การประเมินโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้และบริหารจัดการตามหลัก
ผู้วิจัย นายเกียรติศักดิ์ สาคะศุภฤกษ์
ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
ปีที่ดำเนินการ ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
โรงเรียนโนนไทยคุรุอุปถัมภ์2 ได้จัดทำโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้และบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนโนนไทยคุรุอุปถัมภ์2 ขึ้น เพื่อแก้ปัญหาและส่งเสริมให้นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวันและนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาตนเอง สถานศึกษา ชุมชนและประเทศชาติ การดำเนินโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้และบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนโนนไทยคุรุอุปถัมภ์2 มีองค์ประกอบและปัจจัยหลายประการที่จะส่งผลต่อความสำเร็จของโครงการเช่น ความพร้อมของผู้บริหารและบุคลากรในโรงเรียน ชุมชน ความพร้อมด้านการบริหารจัดการ สถานที่และงบประมาณ ซึ่งการที่จะทราบว่าการดำเนินงานโครงการเกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพเพียงใด มีความพร้อมหรือขาดความพร้อมในเรื่องใด ควรปรับปรุงแก้ไขสิ่งใด แผนงานใดที่ทำแล้วประสบผลสำเร็จหรือล้มเหลว จึงจำเป็นต้องมีการประเมินผลการดำเนินงานโครงการ ซึ่งการประเมินโครงการมีหลายรูปแบบ ผู้วิจัยเลือกใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์โมเดล (CIPP Model) โดยมีความมุ่งหมายของการวิจัยเพื่อประเมินด้านต่าง ๆ ดังนี้ 1) การประเมินสภาวะแวดล้อมของโครงการ (Context Evaluation) 2) การประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ (Input Evaluation) 3) การประเมินกระบวนการของโครงการ (Process Evaluation) 4) การประเมินผลผลิตของโครงการ (Product Evaluation) เก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลประกอบด้วย 1) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน (ไม่นับรวมผู้อำนวยการสถานศึกษา 1 คนและผู้แทนครู 1 คน) ศึกษาจากประชากรทั้งหมด 2) ครู จำนวน 22 คน ศึกษาจากประชากรทั้งหมด 3) นักเรียนโรงเรียนโนนไทยคุรุอุปถัมภ์2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 175 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Sample Random Sampling) 5) ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนโนนไทยคุรุอุปถัมภ์2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 175 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Sample Random Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้ เป็นแบบประเมินมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 5 ฉบับ ฉบับที่ 1 แบบประเมินด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการ ค่า IOC ระหว่าง 0.80 – 1.0 ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่า ( - coefficient) ได้ค่าเท่ากับ 0.90 ฉบับที่ 2 แบบประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ ค่า IOC ระหว่าง 0.80 – 1.0 ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่า
( - coefficient) ได้ค่าเท่ากับ 0.98 ฉบับที่ 3 แบบประเมินด้านกระบวนการของโครงการ ค่า IOC ระหว่าง 0.80 – 1.0 ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่า ( - coefficient) ได้ค่าเท่ากับ 0.98 ฉบับที่ 4 แบบประเมินด้านผลผลิตของโครงการ ค่า IOC ระหว่าง 0.80 – 1.0 ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่า ( - coefficient) ได้ค่าเท่ากับ 0.98 ฉบับที่ 5 แบบประเมินความพึงพอใจต่อโครงการ ค่า IOC ระหว่าง 0.80 – 1.0 ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่า ( - coefficient) ได้ค่าเท่ากับ 0.98
ผลการวิจัย
1) การประเมินสภาวะแวดล้อมของโครงการ (Context Evaluation) โดยรวมผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด 2) การประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ (Input Evaluation โดยรวมผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด 3) การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) โดยรวมผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด 4) การประเมินผลผลิต (Product Evaluation)
คุณลักษณะความพอเพียงตามหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” กิจกรรมสถานศึกษาพอเพียง โดยรวมผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด กิจกรรมต้นกล้าพันธุ์ดีศรี นทอ.2 โดยรวมผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด กิจกรรมยอดนักออม โดยรวมผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด กิจกรรมนักเรียนจิตอาสา โดยรวมผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด และความพึงพอใจที่มีต่อโครงการโดยรวมผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด