การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมครูดูแลนักเรียนประจำหอพักนอนฯ
โรงเรียน สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน
ผู้วิจัย ชนะ สุ่มมาตย์
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) พัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมครูดูแลนักเรียนประจำ หอพักนอนเพื่อเป็นนักจิตวิทยาโรงเรียน สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 2) จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายการพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมครูดูแล นักเรียนประจำหอพักนอนเพื่อเป็นนักจิตวิทยาโรงเรียน สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน การวิจัยครั้งนี้ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) แบ่งเป็นขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 พัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมครูดูแลนักเรียนประจำหอพักนอนเพื่อเป็นนักจิตวิทยาโรงเรียน สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ศึกษาสภาพและความต้องการพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมครูดูแลนักเรียนประจำหอพักนอนเพื่อเป็นนักจิตวิทยาโรงเรียน จากครูดูแลนักเรียนประจำพักนอน 127 คน ศึกษาแนวทางการพัฒนาหลักสูตร ประชุมปฏิบัติการผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน และตรวจสอบความเหมาะสม และความเป็นไปได้ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน สร้างหลักสูตรการฝึกอบรมครูดูแลนักเรียนประจำหอพักนอนเพื่อเป็นนักจิตวิทยาโรงเรียน สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยกำหนดองค์ประกอบ เสนอผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน พิจารณาความเหมาะสม และความถูกต้อง สร้างหลักสูตรโดยการสัมมนาปฏิบัติการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 15 คน คณะทำงาน 8 คน และตรวจสอบความเหมาะสม ความถูกต้อง ความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ โดยจัดสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ศึกษาประสิทธิผล
การใช้หลักสูตรการฝึกอบรมครูดูแลนักเรียนประจำหอพักนอนเพื่อเป็นนักจิตวิทยาโรงเรียน
โดยการทดลองใช้กับครูดูแลนักเรียนประจำหอพักนอน จำนวน 40 คน ประเมินความรู้ความเข้าใจ
ก่อนและหลังการฝึกอบรม และประเมินความพึงพอใจ ขั้นตอนที่ 2 จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายการพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมครูดูแลนักเรียนประจำหอพักนอนเพื่อเป็นนักจิตวิทยาโรงเรียน สังกัด
สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยจัดประชุมปฏิบัติการผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 15 คน และ ตรวจสอบความเหมาะสมของข้อเสนอเชิงนโยบาย โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสอบถาม แบบตรวจสอบ สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลโดย
สังเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์เนื้อหา แจกแจงความถี่ เรียงลำดับความสำคัญของข้อมูล และนำมาสรุปเป็นความเรียง
ผลการวิจัยพบว่า
1. การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมครูดูแลนักเรียนประจำหอพักนอนเพื่อเป็นนักจิตวิทยาโรงเรียน สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน พบว่า เป็นหลักสูตรที่เน้นสมรรถนะเป็นฐาน(Competency Based) ประกอบด้วย 3 สมรรถนะ ดังนี้ สมรรถนะที่ 1 การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับนักเรียนประจำหอพักนอน สมรรถนะที่ 2 จิตวิทยาและขอบข่ายการเป็นนักจิตวิทยาโรงเรียน สมรรถนะที่ 3 การพัฒนานวัตกรรมโดยใช้กระบวนการวิจัย และ 1 กิจกรรมเสริมการอบรม (Experience Activities) ใช้เวลาฝึกอบรม จำนวน
3 วัน จำนวน 32 ชั่วโมง ผลการตรวจสอบ 4 ด้าน ประกอบด้วย ความถูกต้อง ความเหมาะสม
ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ ในภาพรวมทุกด้านมีผลการตรวจสอบอยู่ในระดับมากที่สุด และผลการศึกษาประสิทธิผลการใช้หลักสูตรการฝึกอบรมครูดูแลนักเรียนประจำหอพักนอนเพื่อเป็นนักจิตวิทยาโรงเรียน สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจหลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนเข้ารับการฝึกอบรม และความพึงพอใจในภาพรวมครูดูแลนักเรียนประจำหอพักนอนมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด
2. ข้อเสนอเชิงนโยบายการพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมครูดูแลนักเรียนประจำหอพักนอน
เพื่อเป็นนักจิตวิทยาโรงเรียน สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 วัตถุประสงค์ ส่วนที่ 2 แนวดำเนินการของข้อเสนอ
เชิงนโยบาย มี 4 ระดับ คือ 1) ข้อเสนอเชิงนโยบายระดับกระทรวงศึกษาธิการ 2) ข้อเสนอเชิงนโยบายระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) ข้อเสนอเชิงนโยบายระดับสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ 4) ข้อเสนอเชิงนโยบายระดับกลุ่มสถานศึกษาและสถานศึกษา และ ส่วนที่ 3 กลไก
การขับเคลื่อนสู่ความสำเร็จ และผลการตรวจสอบความเหมาะสมของข้อเสนอเชิงนโยบาย ในภาพรวม
มีความเหมาะสม คิดเป็นร้อยละ 100
คำสำคัญ : การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมครูดูแลนักเรียนประจำหอพักนอน, นักจิตวิทยาโรงเรียน,
ข้อเสนอเชิงนโยบาย