การประเมินโครงการพัฒนานักเรียนตามรอยพ่อฯ
ผู้วิจัย นายพายุ วรรัตน์
ปีที่จัดทำ 2564
บทคัดย่อ รายงานประเมินโครงการนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อประเมิน 1) บริบทด้านความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ของโครงการฯ กับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและนโยบายการศึกษาของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 2) ความเหมาะสมของปัจจัยนำเข้าที่ใช้ในโครงการ 3) ความเหมาะสมในการดำเนินการจัดกิจกรรมของโครงการฯ 4) ผลผลิตของโครงการฯ 4.1) เปรียบเทียบความรู้ 4.2) ผลการประเมินผลผลิต 4.3) ความพึงพอใจที่มีต้อโครงการฯ ของผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียนและผู้ปกครอง และ 5) ผลกระทบที่เกิดจากโครงการพัฒนานักเรียนตามรอยพ่อ น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่โรงเรียนเมืองสมเด็จ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPPI Model) กลุ่มเป้าหมายในการประเมิน ได้แก่ ผู้บริหารและครู จํานวน 38 คน คณะกรรมการสถานศึกษา้ขั้นพื้นฐาน จํานวน 13 คน และกลุ่มตัวอย่าง นักเรียน จํานวน 217 คน ผู้ปกครองนักเรียน จํานวน 217 คน ในปีการศึกษา 2565 รวม 485 คน
เครื่องมือที่เก็บข้อมูลมี 2 ชนิด ได้แก่ แบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ ฉบับที่ 1 สำหรับประเมินด้านบริบท ฉบับที่ 2 สำหรับประเมินปัจจัยนำเข้า ฉบับที่ 3 สำหรับประเมินกระบวนการ ฉบับที่ 4 สำหรับประเมินผลผลิต ฉบับที่ 5 สำหรับประเมินความพึงพอใจ และฉบับที่ 6 สำหรับประเมินผลกระทบและแบบทดสอบวัดความรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาปรากฏดังนี้
1. ด้านบริบท พบว่า ในภาพรวมผู้เชี่ยวชาญ ผู้บริหาร คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ้ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความเห็นว่าวัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือวัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับความต้องการของโรงเรียน รองลงมาคือ วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ ส่วนข้อที่มีค้าเฉลี่ยต่ำสุดคือวัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564)
2. ด้านปัจจัยนําเข้า พบว่า 2.1 ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้า จากความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือผู้บริหารและครูผู้รับผิดชอบโครงการ มีความพร้อมในการดําเนินโครงการ รองลงมาคือบุคลากรในการดำเนินโครงการมีจำนวนเพียงพอ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคืองบประมาณในการดําเนินโครงการมีเพียงพอ 2.2 ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้าจากผลสัมฤทธิ์เกี่ยวกับแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนก่อนเข้าร่วมโครงการโดยการทดสอบความรู้ก่อนเรียน มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 7.89 คะแนน
3. ด้านกระบวนการ พบว่า ในภาพรวมของผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษา มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ มีการวางแผนการดําเนินโครงการสู่การปฏิบัติ รองลงมาคือ ผู้บริหารมีการประเมินผลการปฏิบัติงานตามโครงการอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือขณะดําเนินงานตามโครงการมีการแก้ไขปรับปรุง วิธีการดําเนินโครงการเมื่อพบว่าบกพร่องและโรงเรียน มีการขยายผลลงสู่ชุมชน/เผยแพร่
4. ด้านผลผลิต พบว่า 4.1 ผลการเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนก่อนและหลังดําเนินโครงการมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนมีค่าสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโครงการ 4.2 ผลการประเมินผลผลิตของ 10 กิจกรรมในภาพรวมผลการประเมินผลผลิตของโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด 4.3 การประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการในภาพรวมมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด
5. ผลการประเมินผลกระทบ พบว่า ผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณา เป็นรายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ สามารถเลือกแนวทางและการปฏิบัติงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างเหมาะสม รองลงมาคือสามารถนําหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงประยุก์ใช้ในการทํางานและส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือสามารถนําไปประยุกต์ใช้ ในการปฏิบัติตนให่มีความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน
สรุปได้ว่า การประเมินโครงการพัฒนานักเรียนตามรอยพ่อ น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่โรงเรียนเมืองสมเด็จ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้บรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ จึงสมควรดำเนินการโครงการต่อเนื่องต่อไป