การพัฒนารูปแบบการเสริมพลังทักษะเรียนรู้ (2SCER)โดยใช้สื่อประสม
ผู้รายงานนางพิชนันท์ สุวรรณพงษ์
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเสริมพลังทักษะเรียนรู้ (2SCER) โดยใช้สื่อประสมฝึกเสริมการอ่านและการเขียนคำตามมาตราตัวสะกด 8 มาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเสริมพลังทักษะเรียนรู้ (2SCER) โดยใช้สื่อประสมฝึกเสริมการอ่านและการเขียนคำตามมาตราตัวสะกด 8 มาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้เรียนด้วย รูปแบบการเสริมพลังทักษะเรียนรู้ (2SCER) โดยใช้สื่อประสมฝึกเสริมการอ่านและการเขียนคำตามมาตราตัวสะกด 8 มาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยประชากรในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดแดง (นนทคุณพิพัฒน์ราษฎร์อุปถัมภ์) สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี จำนวน 37 คน ปีการศึกษา 2566 (ได้มาแบบเจาะจง) ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 21 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบทดสอบ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 21 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจำนวน 30 ข้อ และ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนจำนวน 10 ข้อสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานใช้ t-test (Dependent Sample)
ผลการวิจัยพบว่า
1.การพัฒนารูปแบบการเสริมพลังทักษะเรียนรู้ (2SCER)โดยใช้สื่อประสมฝึกเสริมการอ่านและการเขียนคำตามมาตราตัวสะกด 8 มาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นระถมศึกษาปีที่ 3 มีองค์ประกอบ ดังนี้ 1. หลักการ 2.วัตถุประสงค์ 3.กระบวนการสอน และ 4. การปะเมินผล โดยกระบวนการสอน 5 ขั้นได้แก่ ขั้นที่ 1.จุดประกายความคิด (Spark ideas) 2.สืบค้นข้อมูล (Search) 3.รวบรวมข้อมูล (Collection) 4.เสริมพลังความรู้ (Empower) และ 5.ผลลัพธ์ของการเรียนรู้ (Results) และผลการหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเสริมพลังทักษะเรียนรู้ (2SCER) โดยใช้สื่อประสมฝึกเสริมการอ่านและการเขียนคำตามมาตราตัวสะกด 8 มาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นระถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ 80.78/80.72 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเสริมพลังทักษะเรียนรู้ (2SCER) โดยใช้สื่อประสมฝึกเสริมการอ่านและการเขียนคำตามมาตราตัวสะกด 8 มาตราเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเสริมพลังทักษะเรียนรู้ (2SCER) โดยใช้สื่อประสมฝึกเสริมการอ่านและการเขียนคำตามมาตราตัวสะกด 8 มาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาภาษาไทย โดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.18