การพัฒนารูปแบบการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร ที่เน้นประสบการณ์ทางภาษา
เพื่อส่งเสริมทักษะการพูดและการเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์ สำหรับ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย นางพรทิพา ศรีสุภา
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านหนองบง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร
ปีที่วิจัย 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารที่เน้นประสบการณ์ทางภาษา เพื่อส่งเสริมทักษะการพูดและการเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) พัฒนารูปแบบการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารที่เน้นประสบการณ์ทางภาษา เพื่อส่งเสริมทักษะการพูดและการเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) ทดลองใช้รูปแบบการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารที่เน้นประสบการณ์ทางภาษา เพื่อส่งเสริมทักษะการพูดและการเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ4) ประเมินผลการใช้การพัฒนารูปแบบการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารที่เน้นประสบการณ์ทางภาษา เพื่อส่งเสริมทักษะการพูดและการเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในด้านความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารที่เน้นประสบการณ์ทางภาษา เพื่อส่งเสริมทักษะการพูดและการเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองบง ที่เรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 16 คน ซึ่งได้มาจากการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบประเมินความต้องการพื้นฐานเพื่อการจัดการเรียนรู้ รายวิชาภาษาอังกฤษ อ 16101 2) แบบสัมภาษณ์ครูเพื่อรวบรวมแนวคิดในการจัดกิจกรรมรูปแบบการสอน 3) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารที่เน้นประสบการณ์ทางภาษา เพื่อส่งเสริมทักษะการพูดและการเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 4) แบบวัดผลสัมฤทธิ์เพื่อส่งเสริมทักษะการพูดและการเขียนเชิงสร้างสรรค์ 5) แบบสัมภาษณ์ 6) แบบประเมินการพูดและการเขียนตามสภาพจริง 7) แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t-test) แบบDependent Samples และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานพบว่า โดยภาพรวมแล้ว นักเรียนมีความต้องการพัฒนาทักษะการพูดและการเขียน ได้แก่เนื้อหาเกี่ยวกับภาษาเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 รายวิชาภาษาอังกฤษ อ 16101 และเนื้อหาที่สอดคล้องกับหลักสูตรโรงเรียนบ้านหนองบง พุทธศักราช 2564 (ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ได้แก่ ภาษาเพื่อการสื่อสาร ภาษาพาสนุก ภาษาพาอ่าน ภาษาเพื่ออาชีพ ภาษาพาคิด ภาษาพาใช้ และภาษาพาเที่ยว จากการสัมภาษณ์ครูผู้สอนภาษาอังกฤษ สรุปข้อมูลสอดคล้องกันว่า นักเรียนไม่มีความรู้ความเข้าใจในการเรียนภาษาเพื่อการสื่อสาร ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา ทำให้ขาดความกระตือรือร้นในการเรียน จนไม่สามารถพัฒนาทักษะการพูดและการเขียนเชิงสร้างสรรค์ได้ การจัดการสอนด้วยรูปแบบการสอน SEESA Model นี้ ช่วยส่งเสริมทำให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจสามารถพูดและเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์ได้เพิ่มขึ้น
2. ผลการพัฒนารูปแบบการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร ที่เน้นประสบการณ์ทางภาษา เพื่อส่งเสริมทักษะการพูดและการเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีชื่อเรียกว่า รูปแบบการสอน SEESA Model มีองค์ประกอบ ดังนี้ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กระบวนการกิจกรรม และสิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ได้แก่ ระบบสังคม หลักการตอบสนอง และสิ่งสนับสนุน มีขั้นตอนการสอน 5 ขั้น ดังนี้ 1) ขั้นกระตุ้นการรู้ภาษา (Stimulated in Language Stage) 2) ขั้นฝึกปฏิบัติ (Explanation Stage) 3) ขั้นร่วมมือกันเรียนรู้ (Educational Exchange Stage) 4) ขั้นการเรียนรู้ในด้านการบริการ (Social Service Stage) 5) ขั้นประเมินผล (Authentic Performance and Assessment) ซึ่งรูปแบบการสอนนี้ได้รับการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน ให้ความเห็นว่าอยู่ในระดับดี แสดงว่ารูปแบบการสอนมีความสอดคล้องกับหลักการของรูปแบบการสอนและแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร ที่เน้นประสบการณ์ทางภาษา เพื่อส่งเสริมทักษะการพูดและการเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์ ที่มีคุณภาพอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุดและนำรูปแบบการสอนไปใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.40/81.88
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการสอน SEESA Model ที่พัฒนาขึ้นส่งเสริมความสามารถด้านการพูดและการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 นักเรียนมีความสนใจ กระตือรือร้นในการเรียนรู้ร่วมกันทั้งงานรายบุคคลและงานกลุ่ม อย่างตั้งใจ ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรมเป็นอย่างดี พบว่า ผลการเรียนรู้ความสามารถด้านกการพูดและการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สูงขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05
4) ผลการประเมินรูปแบบการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารที่เน้นประสบการณ์ทางภาษา เพื่อส่งเสริมทักษะการพูดและการเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารเน้นประสบการณ์ทางภาษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( X-bar= 4.46, S.D. = 0.61)