด 3 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจแบบมาตราส่วนประมาณค่าชนิด 5 ระดับของลิเคิร์ท จำนวน 10 ข้อ 5)แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) คำถามปลายเปิดจำนวน 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ (t – test Dependent Samples)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาความต้องการและข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาทักษะการอ่านจากหนังสือภาพประกอบคำคล้องจองร่วมกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จากผู้เข้าร่วมการสนทนากลุ่ม พบว่า 1) สภาพความจริงของคุณภาพการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 1 จากการรายงานข้อมูลของผู้วิจัย
ข
ซึ่งได้มาจากการประเมินความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เมื่อสิ้นสุด ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 18 คน พบว่า นักเรียนมีผลการประเมินระดับพอใช้ถึงระดับดีรวมร้อยละ 66.67 เท่านั้น ซึ่งต่ำกว่าค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ คือ มีผลการประเมินระดับพอใช้ถึงระดับดีรวมร้อยละ 75 ขึ้นไป 2) นักเรียนทุกคนมีความจำเป็นต้องพัฒนาทักษะการอ่านเป็นทักษะพื้นฐานที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับการแสวงหาความรู้ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และการพัฒนาตนเองในระดับที่สูงขึ้น 3) ประเด็นความต้องการและจำเป็นพื้นฐานในการพัฒนาทักษะ การอ่าน โรงเรียนจะต้องประกาศเป็นนโยบายที่สำคัญเร่งด่วนในการแก้ปัญหา ครูผู้สอน จะต้องพัฒนาและเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสม ทั้งสื่อการเรียนรู้ที่มีความน่าสนใจ วิธีการจัดการเรียนรู้ ในรูปแบบต่าง ๆ การวัดและประเมินผลที่เหมาะสม โดยสร้างเครือข่ายการจัดการเรียนรู้ร่วมกับผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้อง
2. ประสิทธิภาพของหนังสือภาพประกอบคำคล้องจองร่วมกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเท่ากับ 82.73/80.85 สอดคล้องกับสมมุติฐานการวิจัยข้อ 1 ที่กำหนดไว้
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการเรียนโดยใช้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัด การเรียนรู้โดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจองร่วมกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยค่า t ที่ได้จากการคำนวณมีค่าเท่ากับ 18.48 มีค่ามากกว่าค่า t ที่ได้จากการเปิดตาราง (.01t 17=2.5669) สอดคล้องกับสมมุติฐานการวิจัยข้อ 2 ที่กำหนดไว้
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการการเรียนโดยใช้หนังสือภาพประกอบ คำคล้องจองร่วมกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.54 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.54 สอดคล้องกับสมมุติฐานการวิจัยข้อ 3 ที่กำหนดไว้
5. ผลการประเมินและปรับปรุงแก้ไข พบว่า ผลการเรียนโดยใช้หนังสือภาพประกอบ คำคล้องจองร่วมกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.24 และสามารถจัดลำดับได้ ดังนี้ คือ ลำดับที่ 1 เรื่องที่ 1 ผลไม้นานา ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.56 ลำดับที่ 2 ได้แก่ เรื่องที่ 7 มะม่วงเบา เรื่องที่ 9 สัตว์เลี้ยงแสนรัก และเรื่องที่ 10 ยานพาหนะ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.44 ลำดับที่ 5 ได้แก่ เรื่องที่ 5 ตาลโตนด และเรื่องที่ 6 กล้วยมีประโยชน์ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.22 ลำดับที่ 7 คือ เรื่องที่ 2 ดอกไม้ แสนสวย ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.12 และลำดับที่ 8 ได้แก่ เรื่องที่ 3 กินผักแข็งแรง เรื่องที่ 4 ดื่มนมกันเถอะ และเรื่องที่ 8 ยางพาราบ้านฉัน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.00