ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาการคิดเชิงประยุกต์ของนักเรียน
ผู้วิจัย นายนิพนธ์ บุญประเสริฐ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบการคิดเชิงประยุกต์ของนักเรียนกลุ่ม
ทดลองก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนว 2) เปรียบเทียบการคิดเชิงประยุกต์ของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาการคิดเชิงประยุกต์และกลุ่มควบคุมที่ใช้กิจกรรมแนะแนวแบบปกติ
กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนแม่ปะวิทยาคม จำนวน 1 ห้องเรียน เท่ากับ 24 คน ที่ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่มและสุ่มอย่างง่ายเพื่อแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบทดสอบการคิดเชิงประยุกต์ที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .83 และ 2) ชุดกิจกรรม แนะแนวเพื่อพัฒนาการคิดเชิงประยุกต์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบวิลคอกซันและการทดสอบแมนวิทนีย์
ผลการวิจัย พบว่า 1) นักเรียนกลุ่มทดลองที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาการคิดเชิงประยุกต์ มีความคิดเชิงประยุกต์สูงกว่าก่อนการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ภายหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาการคิดเชิงประยุกต์ นักเรียนกลุ่มทดลองมีความคิดเชิงประยุกต์สูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
คำสำคัญ การคิดเชิงประยุกต์ ชุดกิจกรรมแนะแนว
Thesis title: The Effects of Using a Guidance Activities Package to Develop
Applicative Thinking of Mattthayom Suksa 4 Students Second Semester Academic Year 2022 at Maepawittayakom School Tak Province
Researcher: Mr. Nipon Boonprasert
Abstract
The objectives of this research were 1) to compare applicative thinking of an experimental group of students before and after receiving a guidance activities package, and 2) to compare applicative thinking of the experimental group of students after receiving the guidance activities package with a control group after receiving a normal program.
The samples were 24 students in the Mattthayom Suksa 4 Students at Maepawittayakom School Tak Province .They were obtained from group randomization. They were simple randomly divided into the experimental group and the control group, with 12 students in each group. Research instruments were 1) the guidance activities package for development of applicative thinking, and 2) questionnaires for measuring applicative thinking of students with a reliability value of .83. Data were analyzed by mean, standard deviation, the Wilcoxon Matched Pairs Signed Ranks Test, and the Mann-Whitney U Test.
The findings revealed that 1) the experimental group of students after receiving the guidance activities package had applicative thinking higher than before with statistical significance at the .01 level, and 2) the experimental group of students after receiving the guidance activities package had applicative thinking more than of the control group with statistical significance at the .01 level.
Keywords: Applicative Thinking, A Guidance Activities Package