รูปแบบการนิเทศการศึกษา(ธัญกิตติ์ ธนานวสวัสดิ์)
ชื่อผู้เขียน นายธัญกิตติ์ ธนานวสวัสดิ์
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และแนวทางการพัฒนาการนิเทศการศึกษาของโรงเรียนโตนดพิทยาคม (2) พัฒนารูปแบบการนิเทศการศึกษาของโรงเรียนโตนดพิทยาคม ประชากรประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา 1 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 20 คน รวม 21 คน ผู้เชี่ยวชาญทางการศึกษา จำนวน 5 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ การดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 หากรอบนิเทศการศึกษาและศึกษาสภาพปัจจุบัน ศึกษาปัญหาของการนิเทศการศึกษาของโรงเรียนโตนดพิทยาคม ระยะที่ 2 สร้างรูปแบบนิเทศการศึกษาของโรงเรียนโตนดพิทยาคม ระยะที่ 3 นำเสนอรูปแบบดำเนินการประเมินรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 คน วิเคราะห์และสรุปผลการประเมินรูปแบบการนิเทศการศึกษาของโรงเรียนโตนดพิทยาคม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ
ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพปัจจุบันการนิเทศการศึกษาของโรงเรียนโตนดพิทยาคม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก สภาพปัจจุบันการนิเทศการศึกษาของโรงเรียนโตนดพิทยาคม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (µ = 4.09, = 0.27) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก และมีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือด้านการสร้างเสริมขวัญกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงานนิเทศ (µ = 4.29, = 0.38) รองลงมาคือ ด้านการประเมินผลการนิเทศ (µ = 4.23, = 0.36) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก แต่มีค่าน้อยที่สุด คือด้านให้ความรู้ก่อนดำเนินการนิเทศ (µ = 3.57, = 0.30) 2.รูปแบบการนิเทศการศึกษาของโรงเรียนโตนดพิทยาคม สรุปได้ว่า รูปแบบการนิเทศการศึกษาของโรงเรียนโตนดพิทยาคม มี 2 องค์ประกอบหลัก และมี 9 องค์ประกอบย่อย รูปแบบมีความเป็นประโยชน์ มีความเป็นไปได้ มีความเหมาะสม และมีความถูกต้อง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.84, = 0.07) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีความถูกต้องอยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 5.00, = 0.00) รองลงมาคือ มีความเหมาะสม (µ = 4.90, = 0.22) และมีความเป็นไปได้ (µ = 4.80, = 0.29)